3 ก.พ. เวลา 00:00 • ประวัติศาสตร์

ทําไมโสเครติสเกลียดระบอบประชาธิปไตย ตอนที่ 1

เมื่อสหรัฐฯ จะบุกอิรักในปี 2003 นั้น ได้ประกาศเหตุผลต่อชาวโลกว่า “จะไปปลดปล่อยคนอิรัก และทําให้ประเทศนั้นมีประชาธิปไตย” อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ลีกวนยูบอกว่า “ไม่มีทางทําได้”
หลังจาก 8 ปี 8 เดือน 26 วัน คนล้มตายไปมากมาย อิรักบ้านแตกสาแหรกขาด สหรัฐฯก็ถอนตัวออกมาเงียบๆ อิรักอยู่ในสภาพย่อยยับ
4
ไม่ว่าการมอบประชาธิปไตยให้ชาวอิรักเป็นแค่ข้ออ้างในการบุกยึดประเทศหรือไม่ โลกก็เห็นสหรัฐฯใช้เหตุผลนี้เสมอมา
4
โจ ไบเดน กล่าวตอนขึ้นดํารงตําแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯว่า “การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคเราคือประชาธิปไตยกับเผด็จการ”
6
เขาหมายถึงประเทศจีน
2
คล้ายๆ นิยายจีนกําลังภายใน ชาวโลกมักมีมุมมองเรื่องระบอบการปกครองแบบขาวกับดําเสมอ คือแบ่งเป็นฝ่ายธัมมะกับพรรคมาร ประชาธิปไตยคือฝ่ายธัมมะ เผด็จการก็คือพรรคมาร ฝ่ายธัมมะก็คือสหรัฐฯ และประเทศตะวันตก
4
ในเรื่องนี้ลีกวนยูเห็นต่าง เขาบอกว่า เป็นเรื่องตลกที่โลกตะวันตกพยายามส่งออกสินค้าที่เรียกว่า ‘ประชาธิปไตย’ “เพราะโครงสร้างแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน แต่ละสังคมมีวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์รากเหง้าต่างกัน”
19
ตั้งแต่ปีแรกๆ ที่เป็นนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ลีกวนยูไม่ได้ชื่นชอบอเมริกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องสองมาตรฐาน เขารู้สึกว่าพวกอเมริกันกร่าง
14
ลีกวนยูเคยให้สัมภาษณ์ว่า “รัฐบาลสหรัฐฯ สะสมการขาดความความรู้ลึกซึ้งเรื่องมนุษย์และสถานการณ์ของมนุษย์อย่างยาวนาน พวกเขามีประวัติศาสตร์แค่ 300-400 ปี เพิ่งเป็นชาติไม่นาน”
7
เขาเห็นว่าฝ่ายตะวันตกกําลังกอดหลักการประชาธิปไตยแบบ “ถูกต้อง” และตัดสินสังคมอื่นที่ไม่เดินตามตนว่าเป็นโลกที่ล้าหลังยังไม่พัฒนา และ “ไม่ถูกต้อง”
7
ระบอบการปกครองของสิงคโปร์ตามกฎหมายคือประชาธิปไตยมีการเลือกตั้ง แต่ในทางปฏิบัติ มันไม่ใช่ประชาธิปไตยที่โลกตะวันตกหมายถึง
2
ตามมาตรฐานตะวันตก วิถีการปกครองสิงคโปร์ของลีกวนยูก็คือเผด็จการซ่อนรูปดีๆ นี่เอง สภามีฝ่ายค้านสองสามคน นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายลงโทษทั้งเฆี่ยนและประหารชีวิตคนโดยไม่สนใจสํานักสิทธิมนุษยชนไหน
4
ลีกวนยูหัวเราะเมื่อสื่อตะวันตกตราหน้าเขาว่าเป็นเผด็จการปกครองประเทศด้วยฝ่ามือเหล็ก
1
ลีกวนยูมิได้ชื่นชมระบอบประชาธิปไตยสุดโต่งแบบตะวันตกเขาก็ไม่ได้ชื่นชมระบอบคอมมิวนิสต์เช่นกัน แต่เขาเข้าใจเหตุผลของการดํารงอยู่ของระบอบคอมมิวนิสต์ในจีน
9
เพราะประวัติศาสตร์และสังคมมันต่างกัน
4
ระบอบการปกครองของสิงคโปร์เป็นลูกผสมของระบอบประชาธิปไตยและเผด็จการ เพราะในการสร้างประเทศจากศูนย์ ในมุมมองของเขา มันเป็นโมเดลที่ดีที่สุดขณะนั้น
ลีกวนยูมีความเป็นตัวเองสูง เขาไม่แคร์ว่าใครคิดยังไง และเขามีมุมมองที่ไม่เหมือนใคร บ่อยครั้งสวนทางกับกรอบคิดเดิมๆ เขาจึงไม่แคร์ที่ใครว่าเขาปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบหรือนักวิชาการเรียกว่าอะไร
2
ลีกวนยูบอกว่า “หน้าที่ผมมีอย่างเดียวคือทําให้ประเทศพัฒนาชาวประชามีกิน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น” ส่วนมันจะเรียกว่าระบอบอะไร มีสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เขาไม่แคร์ อะ แดมน์!
17
มุมมองของเขาก็เหมือนเติ้งเสี่ยวผิง นั่นคือจะเป็นแมวดําหรือแมวขาว แล้วไง? คําถามที่สำคัญกว่ายี่ห้อระบอบคือ ผู้นำประเทศทำอะไรเพื่อประโยชน์สุขของคนในชาติหรือเปล่า
7
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องย้อนแย้งหากจะประณามรัฐที่ประสบความสำเร็จระดับสูงว่าไม่เป็นประชาธิปไตย หรือไม่เคารพสิทธิมนุษยชน
โมเดลสิงคโปร์ไม่ได้สำเร็จเฉพาะในสิงคโปร์ มันยังประสบความสำเร็จในจีน แม้แต่เวียดนามก็พยายามเจริญรอยตามนโยบาย “แมวดําหรือแมวขาวแล้วไง?”
2
โลกมีองค์กรที่วัดค่า ‘ความเป็นประชาธิปไตย’ ของประเทศต่างๆ จัดทำดัชนีที่เรียกว่า The Economist Intelligence Unit’s (EIU) Democracy Index คือดัชนีวัดว่าแต่ละประเทศมีความเป็นประชาธิปไตยแค่ไหน พวกเขาใช้มาตรวัดห้าอย่างคือ
2
  • 1.
    กระบวนการเลือกตั้งและพหุนิยม
  • 2.
    การทำหน้าที่ของรัฐบาล
  • 3.
    การมีส่วนร่วมทางการเมือง
  • 4.
    วัฒนธรรมการเมืองประชาธิปไตย
  • 5.
    เสรีภาพพลเมือง
8
และแบ่งระบอบการปกครองในโลกออกเป็นสี่แบบคือประชาธิปไตยเต็มใบ (Full democracy) คือประเทศที่มีเสรีภาพพลเมืองสูง มีอิสรภาพพื้นฐานทางการเมือง มีระบบตรวจสอบที่ดี มีสื่ออิสระ เช่น นอร์เวย์ ญี่ปุ่น ประชาธิปไตยที่มีจุดตําหนิ (Flawed democracy) คือประเทศที่มีการเลือกตั้งยุติธรรม มีอิสรภาพพื้นฐานทางการเมืองดีในระดับหนึ่ง
2
วัฒนธรรมทางการเมืองอาจไม่ดีนัก ประชาชนไม่ค่อยมีการมีส่วนร่วมทางการเมือง รัฐบาลยังมีปัญหา เช่น ไทย ระบอบผสม (Hybrid regime) คือประเทศที่ประชาธิปไตยไม่เต็มใบ มีการโกงการเลือกตั้ง คอร์รัปชั่นสูง ประชาชนไม่ค่อยมีการมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น ตุรกี ยูเครน
3
ระบอบเผด็จการ (Authoritarian regime) คือประเทศที่มีขั้วอำนาจเดียว เสรีภาพพลเมืองต่ำ สื่อมักถูกคุมโดยรัฐ มีการเซ็นเซอร์ เช่น จีน เกาหลีเหนือ
ด้วยการจัดแบ่งแบบนี้ ทั่วโลกจึงมีประชาธิปไตยเต็มใบเพียง 6.4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนมากอยู่ในยุโรป ที่แปลกก็คือสหรัฐฯ ที่เป็นตัวตั้งตัวตีเรื่องประชาธิปไตย กลับเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีจุดตำหนิ
10
การประเมินในปี 2023 ประเทศนอร์เวย์เป็น Full democracy มีความเป็นประชาธิปไตยอันดับ 1 อัฟกานิสถานรั้งท้ายสุด
1
  • ญี่ปุ่นเป็น Full democracy อันดับที่ 16
  • สหรัฐฯเป็น Flawed democracy อันดับที่ 30
  • ไทยเป็น Flawed democracy อันดับที่ 55
  • สิงคโปร์ เป็น Flawed democracy อันดับที่ 70
  • จีนเป็น Authoritarian อันดับที่ 156
2
ตัวเลขและอันดับเหล่านี้เพียงบอกว่าประเทศนั้นๆ ปกครอง ด้วยระบอบอะไร ไม่ได้เป็นดัชนีชี้วัดความก้าวหน้า ความมั่งคั่ง หรือ ความสุข
5
ประวัติศาสตร์หลายพันปีของโลกผ่านระบอบการปกครองมาทุกรูปแบบ ระบอบที่เป็นที่ยอมรับที่สุดในเวลานี้คือ ระบอบประชาธิปไตย
1
หากถามชาวบ้านทั่วไปว่า “อะไรคือระบอบประชาธิปไตย?” คําตอบที่ได้รับมักคล้ายการท่องจําแบบนกแก้วนกขุนทองว่า “ประชาธิปไตยคือประชาชนเป็นใหญ่ เป็นเจ้าของประเทศ เราเลือกตัวแทนไปทํางานปกครองแทนเรา”
3
และ “ประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง หนึ่งคนหนึ่งเสียง เท่าเทียมกัน”
ระบอบประชาธิปไตยในคําจํากัดความแบบนี้ เรียกว่า pure democracy ถือกําเนิดที่กรีกโบราณ ต้นกําเนิดการโหวตหนึ่งคนหนึ่งเสียง
แต่เชื่อไหมว่า โสเครติส ปราชญ์เอกของกรีก ไม่ชอบระบอบประชาธิปไตยเลย เขามองไม่เห็นว่ามันเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุดอย่างไร
4
ทําไมปราชญ์เอกของโลกมีความคิดแบบนี้?
โสเครติสอธิบายโดยอุปมาว่า สมมุติว่าเราเดินทางด้วยเรือข้ามทะเล ต้องฝ่าคลื่นลมและพายุ บนเรือลํานั้นมีนายท้ายเรือที่รู้เรื่องการเดินเรืออย่างดี รู้เรื่องทิศลมดี รู้จักทะเลโดยรอบบนเรือยังมีผู้โดยสารจํานวนหนึ่งที่ไม่รู้วิธีเดินเรือ
หากเราใช้ระบอบประชาธิปไตยบนเรือลํานั้น โดยการออกเสียงเลือกตั้งผู้นําพาประเทศ (เรือ) ไปสู่จุดหมาย หนึ่งคนหนึ่งเสียง เราก็อาจได้ผู้นําที่ชนะเลือกตั้งซึ่งไม่รู้เรื่องการเดินเรือเลย และมีโอกาสพาเรือไปอับปางสูง
17
โสเครติส
โสเครติสเห็นว่า การปกครองประเทศก็เหมือนการเดินเรือ ควรมอบให้เป็นหน้าที่ของคนที่รู้เรื่องการปกครอง รู้เรื่องการเมืองระหว่างรัฐ ไม่ใช่คนที่ชนะเลือกตั้ง
12
เหตุผลเพราะในการเลือกตั้ง ผู้สมัครทุกคนจะพยายามหาจุดขาย ไม่ว่ามีจริงหรือไม่มี คนที่มีเสน่ห์ดึงดูดคนหมู่มาก และคนที่พูดเก่งกว่าอาจสามารถโน้มน้าวใจคนหมู่มากได้สูงกว่า และเมื่อโหวต ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด แต่อาจไม่รู้เรื่องการปกครองอะไรเลย
11
ถ้าเป็นคนมีเงิน ก็สามารถซื้อเสียงได้ เพราะพวกเขามองว่าการเมืองก็เป็นธุรกิจชนิดหนึ่ง มันไม่ใช่ democracy (ประชาธิปไตย) แล้ว มันคือ demagoguery
10
เราคุ้นกับคําว่า democracy แต่อาจไม่เคยได้ยินคําว่า demagoguery ทั้งสองอย่างนี้เป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน
2
demagoguery คือกระบวนหาเสียงสนับสนุนโดยพูดสิ่งที่คนอยากได้ยิน หรือทําให้กลัว เพื่อที่จะเลือกพวกเขา
8
พวก demagogue นี้จะทําลายระบอบประชาธิปไตย เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน โดยพูดเพื่อให้คนฟังรู้สึก มากกว่าสำนึกถึงเหตุผล
8
ประชาชนที่คิดไม่เป็น เชื่อง่าย จะเป็นพลังที่นําพาประเทศรอดได้อย่างไร เมื่อเสียงส่วนใหญ่เดินไปตามเสียงที่พูดสิ่งที่ประชาชนอยากได้ยิน มันก็คือการปลุกระดมมวลชนนั่นเอง
10
แต่นี่เป็นภาพที่ชาวเราคุ้นเคยมาตลอดชีวิต
หากคิดว่าโสเครติสเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์โลกที่คิดแบบนี้ ก็ต้องศึกษาประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาด้วย
เมื่อแรกร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา กลุ่มผู้ก่อตั้ง (Founding Fathers) ไม่เคยต้องการให้ประชาชนเสมอภาคหรือเป็น pure democracy จริงๆ
ที่ย้อนแย้งอย่างยิ่งคือ กลุ่มผู้ก่อตั้งส่วนใหญ่เป็นเจ้าของทาส
5
จอร์จ วอชิงตัน มีทาสหลายร้อยคน ธอมัส เจฟเฟอร์สัน คนเขียน “มนุษย์ทุกคนถูกสร้างมาเท่าเทียมกัน (All men are created equal)” ในประกาศอิสรภาพก็มีทาสหลายร้อยคน และทําให้ทาสสาวจํานวนมากตั้งท้อง
5
จอห์น อดัมส์ หนึ่งใน Founding Fathers และประธานาธิบดีสหรัฐฯคนที่สอง ไม่ต้องการให้คนจนและผู้หญิงโหวต คนมากไปจะยุ่งพวกเขาต้องการให้คนรวยและมีการศึกษาโหวตมากกว่า จุดนี้ตรงกับแนวคิดของโสเครติส
6
ในการตัดสินใจเรื่องการเมือง จอห์น อดัมส์ เห็นว่าคนมีความรู้กว่าน่าจะกําหนดทิศทางการปกครอง ไม่ใช่คนกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า unwashed masses
5
unwashed masses หมายถึงคนที่ไร้การศึกษา ขาดข้อมูล ในความคิดของเขา โลกเราไม่เคยเท่าเทียม และประชาธิปไตยจริงๆ ไม่มีในจักรวาล
17
ประเด็นหนึ่งที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงคือ เรามักใช้คําว่าประชาธิปไตยเฉพาะในเรื่องการเมือง แต่ในมุมมองนักธุกิจจํานวนไม่น้อย เห็นว่าประชาธิปไตยการเมืองยังไม่สมบูรณ์ หากไม่รวมในระบบเศรษฐกิจด้วย เพราะในโลกของความจริง ระบบเศรษฐกิจของโลกก็ยังไม่สามารถเป็นประชาธิปไตย ยังมี ‘เผด็จการ’ นายทุนที่คุมทุกอย่าง สั่งลูกจ้างทําทุกอย่างตามกติกาที่ออกแบบมาเพื่อกําไรสูงสุด ปลาเล็กถูกปลาใหญ่กินเรียบ มันไม่มีความเท่าเทียมแต่อย่างใด
8
มุมมองของโสเครติสไม่ได้บอกว่าประชาธิปไตยเลวร้าย แต่บอกว่ามันเลวร้ายเมื่อปล่อยให้ประชาธิปไตยตกอยู่ในมือของคนที่ด้อยปัญญา แล้วใช้คําว่า ‘ความเท่าเทียม’ นำ
20
ตรงนี้เราต้องระวังอย่าปนกันระหว่างคําว่า ‘ความเท่าเทียม’ กับ ‘หนึ่งคนหนึ่งเสียง’ มันเป็นคนละเรื่องกัน
3
โสเครติสเห็นว่าคนควรมีความเท่าเทียม แต่ในการนําเรือข้ามห้วงสมุทร ต้องใช้คนที่เดินเรือเป็น ไม่ใช่เลือกคนจากระบบหนึ่งคนหนึ่งเสียง
7
‘หนึ่งคนหนึ่งเสียง’ จะได้ผลก็ต่อเมื่อทุกเสียงมีคุณภาพเท่ากัน
12
อีกตัวอย่างหนึ่งที่มักยกมาเป็นอุปมาคือ หมู่บ้านหนึ่งมีแต่คนตาบอด ชายคนเดียวที่นัยน์ตาดีบอกว่า “เดินตามผม แล้วจะไม่ตกเหว” หากมีการโหวต ทุกคนก็ไปตามเสียงส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนตาบอด ก็จะพาตกเหวตายหมด
9
นี่ชี้ว่ากติกา ‘หนึ่งเสียงหนึ่งโหวต’ อาจไม่ใช่ทางพัฒนาชาติ เพราะประชาธิปไตยเป็นคนละเรื่องกับการพัฒนาชาติ แม้ว่ามีประเทศประชาธิปไตยจํานวนไม่น้อยที่ระบอบประชาธิปไตยช่วยพัฒนาชาติจริง แต่ดูเหมือนว่ามีปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจาก ‘หนึ่งเสียงหนึ่งโหวต’
4
นั่นคือคุณภาพประชาชน
7
(อ่านตอนจบสัปดาห์หน้า)
1
โฆษณา