25 ม.ค. เวลา 07:04 • นิยาย เรื่องสั้น

เรียนรู้วิธีเขียนนิยายนักสืบบทที่ 7 การวางโครงเรื่องหลักและโครงเรื่องในแต่ละตอนของนิยายนักสืบ

คุณว่าการ์ตูนเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน กับ คินดะอิจิกับคดีฆาตกรรมปริศนา ต่างกันตรงไหน ? ทั้งที่เป็นการ์ตูนแนวสืบสวนเหมือนกัน นั่นก็คือการวางโครงเรื่องหลักนั่นเอง ซึ่งเมื่อเราคิดถึงโคนันนอกจากการยิงยาสลบกับเด็กเบียวนักสืบแล้ว ก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับชายชุดดำที่เป็นเหมือนโครงเรื่องใหญ่ครอบเรื่องราวเอาไว้ ต่างกับคินดะอิจิที่จะเป็นเรื่องราวคดีๆ ไปเรื่อยๆ แต่หลังๆ ก็เริ่มมีจ้าวตุ๊กตานรกมาเป็นตัวครอบบ้างแต่ก็เป็นแค่บางตอนเท่านั้น เพราะเหตุนี้เราจึงอยากมาแนะนำให้คุณมาคิดสร้างเรื่องราวครอบลงไปในนิยายกัน
โคนัน คินดะอิจิ
แต่ก่อนที่คุณจะคิดเนื้อเรื่องในส่วนนั้นคุณต้องดูสเกลนิยายของตัวเองก่อนว่านิยายนักสืบของคุณอยู่เท่าไหร่ เป็นแค่เด็กมัธยมปลาย นักสืบเอกชน หรือแค่คนธรรมดา เพราะสเกลของเรื่องก็เป็นตัววัดความยิ่งใหญ่ของศัตรู อย่างโคนันเขาเล่นใหญ่ได้เพราะเนื้อเรื่องเค้าสามารถโยงตำรวจสากลคนสำคัญต่างๆ มาใส่ได้ แต่ของคินดะอิจิคือบ้านๆ ศัตรูจะยิ่งใหญ่ไม่ได้ เหมือนของผมที่ศตรูเป็นแค่คนในเงามืดสเกลระดับจังหวัด เพื่อให้มีเนื้อเรื่องคลุมในเนื้อเรื่องปริศนา ประมาณว่านี่คือสิ่งที่องค์กรนี้ทำในตอนท้ายคดี องค์กรนี้มีส่วนร่วม
โคนัน คินดะอิจิ
เมื่อได้สเกลของเรื่องราวตัวละครแล้ว คราวนี้ก็มาสร้างตัวร้ายกัน โดยหลักๆ คนร้ายพวกนี้จะต้องเป็นคนฉลาดมากๆ อาจจะมากกว่าหรือพอๆ กับนักสืบของเรา และตัวละครนี้ต้องอยู่ในเงามืดไม่ปรากฏตัวบอกให้คนอ่านรู้ หรือถ้าจะให้ดีก็แอบใส่ในเรื่องบอกใบ้นิดๆ ก็ได้ พอตอนเฉลยจะได้บอกว่าตอนนั้นชั้นอยู่ตรงนี้พูดแบบนั้นให้คนอ่านตกใจก็ดี และถ้าจะให้ดีควรมีคนร้ายแบบนี้คนเดียวจะคุมเรื่องและใส่ความดุดันโหดได้มากกว่าเป็นองค์กรหลายคน และเน้นหลอกใช้หรือบงการคนจะดีกว่า ยกตัวอย่างของผม ที่เป็นบุคคลปริศาที่ขายคดีฆาตกรรมให้ผู้คน
โคนัน คินดะอิจิ
ในชื่อ ความคิดเห็นสุดท้าย โดยที่มันจะเลือกเหยื่อและยื่นข้อเสนอในการแก้แค้นโดยจะให้ทริกการฆาตกรรมเพื่อแลกกับเงินที่พวกตัวเอกต้องไปตามหา จนมีการแข่งขันท้าทายของย้งยี้กับความคิดเห็นสุดท้ายขึ้นมา แค่นี้เรื่องราวนิยายของคุณก็ดูสนุกขึ้นมาแล้ว และคราวนี้เรามาดูสิ่งที่ไม่ควรมีหรือใส่ลงไปในนิยาย นั่นคือการเฉลยว่าตัวนักสืบเรากำลังสู้กับใคร หมายถึงไม่ใช่แค่ตอนแรกมาถึงก็บอกเลยว่าเราสู้กับบุคคลบปริศนามันเร็วไปคนอ่านจะไม่อิน สิ่งที่เราควรทำคือการใส่ในตอนท้ายของคดีแรก เพื่อให้คนอ่านรู้ว่าคนๆ นี้มันเจ๋ง
โคนัน คินดะอิจิ
คิดคดีที่ซับซ้อนแบบนี้ได้คนร้าย คนนี้ก็จะน่าสนใจขึ้นมาทันที อย่างที่สองที่ไม่ควรมีคือการใช้ความสามารปลอมตัวหรือเป็นองค์กรใหญ่ เพราะมันจะไปซ้ำคนอื่นอันนี้คุณควรไปคิดเอาเองว่าจะให้ตัวร้ายเป็นแบบไหน ให้เอา เจมส์ มอริอาร์ตี ใน เชอร์ล็อก โฮมส์ ฉบับซีรีส์มาใช้ก็ได้อันนั้นคือตัวอย่างที่ดีเลย หรือจะเป็นคนบ้าที่ชอบการฆาตกรรม คนฉลาดแต่โรคจิต เป็นเด็กอัจฉริยะก็ว่ากันไป เพราะถ้าตรงจุดนี้คุณแต่งได้น่าสนใจก็จะเป็นจุดเด่นให้คนอ่านตามอ่านงานคุณต่อได้เลยนะ
เชอร์ล็อก โฮมส์
อีกอย่างที่เกือบลืมบอกคือไม่ต้องให้แอร์ทามตัวละครนี้เยอะ แบบให้ออกมาตอนท้ายในแต่ละคดีนิดหน่อย อย่างเป็นเงามืดออกมายืนหรืออธิบายว่าคนร้ายยิ้มอยู่อะไรแบบนั้น ให้คนอ่านจินตนาการไปว่าคนร้ายคนนี้คือใคร และอย่าลืมคิดชื่อเท่ๆ ด้วย อย่าง องค์กรชายชุดดำ จ้าวตุ๊กตานรก ความคิดเห็นสุดท้าย ไม่ต้องตั้งชื่อเท่ๆ อ่านยากๆ ให้คนอ่านจำได้ก็พอ เชื่อเถอะว่าโครงเรื่องนี้จะอุ้มนิยายคุณได้เลยถ้าแต่งดีๆ
โฆษณา