30 ม.ค. 2024 เวลา 03:01 • ปรัชญา

กับลักษณะของดอกบัว 4 เหล่า ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น

ในพุทธศาสนา มีการกล่าวถึงเรื่องของดอกบัว 4 เหล่า ซึ่งเป็นคำอุปมา โดยเปรียบเปรยถึงบุคคล 4 ประเภทที่มีโอกาสบรรลุนิพพานได้หรือไม่ได้ มีจุดเริ่มต้นมาจากโพธิราชกุมารสูตร ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีและคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ซึ่งได้ระบุไว้ว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ได้ทรงพิจารณาแล้วเห็นพระธรรมที่ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อนและยากต่อบุคคลทั่วไปจะเข้าใจ รับรู้ และสามารถปฏิบัติได้ พระองค์จึงทรงพิจารณาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง
และพบว่าบุคคลทั้งหลายบนโลกใบนี้ มีหลากหลายจำพวก บางคนสามารถสอนธรรมให้บรรลุธรรมได้ง่าย บางคนอาจต้องได้รับการชี้แนะหรือฝึกฝน และบางคนก็สอนไม่ได้เลย ซึ่งความแตกต่างของแต่ละบุคคลเหล่านี้ พระพุทธเจ้าจึงได้นำมาเปรียบเทียบกับลักษณะของดอกบัว 4 เหล่า ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น
อุคคฏิตัญญู บัวที่ชูช่อพ้นน้ำ เป็นดั่งคนมีสติปัญญาดี เรียนรู้ได้เร็ว
วิปจิตัญญู บัวปริ่มน้ำ คือลักษณะของคนที่มีสติปัญญาดี แต่ต้องได้รับการชี้แนะ
เนยยะ บัวที่อยู่ใต้น้ำ หมายถึงคนที่มีสติปัญญาพอใช้ ต้องได้รับการสั่งสอนและฝึกอยู่เป็นนิจจึงจะดี
ปทปรมะ บัวที่จมอยู่ในโคลน ซึ่งเป็นลักษณะของคนที่ไร้สติปัญญา เรียนรู้ไม่ได้
โดยลักษณะของดอกบัวทั้ง 4 เหล่านี้ ถ้านับมาเรียบเรียงในมุมมองของการจัดการเรียนรู้ เราจะสามารถอธิบายลักษณะการเรียนรู้ของนักเรียนพร้อมทั้งสอดแทรกแนวทางในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนในแต่ละแบบได้ดังนี้
1. อุคคฏิตัญญู (บัวพ้นน้ำ)
กลุ่มของบุคคลที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว ที่เพียงแค่ได้ฟังธรรมในครั้งแรกก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็สามารถเบ่งบานได้ทันทีซึ่งถ้ามองในมุมมองของนักเรียน กลุ่มนี้น่าจะหมายถึงกลุ่มนักเรียนที่มีความพร้อมและมีพื้นฐานในการเรียนรู้ที่ดีอยู่แล้ว
ทำให้สามารถเรียนรู้ได้เร็ว และทำความเข้าใจในบทเรียนได้ง่าย ทำให้การจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนในกลุ่มนี้ ครูผู้สอนควรเน้นที่กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งให้นักเรียนมีความท้าทายและกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ เพื่อให้นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตัวเอง
2. วิปจิตัญญู (บัวปริ่มน้ำ)
คือกลุ่มบุคคลที่มีสติปัญญาปานกลาง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติมจึงจะสามารถเข้าใจหลักธรรมต่าง ๆ ได้ในเวลาไม่นานนัก เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป ซึ่งนักเรียนในกลุ่มนี้ คือกลุ่มของนักเรียนที่มีพื้นฐานในการเรียนรู้ที่ดี แต่อาจขาดเทคนิคหรือแนวคิดในการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ทำให้มีปัญหาการเรียนรู้ในระยะแรก ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรให้คำแนะนำในการเรียนรู้ให้กับนักเรียน คอยส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนสามารถค้นหาแนวทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนในกลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ได้ดีตามแนวทางเหมาะสมมากยิ่งขึ้นในอนาคต
3. เนยยะ (บัวใต้น้ำ)
กลุ่มบุคคลที่มีสติปัญญาพอใช้ ที่ต้องได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม และต้องมีความขยันหมั่นเพียรฝึกฝนอยู่เป็นประจำ จึงจะสามารถเข้าใจถึงหลักธรรมคำสอนได้ เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อย ๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง โดยสำหรับนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มนี้
เป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมและฝึกฝนอยู่เสมอ จึงจะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องเน้นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้ฝึกฝนอยู่เป็นประจำ และควรเสริมแรงให้นักเรียนมีความขยันหมั่นเพียร โดนการชมเชยและให้กำลังใจ ซึ่งเป็นหนทางที่ช่วยให้นักเรียนในกลุ่มนี้ เรียนรู้ได้ดีมากยิ่งขึ้น
4. ปทปรมะ (บัวจมอยู่ในโคลน)
กลุ่มบุคคลที่ไร้สติปัญญา ที่แม้ได้ฟังธรรมเท่าไหร่ ก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ เพราะขาดศรัทธาและไร้ซึ่งความพากเพียร ซึ่งเปรียบเสมือนกับดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน
เรื่องของดอกบัว 4 เหล่านี้ นับเป็นแนวทางทางพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง ที่น่าจะช่วยให้ครูผู้สอนสามารถจัดสรรห้องเรียนให้เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนได้ ซึ่งการจับกลุ่มนักเรียนตามระดับของการเรียนรู้นั้น จะช่วยให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับนักเรียนแต่ละกลุ่มและยังช่วยให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้ง่ายกว่าการเรียนรู้รวมกันอีกด้วย จึงเป็นเรื่องนี้ที่มีประโยชน์อย่างมาก ถ้าสามารถนำสิ่งนี้มาลุ้นหวยประยุกต์ใช้ในระบบคัดกรอกนักเรียนของโรงเรียนต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
โฆษณา