21 ม.ค. เวลา 12:30 • ข่าวรอบโลก

ใครๆ ก็ต้องการลิเทียม แล้วโลกจะมีลิเทียมเพียงพอกับความต้องการนั้นรึเปล่า?

ลิเทียม (Lithium) ถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เราทราบดีว่ามันเป็นแร่สำคัญที่ใช้ในแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งถ้าให้เปรียบตอนนี้ลิเทียมก็ไม่ต่างอะไรกับเหมือน "ทองคำสีขาว" (เพื่อเนื้อของแร่ลิเทียมจะออกเป็นสีเงินๆ)​ เพราะในยุคอนาคตที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ ตั้งแต่รถไปจนถึงสมาร์ทโฟน ลิเทียมกำลังกลายเป็นทรัพยากรล้ำค่าที่สุดของโลก
3
แต่ปัญหาของลิเทียมก็คือมันมีอยู่อย่างจำกัด ขุดหมดก็หมด ไม่เหมือนแสงอาทิตย์ที่มีเหลือเฟือ
เมื่อมันหมดได้ ก็กลายเป็นคำถามที่หลายคนกังวลว่าแล้วมีลิเทียมเพียงพอสำหรับโลกที่กำลังมุ่งหน้าไปสู่ยุคพลังงานสะอาดจริงๆ รึเปล่า? หรือสุดท้ายแล้วก็จะหมดลงและต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ใช้ทรัพยากรอย่างอื่นแทน?
ฮันนา ริตชี่ (Hannah Ritchie) นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ศึกษาเรื่องนี้แล้วสรุปว่า ในอนาคต (เท่าที่เห็นตอนนี้) ลิเทียมบนโลกยังเพียงพอกับความต้องการที่เราจะใช้งานอยู่
1
แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ เราจะดึงลิเทียมออกมาจากโลกอย่างไร
- ข้อมูลจาก สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ (U.S. Geological Survey (USGS)) รายงานว่าทั่วทั้งโลกมีลิเทียมทั้งหมด 88 ล้านตัน
4
* แต่จากลิเทียมทั้งหมด มีเพียง 1/4 หรือประมาณ 22 ล้านตัน เท่านั้นที่คุ้มค่าแก่การขุด ตอนนี้รถ EV คันหนึ่งจะใช้ลิเทียมประมาณ 8 กิโลกรัม กดตัวเลขแล้วลิเทียมที่ขุดได้ คิดเป็นรถ EV ได้ 2,800 ล้านคัน เทียบกับรถยนต์ที่วิ่งบนถนนปัจจุบัน 1,400 ล้านคัน ดูตัวเลขแล้วค่อนข้างน่าเป็นห่วง (เพราะอนาคตคนอาจจะต้องการรถเพิ่ม)
* แต่อย่าลืมว่าเมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยีการขุดและแบตเตอรี่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าขุดลิเทียมได้มากขึ้น หรือใช้ลิเทียมน้อยลงในการผลิตรถ EV เราก็จะมีจำนวนรถเพิ่มขึ้นด้วย (ถ้าดึงออกมาใช้ได้ทั้งหมด 88 ล้านตันก็จะสร้างรถ EV ได้ถึง 11,000 ล้านคัน)
ปัญหาต่อมาคือเราจะขุดลิเทียมในปริมาณมากได้ยังไง?
ริตชี่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจพลังงานไฟฟ้าในปี 2030 ต้องการลิเทียม 250,000 - 450,000 ตันต่อปี ในขณะที่ในปี 2022 เราสามารถขุดได้แค่ 113,000 ตัน ดังนั้นต้องเร่งหาทางแก้ไขปัญหาที่ท้าทายนี้พอสมควร ต้องมีการคิดค้นการขุดลิเทียมอย่างรวดเร็วเพื่อปฏิวัติพลังงานสีเขียว แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่สร้างหายนะทางสิ่งแวดล้อมและละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย
5
ตามรายงานของ New York Times เหมืองลิเทียมใช้น้ำปริมาณมหาศาล หลายพันแกลลอนต่อนาที และมีโอกาสสร้างการปนเปื้อนน้ำใต้ดินด้วย นอกจากนั้นแล้วยังนำมาสู่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การพังทลายของดิน และมลพิษทางอากาศ นี่ยังไม่รวมผลกระทบหากไปทำเหมืองในมหาสมุทรอีกด้วย
1
แต่อย่างน้อยเรื่องนี้ก็ยังพอมีความหวังอยู่บ้าง ยกตัวอย่างที่เมือง Manitoba ในประเทศแคนาดา มีการขุดเหมืองลิเทียมที่เรียกว่า Sustainable Litium Mining ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้พลังงานไฟฟ้าพลังน้ำเกือบ 100% ห้ามใช้รถบรรทุกและอุปกรณ์ที่ใช้น้ำมันดีเซลในบริเวณนั้น หรือการพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลลิเทียมอย่างมีประสิทธิภาพก็จะช่วยยืดอายุของทรัพยากรตรงนี้ได้
1
หากเหมืองลิเทียมส่วนใหญ่ทำตามแนวทางนี้ หรือมองผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าแค่ผลกำไรทางเม็ดเงิน อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าของเราก็จะเป็นอนาคตที่น่าอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
4
- โสภณ ศุภมั่งมี (บรรณาธิการ #aomMONEY)
1
#Lithium #ลิเทียม #EV #เศรษฐกิจ #การเงิน #ประเทศไทย #รถยนต์ไฟฟ้า
โฆษณา