31 ม.ค. เวลา 11:25 • หุ้น & เศรษฐกิจ

รู้จัก Johnson & Johnson (JNJ) บริษัทยาที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก

💊Johnson & Johnson (NYSE : JNJ) เป็นบริษัทยาที่มีมูลค่าบริษัทมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ด้วยมูลค่า 13.9 ล้านล้านบาท ณ วันที่ 22 มกราคม 2567 เป็นหนึ่งในบริษัทยาที่เก่าแก่ของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2429
Johnson & Johnson เคยเป็นบริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาตั้งแต่ปี 2549 และเพิ่งเสียตำแหน่งอันดับ 1 ให้กับ Eli Lilly บริษัทยาเบาหวานและยาลดน้ำหนักในปี 2566
ปัจจุบัน Johnson & Johnson โฟกัสอยู่ที่ 2 ธุรกิจหลัก คือ ยารักษาโรค และเครื่องมือแพทย์ หลังจากที่เพิ่งนำบริษัท Kenvue ที่โฟกัสในธุรกิจสินค้าสุขภาพและอนามัย เข้าตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อปี 2566
📊โดยสัดส่วนรายได้ของบริษัท ในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2566
มาจากยารักษาโรค 65 % และเครื่องมือแพทย์ 35 % โดยหากแบ่งรายละเอียด จะได้เป็น
1
💊กลุ่มยารักษาโรค
ยารักษาโรคระบบภูมิคุ้มกัน 23 % ยามะเร็ง 21 % ยารักษาโรคระบบประสาท 8 %
ยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด 4 % ยาอื่น ๆ 9 %
🦿กลุ่มเครื่องมือแพทย์
อุปกรณ์ผ่าตัด 12 % อุปกรณ์เกี่ยวกับกระดูก 10 % สายสวนหัวใจและหัวใจเทียม Abiomed 7 %
คอนแทคเลนส์ Acuvue และอุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา 6 %
🎖️Top 3 ยาที่ขายดีที่สุด ในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2566
1.ยารักษาโรคสะเก็ดเงิน Stelara (Ustekinumab) สัดส่วน 13 % ของรายได้ทั้งหมด
2.ยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว Darzalex (Daratumumab) สัดส่วน 12 %
3.ยารักษาโรคจิตเวช Paliperidone สัดส่วน 5 %
🌎 สัดส่วนรายได้ตามแต่ละภูมิภาค จะแบ่งออกเป็น
สหรัฐอเมริกา 56 % ยุโรป 22 %
เอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา 16 %
แคนาดาและลาตินอเมริกา 6 %
ที่มา : investor.jnj.com, ข้อมูล ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2566
👨🏼‍⚕️ บริษัทยาแห่งนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2429 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ของไทย โดย 3 พี่น้องตระกูล Johnson คือคุณ Robert, Jame และ Edward เริ่มต้นจากการขายอุปกรณ์ผ่าตัดที่ได้รับการฆ่าเชื้อ เช่น อุปกรณ์เย็บแผล ผ้าก๊อซ และสำลี แล้วต่อยอดมาสู่ธุรกิจยารักษาโรค
มูลค่าหุ้นของบริษัท Johnson & Johnson ก็เติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ นับตั้งแต่จดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์กตั้งแต่ปี 2495
ซึ่งโดยปกติแล้ว เหตุผลหลักในการเติบโตอย่างโดดเด่นของบริษัทยา จะขึ้นอยู่กับการได้รับอนุมัติให้จำหน่ายยา จากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ
1
โดยนับตั้งแต่ปี 2543 บริษัท Johnson & Johnson มียา 2 ตัวที่ได้รับอนุมัติ และมีผลต่อการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ
🫳 1. การอนุมัติยารักษาโรคสะเก็ดเงิน Ustekinumab ในปี 2552
โรคสะเก็ดเงิน เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ผิวหนังปกติ เพราะเข้าใจผิดว่าเซลล์ผิวหนังปกติเป็นแบคทีเรียหรือไวรัสที่รุกรานจากภายนอก จนทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง แห้ง คัน เป็นแผ่นนูนหนา ตกสะเก็ดเป็นสีเงิน
ยา Ustekinumab เป็นยาจากโปรตีนในรูปแบบโมโนโคลนอล แอนติบอดี ซึ่งสังเคราะห์เลียนแบบโปรตีนในระบบคุ้มกันของร่างกาย ออกฤทธิ์ยับยั้งสารจากระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นมาทำลายเซลล์ผิวหนัง คือ Interluekin 12 และ Interleukin 23 จนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคสะเก็ดเงิน
🩸 2. การอนุมัติยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว Daratumumab ในปี 2558
ยา Daratumumab เป็นยาจากโปรตีนในรูปแบบโมโนโคลนอล แอนติบอดีเช่นกัน
ซึ่งสังเคราะห์เลียนแบบโปรตีนในระบบคุ้มกัน โดยในการรักษามะเร็ง แอนติบอดีจะได้รับการพัฒนาให้มีความจำเพาะและออกฤทธิ์ต่อมะเร็งชนิดนั้น ๆ สำหรับยา Daratumumab ใช้ในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว
📈 การเติบโตในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (2562 - 2566)
รายได้ เติบโตเฉลี่ยปีละ 3.3 %
แต่กำไร ลดลงเฉลี่ยปีละ 5.3 %
มูลค่าบริษัท เติบโตเฉลี่ยปีละ 2.5 %
💸 อัตราการเติบโตของเงินปันผล เฉลี่ยปีละ 6.4 %
📈 โอกาสของการเติบโตหลังจากนี้
🧬 การใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ โมโนโคลนอล แอนติบอดี ในการรักษาโรคมะเร็ง
หนึ่งในทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็ง คือการใช้ยา “ภูมิคุ้มกันบำบัด” ที่เป็นวิทยาการก้าวหน้าในการรักษามะเร็ง โดย Johnson & Johnson มียาโปรตีนในรูปแบบโมโนโคลนอล แอนติบอดีอีกหลายตัวที่รอการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐ เช่น ยา Niraparib ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก และยา Talquetamab ในการรักษามะเร็งไขกระดูก
🚧 ความเสี่ยงของการเติบโต
สำหรับความเสี่ยงของบริษัทยา หนึ่งในสิ่งที่น่าติดตามมากที่สุด คือ การหมดอายุของสิทธิบัตรยา โดยปกติแล้ว สิทธิบัตรยาจะมีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นขอจดทะเบียนยา ซึ่งอาจเป็นเวลาก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้จำหน่ายยาหลายปี
สำหรับความเสี่ยงของ Johnson & Johnson คือ ยา Ustekinumab ซึ่งเป็นยาที่มีสัดส่วนรายได้เป็นอันดับ 1 จะหมดสิทธิบัตรในยุโรป ช่วงกลางปี 2567 หากสิทธิบัตรยาหมดอายุ ก็อาจมีบริษัทอื่นนำโครงสร้างของยามาพัฒนาและแข่งขัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับรายได้ของบริษัทได้ในอนาคต..
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจ  
ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบ ผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นโดยอาศัยแหล่งข้อมูลสาธารณะ ซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือซึ่งปรากฏขณะจัดทำ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละขณะเวลา บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงความเห็นหรือประมาณการต่าง ๆ ที่ปรากฏโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
มูลค่าบริษัท ณ วันที่ 22 มกราคม 2567
════════════════════                   
#เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน                   
════════════════════                   
Dime! เปลี่ยนเรื่องเงินให้เป็นเรื่องสนุก เพื่อความสุขอย่างเท่าเทียมของทุกคน                   
บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Dime! ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงาน ก.ล.ต. ใบอนุญาตเลขที่ ลก-0007-02
ติดตามเราในช่องทางต่าง ๆ ได้ที่                   
Facebook - https://www.facebook.com/dimeinvest                   
Instagram - https://www.instagram.com/dime.finance           
Twitter - https://twitter.com/dimefinance                
TikTok - https://www.tiktok.com/@dime.finance                   
LINE -  https://lin.ee/4W7j4nG                         
#การเงิน #การลงทุน #กองทุน #ตราสารหนี้ #หุ้นอเมริกา #ไดม์ #Dime #Dimeออมได้ลงทุนดี      
-----
โฆษณา