30 ม.ค. เวลา 15:55 • ธุรกิจ

การวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจขนส่งพัสดุด่วน ในประเทศไทย...

บันทึกใว้ เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2567
ปัจจุบันต้องยอมรับว่าธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนทั่วโลก เป็นของจีน แผ่นดินใหญ่ไปแล้วกว่า 70% ไม่ว่าจะเป็นการเปิดแบรนด์ทำธุรกิจโดยตรง หรือเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้น รวมถึงการเป็นเจ้าของเงินทุนเบื้องหลังในการประกอบกิจการ
ซึ่งหากคาดการณ์ถึงการเติบโตทางธุรกิจนี้ในประเทศไทย (อาจหมายรวมถึงทั่วโลก) ก็ยังคงมีความเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่ว่าจะขายของบนแพลทฟอร์ม หรือขายหน้าร้าน ก็ยังคงต้องพึ่งพาการขนส่ง พึ่งพาการจัดเก็บ และระบบ e-commerce ระบบ Fulfillment อยู่ดี...
และหากคาดการณ์ถึงความครอบคลุมพื้นที่บริการ ความรวดเร็วในการขนส่ง คงพัฒนาไปได้ไม่มากกว่าในปัจจุบันซักเท่าไหร่ อาจเร็วกว่าเดิม แต่ไม่มาก เพราะทุกแบรนด์ ทุกค่าย ได้คำนวณรูธ และวางเส้นทาง ใว้ครอบคลุมแทบจะทุกเส้นทางในประเทศแล้ว หากจะมีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น น่าจะเป็นในส่วนของการขนส่งระหว่าวประเทศที่มีเขตติดต่อทางการขนส่งทางบกระหว่างกันมากกว่า รวมถึงพัฒนาการด้านยานพาหนะในการขนส่งที่อาจเปลี่ยนไปเป็นไฟฟ้า พัฒนาการของระบบ AI ที่ฉลาดมากขึ้น (หรือเอาเปรียบมากขึ้น) เท่านั้น
ในสถานการณ์ปัจจุบัน (ปีที่โพสต์)
จะสังเกตุได้ว่า แม้ต้นทุนการขนส่งในประเทศจะสูงเพียงใด แต่การแข่งขันทางการตลาด ในการลดราคาดึงดูดลูกค้าเพื่อเอาชนะคู่แข่งมีความเข้มข้นมาก ซึ่งในขณะเดียวกัน กลับไม่มีขนส่งรายใด ที่คิดจะลงทุนกับการพัฒนาคุณภาพ และการให้บริการกับลูกค้าเลย หากมองผิวเผินอาจดูเหมือนแข่งกันขาดทุน
แต่....... ไม่ใช่เลย มันคือแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว
อย่างที่เกริ่นในตอนต้น ทุนส่วนใหญ่มาจากที่เดียวกัน สุดท้าย ขนส่งรายที่มาจากทุนอื่น หรือทุนน้อย สายป่านสั้น อาจต้องยอมแพ้ ยอมถอย ยอมขาย หรือเลิกกิจการ (อย่างที่บางแบรนด์บางค่ายประสบอยู่ในตอนนี้) ส่วนรายที่ยังเหลืออยู่ แม้จะต่างสี ต่างค่าย แต่เงินที่ได้ ก็ย้อนกลับไปหานายทุน ผู้ถือหุ้นที่กินส่วนแบ่งการประกอบกิจการในตลาดมากที่สุดอยู่ดี
เมื่อหญ้าแพรกแหลกราญ วันนึงจะเหลือผู้ให้บริการน้อยราย
ในวันนั้น ค่าขนส่งจะแพงแค่ไหน บริการจะห่วยสุดตีนเพียงใด สุดท้ายผู้บริโภคก็ต้องยอมทนถูกข่มขืนใจในการใช้บริการอยู่ดี
#GEOVOIDL
โฆษณา