17 ม.ค. เวลา 04:38 • หุ้น & เศรษฐกิจ

หุ้นสหรัฐฯจะปังหรือจะพังในปี 2024 หุ้นเทคฯไปต่อไหม

🔸 รูปที่ 1: เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเป็น soft landing
ซ้ายมือ: เศรษฐกิจสหรัฐ มีแนวโน้มเติบโตชะลอตัวลงแต่ว่าจะไม่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และน่าจะเป็นการเกิดซอร์ฟแลนดิ้งมากกว่าค่ะ โดยสามารถดูได้จาก GDP รายไตรมาสจะเห็นว่าในช่วงไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ของปีนี้เศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตค่อนข้างต่ำที่ 0.6% และ 0.4% ก่อนจะค่อยเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง
ขวามือ: จะเป็นโอกาสการเกิดเศรษฐกิจถดถอยในช่วง 12 เดือนข้างหน้า จะพบว่าค่อยค่อยปรับตัวลงจากซักประมาณ 65% ในปีที่แล้วมาอยู่ที่ 50% ในตอนนี้นั่นเองค่ะ
🔸 รูปที่ 2: ตัวเลขเศรษฐกิจ โดยรวมยังถือว่าออกมาดีกว่าคาดอยู่
ซ้ายมือ: กราฟ Citi Economics Surprise ซึ่งจะบอกว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาจริงๆนั้นดีกว่าคาดหรือแย่กว่าคาด (ถ้าอยู่เกิน 0 แปลว่าดีกว่าคาดแต่ถ้าต่ำกว่า 0 แปลว่าแย่กว่าคาด) ดังนั้นจากรูปจะเริ่มเห็นว่าตัวเลขยังดีกว่าคาดอยู่ แต่เริ่มดีกว่าคาดน้อยลงเรื่อยเรื่อยแล้ว
ขวามือ: ตัวเลข PMI (ถ้าอยู่สูงกว่า 50 แปลว่าขยายตัวถ้าอยู่ต่ำกว่า 50 แปลว่าหดตัว) ดังนั้นจะเห็นว่าภาคการผลิตของสหรัฐหดตัวต่อเนื่องมาโดยตลอด ขณะที่ภาคบริการยังอยู่เกิน 50 หรืออยู่ในโซนขยายตัวอยู่ สะท้อนว่าที่เศรษฐกิจสหรัฐยังเติบโตได้แข็งแกร่งอยู่มาจากภาพบริการเป็นหลักนั่นเอง
🔸 รูปที่ 3: ภาคการผลิต
ซ้ายมือ: ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม จะเห็นว่าในช่วงหลังหลังตัวเลขเริ่มติดลบติดต่อกันหลายเดือนแล้ว บ่งบอกว่าภาคการผลิตหดตัว
ขวามือ: ตัวเลขการสั่งซื้อสินค้าคงทนใหม่ (ถ้ามีการซื้อเพิ่มเยอะแสดงว่าบริษัทกล้าลงทุนเพราะคิดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ดี) ก็จะเห็นว่าในช่วงหลังหลังหลังยอดคำสั่งซื้อเนี่ยก็ค่อยค่อยปรับปรับลดลงมาบ้างแล้ว
🔸 รูปที่ 4: ภาคการบริโภค
ซ้ายมือ: ตัวเลขยอดค้าปลีก จะเห็นเทรนได้ค่อนข้างชัดเจนว่ายอดค้าปลีกเริ่มเติบโตน้อยลงเรื่อยเรื่อย แต่ยังเติบโตได้อยู่ สะท้อนว่าภาคการบริโภคหรือการจับจ่ายใช้สอยยังแข็งแรงอยู่แม้ว่าจะเจอกับภาวะเงินเฟ้อก็ตาม
ขวามือ: ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากมหาลัย Michigan เราก็จะเห็นอีกว่าตอนนี้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยเรื่อย หรือพูดง่ายง่ายก็คือมองว่าเศรษฐกิจจะยังไปต่อได้นั่นเองค่ะ
🔸รูปที่ 5: ภาคการบริโภค
ซ้ายมือ: รายได้ส่วนบุคคลและรายจ่ายส่วนบุคคล เราจะเห็นว่าตลอดช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาเส้นสีฟ้าอยู่สูงกว่าเส้นสีแดงมาโดยตลอดสะท้อนว่ารายได้มากกว่ารายจ่ายนั่นเอง หรือพูดง่ายง่ายก็คือคนยังมีเงินเหลือมาซื้อของฟุ่มเฟือยอยู่
ขวามือ: อัตราการออมเงิน จะเห็นว่าในตอนนี้อัตราการออมเงินของคนสหรัฐอยู่ในระดับที่ต่ำมากๆ หรือพูดง่ายง่ายก็คือ ได้เงินมาเท่าไหร่ก็แทบจะใช้หมด ซึ่งถ้าเราเปรียบเทียบกับอัตราการออมเงินในอดีตแล้ว นิคกี้มองว่ามีโอกาสที่คนอเมริกันจะเริ่มลดการใช้จ่ายและเก็บเงินมากขึ้น ดังนั้นการบริโภคที่เคยแข็งแกร่งมากๆในปีที่แล้วก็จะค่อยค่อยชะลอตัวลงค่ะ
🔸 รูปที่ 6: เงินเฟ้อ
ซ้ายมือ: ตัวเลข Core CPI หรืออัตราอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน จะพบว่ามีทิศทางที่ปรับตัวลงต่อเนื่อง
ขวามือ: PCE หรือดัชนีรายจ่ายส่วนบุคคล ซึ่งเฟดจะค่อนข้างให้ความสำคัญกับตัวนี้มากกว่า CPI เราก็จะพบว่าทั้งคู่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยตัว PCE ต่ำกว่า 3% แล้วและตัว Core PCE ก็ใกล้จะต่ำกว่า 3% เช่นเดียวกัน ซึ่งถือว่าเข้าใกล้กับเป้าหมายเงินเฟ้อของเฟด 2% มากขึ้นเรื่อยเรื่อยแล้วนั่นเองค่ะ
🔸รูปที่ 7: เงินเฟ้อผู้ผลิต ซึ่งเงินเฟ้อในกลุ่มนี้จะเป็นต้นทุนของผู้ผลิต (ถ้าต้นทุนผู้ผลิตเพิ่ม ผู้ผลิตก็จะมีแรงจูงใจให้ขึ้นราคาสินค้าและทำให้เงินเฟ้อผู้บริโภคปรับตัวขึ้น)
ซ้ายมือ: PPI จะเห็นว่าเงินเฟ้อผู้ผลิตเริ่มติดลบแล้วนั่นเอง แปลว่าต้นทุนของผู้ผลิตเริ่มปรับตัวลงแล้ว ดังนั้นแรงจูงใจให้ขึ้นราคาสินค้าก็จะไม่มีแล้ว
ขวามือ: ราคาสินค้านำเข้า ซึ่งก็จะมีผลต่อเงินเฟ้อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ก็เห็นว่าหดตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงปี 2022 แล้ว ดังนั้นแรงกดดันต่อเงินเฟ้อจากต้นทุนสินค้าต่างๆ ได้หายไปแล้วนั่นเอง
🔸รูปที่ 8: ภาคแรงงาน
ซ้ายมือ: กราฟการประกาศปลดพนักงาน และการเปิดรับพนักงาน เราจะเห็นว่าการประกาศปลดพนักงานพุ่งขึ้น ในช่วงต้นปี 2023 ซึ่งก็คือเป็นช่วงที่เราได้เห็นการประกาศปลดพนักงานจากบริษัทเทคฯใหญ่ใหญ่ออกมาเต็มไปหมด ก่อนที่จำนวนการพนักงานจะลดลงในช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่จริงๆแล้วเป็นเรื่องที่ปกติเพราะว่าในช่วงปลายปีเป็นช่วง high season บริษัทจึงไม่ค่อยกล้าปลดพนักงาน แต่จะเป็นการลดชั่วโมงการทำงานมากกว่านั่นเอง
ดังนั้นหลังจากนี้จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะว่าเราจะเริ่มออกจากช่วงไฮซีซั่นแล้ว ซึ่งอาจทำให้ตัวเลขการปลดพนักงานอาจจะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วอีกหนึ่งรอบ
ส่วนตำแหน่งการเปิดรับงานใหม่ อันนี้จะเห็นค่อนข้างชัดเจนว่ามีการประกาศรับสมัครงานลดลงเรื่อยเรื่อยมา 2 ปีเต็มแล้ว
ขวามือ: การจ้างงานนอกภาคการเกษตรหรือ non farm payroll ปรับตัวลงมาส 2 ปีติดต่อกันแล้ว
🔸รูปที่ 9: ภาคแรงงาน
ซ้ายมือ: จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน เส้นสีแดงของรูปซ้ายมือจะเป็นผู้ขอรับสวัสดิการว่างานต่อเนื่อง ส่วนเส้นสีฟ้าเป็นผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ทั้งสองเส้นนี้มีความเกี่ยวข้องกัน ถ้าตกงานครั้งแรกจะไปอยู่ในเส้นสีฟ้าก่อน แล้วถ้าสัปดาห์หน้ายังหางานทำไม่ได้คนนี้ก็จะถูกย้ายไปอยู่ที่เส้นสีแดงนั่นเอง
ดังนั้นรูปนี้บอกว่าการตกงานครั้งแรกไม่ค่อยเยอะมากเท่าไหร่ แต่การขอสวัสดิการต่อเนื่องปรับตัวขึ้น หมายความว่าคนตกงานแล้วหางานทำยากมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะต่างกับเมื่อก่อนที่เส้นสีแดงไม่ค่อยปรับตัวขึ้นเพราะตกงานปุ๊บเดี๋ยวก็หางานใหม่ทำได้นั่นเองค่ะ
ขวามือ: อัตราส่วนตำแหน่งงานเปิดใหม่เทียบกับคนตกงาน ถ้าเยอะหมายความว่ามีงานเพียบ คนตกงานน้อย แต่ถ้าน้อยแปลว่างานที่เปิดรับมีน้อย ขณะที่คนว่างงานค่อนข้างเยอะ ช่วงที่พีคๆตัวเลขขึ้นถึง 2 เท่า หมายความว่าคนตกงานหนึ่งคน มีงานว่างถึงสองตำแหน่ง หรือพูดง่ายง่ายก็คืองานหาง่ายมาก แถมเลือกได้อีกต่างหากดังนั้นคนตกงานสามารถเรียกค่าตัวหรือค่าจ้างแพงแพงได้อีกด้วย
แต่ตอนนี้สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนไปแล้วโดยตัวเลขดังกล่าวลดลงมาเหลืออยู่ที่ประมาณ 1.4 หมายความว่างานเริ่มหายากมากขึ้น และการต่อรองค่าจ้างก็ทำได้ยากขึ้นเช่นเดียวกันค่ะ
🔸รูปที่ 10: ภาคแรงงาน
ซ้ายมือ: อัตราการว่างงานค่อยๆปรับตัวขึ้นทีละนิดทีละนิด
ขวามือ: ค่าจ้างเฉลี่ยหลายชั่วโมงก็ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องสะท้อนว่า การต่อรองค่าจ้างก็ทำได้น้อยลง
🔸รูปที่ 11: การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย
ซ้ายมือ: การคาดหวังของตลาดต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด (เส้นสีฟ้าคืออัตราดอกเบี้ยคาดการณ์ให้ดูที่แกนซ้ายมือ ส่วนแท่งสีแดงจำนวนการลดดอกเบี้ยกี่ครั้ง ให้ดูที่แกนขวามือ) เราจะเห็นว่าแท่งสีแดงอยู่ใกล้ -1 ที่การประชุมเดือนมีนาคม สะท้อนว่าตลาดคาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมีนาคมนั่นเอง
ส่วนครั้งที่สองนั้นจะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมเพราะแท่งสีแดงอยู่ใกล้กับ -2 นั่นเองค่ะ ส่วนตลอดทั้งปีให้ไปดูที่เดือนธันวาคมจะเห็นแท่งสีแดงอยู่ใกล้กับระดับ -6 หรือ พูดง่ายง่ายก็คือตลาดมองว่าเฟดจะลดดอกเบี้ย 6 ครั้งในปีนี้
ขวามือ: เส้นสีแดงคืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 2 ปี ส่วนเส้นสีน้ำเงินคืออัตราดอกเบี้ยนโยบาย เราจะเห็นว่าเส้นสีแดงมักจะปรับตัวขึ้นก่อนเส้นสีน้ำเงินเสมอ และมักจะปรับตัวลงก่อนเส้นสีน้ำเงินเช่นเดียวกัน ตรงนี้สะท้อนว่าเส้นสีแดงคือ leading indicator นั่นเองค่ะ และตอนนี้เส้นสีแดงปักหัวลงมาแล้ว ดังนั้นเส้นสีน้ำเงินก็จะต้องตามมาติดๆนั่นเองค่ะ หมายความว่ายังไงๆเฟดจะต้องลดดอกเบี้ยอย่างแน่นอนค่ะ ขึ้นอยู่ว่าจะลดช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง
🔸รูปที่ 12: หุ้นเทคฯผลตอบแทนดีในช่วงดอกเบี้ยขาลง
เส้นสีแดงคืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ส่วนเส้นสีฟ้าคือดัชนีหุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐ เราจะเห็นว่าเมื่อไหร่ที่เส้นสีแดงเป็นขาลง หุ้นเทคฯหรือเส้นสีฟ้ามักจะปรับตัวขึ้นได้ดี ซึ่งรอบล่าสุดก็เพิ่งเกิดขึ้นไปเมื่อช่วงปลายปีที่แล้วซึ่งเราจะเห็นว่าเส้นสีแดงปักหัวลงค่อนข้างเยอะหลังจากตลาดมองว่าเฟดจะต้องลดดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้ ปรากฏว่าเส้นสีฟ้าก็พุ่งขึ้นทันทีค่ะ และอย่างบอกไปก่อนหน้านี้ว่ายังไงเฟดก็จะลดดอกเบี้ยแน่ๆ ดังนั้นหุ้นเทคก็ยังมีโอกาสไปต่อได้นั่นเองค่ะ
🔸รูปที่ 13: Tech ชนะ S&P500 ในช่วง 10 ปีหลังสุด
ถ้าไปดูผลตอบแทนรายปี ในช่วง 20 ปีหลังสุด เราจะเห็นว่าในช่วง 10 ปีแรก ผลตอบแทนของหุ้นเทคชนะ S&P500 แค่ 5 ปีเท่านั้นเอง แต่ในช่วง 10 ปีหลังสุด หุ้นเทคชนะ S&P500 ไปทั้งหมด 9 ปี มีแพ้แค่ปีเดียวซึ่งก็คือปี 2022 ซึ่งเป็นปีที่เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยนั่นเองค่ะ ดังนั้นนิคกี้มองว่าอีก 10 ปีหลังจากนี้หุ้นเทคจะยังชนะอย่างต่อเนื่องเพราะการมาของ AI, Cloud Computing, AR, VR, Robotic และ EV ค่ะ
🔸รูปที่ 14: Sentiment แข็งแกร่ง
ซ้ายมือ: Investor Sentiment สีแดงคือมองว่าจะเป็น Bear Market สีฟ้าคือมองว่าเป็น Neutral ส่วนสีเขียวมองว่าเป็น Bull Market เราจะเห็นว่าตอนนี้สัดส่วนนักลงทุนที่มองว่าจะเป็นตลาดกระทิงกระโดดขึ้นมาอยู่ที่ 50% แล้ว ส่วนคนที่มองว่าตลาดน่าจะเฉยๆมีอีกซักประมาณ 25% ส่วนคนที่มองว่าตลาดน่าจะแย่เหลืออยู่แค่ 20% เท่านั้น ดังนั้นโดยส่วนใหญ่มองว่าตลาดหุ้นอเมริกาไม่ทรงก็ขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งถ้า Sentiment ดีแบบนี้ตลาดหุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ต่อในปีนี้
ขวามือ: สถิติการเลือกตั้ง ดูที่คู่แรกกันจะพบว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของปีที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี จะเห็นว่าหุ้นมีผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 11.3% ขณะที่ตราสารหนี้มีผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.5% ส่วนคู่กลางจะเป็นปีที่ประธานาธิบดีคนเดิมชนะการเลือกตั้ง หุ้นจะบวกได้เยอะขึ้นมาเป็น 13.4% ส่วนตราสารหนี้ลดจะลงมาอยู่ที่ 4.2%
ส่วนขวาสุดจะเป็นผู้ท้าชิงชนะการเลือกตั้ง กรณีนี้หุ้นจะบวกน้อยสุดที่ 9.3% ส่วนตราสารหนี้จะเยอะสุดที่ 6.7% ที่เป็นแบบนี้เพราะว่าเมื่อไหร่ที่มีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล นโยบายต่างๆจะมีการเปลี่ยนแปลงไปและไม่ต่อเนื่องจะสมัยก่อนหน้า ตลาดเลยจะไม่ได้ตอบรับในเชิงบวกมากนัก
🔸รูปที่ 15: กำไรหุ้น Growth เติบโตแข็งแกร่ง
อัตราการเติบโตของกำไรในช่วงปี 2024 และปี 2025 เราจะเห็นว่า 4 กลุ่มที่มีการเติบโตของกำไรสูงสุดก็คือ healthcare, technology, communication และ consumer discretionary ซึ่งพวกนี้เราจัดให้เป็นหุ้นเติบโตนั่นเอง ดังนั้นนอกจากหุ้นเทคแล้ว หุ้นเติบโตก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจอยู่เช่นเดิมค่ะ
ส่วนกลุ่มที่เป็นหุ้นวัฏจักร กำไรจะเติบโตได้ค่อนข้างน้อยเพราะกำไรจะอิงกับภาวะเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นพวกพลังงาน อสังหา วัสดุก่อสร้าง และการเงิน ดังนั้นเพื่อนเพื่อนจะเห็นว่านิคกี้จะค่อนข้างชอบหุ้น growth มากกว่าหุ้น value นั่นเองค่ะ
🔸รูปที่ 16: Earning Yield Spread
Yield Spread คือ สีฟ้าในหน้านี้ (สำหรับคนที่ไม่รู้จัก yield spread คือ ส่วนต่างระหว่างอัตรากำไรของหุ้นเทียบกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร) ถ้าเยอะหมายความว่าหุ้นมีความน่าสนใจมากกว่าพันธบัตรรัฐบาล แต่ถ้าติดลบหมายความว่าพันธบัตรรัฐบาลมีความน่าสนใจมากกว่าหุ้น หรือพูดง่ายง่ายก็คือถือพันธบัตรได้ดอกเบี้ยเยอะกว่าถือหุ้นกันเองค่ะ
ถ้าในช่วงปลายปีที่แล้ว มีการพูดคุยกันมากขึ้นว่าตอนนี้ yield spread ของหุ้นสหรัฐเริ่มติดลบบางๆแล้ว หุ้นมีโอกาสร่วงเพราะถือพันธบัตรได้ดอกเบี้ยสูงกว่า แต่ตอนนี้เรื่องเปลี่ยนไปแล้ว เพราะตลาดคาดว่าอีกเดี๋ยวเฟดจะลดดอกเบี้ย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรร่วงลงมาอย่างรวดเร็ว จนตอนนี้ yield spread กลับมาเป็นบวกได้แล้ว ทำให้แรงกดดันต่อตลาดหุ้นผ่อนคลายไปอีกหนึ่งเรื่อง
🔸 รูปที่ 17: S&P500
ซ้ายมือ: คาดการณ์กำไรต่อหุ้นของปี 2023 2024 และ 2025 เราจะเห็นว่าทั้ง 3 ปีกำไรของ s&p500 ไม่ค่อยถูกปรับลด แถมยังเห็นการปรับขึ้นเล็กๆอีกด้วยซ้ำ ขณะที่การเติบโตของกำไรในปีนี้อยู่ที่ 9.9% และปีหน้าอยู่ที่ 11.3%
ขวามือ: Forward P/E เราจะเห็นว่าตอนนี้ราคาหุ้นเริ่มอยู่ในโซนที่แพงแล้วนั่นเองค่ะ ขึ้นมาอยู่ที่ +1sd
🔸รูปที่ 18: NASDAQ
ซ้ายมือ: กำไรจะค่อนข้างมีความผันผวนมากกว่า แต่ในภาพรวมก็คือยังเติบโตได้ดีอยู่ โดยในปีนี้คาดว่าจะเติบโตถึง 21.2% ส่วนปีหน้าจะเติบโตถึง 28.4%
ขวามือ: Forward P/E ถือว่าแพงแล้วเพราะขึ้นไปสูงถึง +2SD แล้วนั่นเองค่ะ
🎯 ดังนั้นโดยสรุปแล้วนิคกี้มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเกิดเป็น Soft Landing และเฟดจะค่อยๆลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ในส่วนของตลาดหุ้นนิคกี้มองว่าจะสามารถไปต่อได้ โดยกลุ่มที่ชอบเป็นกลุ่มของหุ้นเทคฯ และ หุ้น growth อยู่เหมือนเดิม แต่ถ้าใครมีเยอะอยู่แล้ว แนะนำให้รอตลาดย่อก่อน แล้วค่อยเก็บเพิ่ม ส่วนใครที่ยังไม่มี แนะนำเก็บก่อนซักหนึ่งไม้ ส่วนอีกไม้เอาไว้เก็บตอนตลาดย่อค่ะ ส่วนตราสารหนี้โลกเก็บได้เรื่อยเรื่อยเพราะได้ทั้ง yield ที่สูง และ มีโอกาสได้ capital gain เพิ่มเติมอีกเมื่อเฟดลดดอกเบี้ยค่ะ
Source: Bloomberg
#เศรษฐกิจ #การเงิน #ลงทุน #กองทุน #มือใหม่ #ข่าวเศรษฐกิจทั่วโลก #ข่าวทั่วโลก #หุ้น #กองทุนรวม #ดอกเบี้ย #นักลงทุน #จีน #GDP #พาวเวลล์ #สหรัฐฯ #สหรัฐอเมริกา #เงินเฟ้อ #CPI #QE #อสังหาฯ #Taper #FED #Nasdaq #พันธบัตร #QT #หุ้นสหรัฐฯ
โฆษณา