1 ก.พ. เวลา 03:04 • ไลฟ์สไตล์

เมื่อรู้ว่าพอดีแล้ว ก็…

ฉันอ่านหนังสือของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ. ปยุตโต)เกี่ยวกับเรื่องความพอดีได้เจอ
ข้อความดีๆที่อยากบอกต่อคือ”หลักของการดำเนินชีวิตอยู่ในโลกให้อยู่ได้ด้วยดีล้วนเป็นเรื่อง
ของความพอดี” ข้อปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาจึงเต็มไปด้วยเรื่องของความพอดี ที่เราเรียก
ว่าทางสายกลาง วิธีปฏิบัติที่พอดีคือปฏิบัติอย่างได้สัดได้ส่วนพอเหมาะพอดีประสานกันอย่าง
ครบถ้วนใน8องค์ประกอบ พุทธศาสนาเรียกความพอดีนี้ว่า”มัชฌิมาปฏิปทา” มัชฌิมาคือพอดี
ปฏิปทาคือข้อปฏิบัติหรือการปฏิบัติ ข้อปฏิบัติที่ต้องทำให้ถูกต้อง ครบถ้วนและพอดีมี8เรื่อง
ได้แก่ เรื่องของความเห็น ความคิด การพูดจา การปฏิบัติ การหาเลี้ยงชีพ ความเพียร เรื่อง
ของสติและเรื่องของสมาธิ คำว่าพอดีหมายถึงเหมาะเจาะ กำลังดี พอเหมาะ ฉันสงสัยว่าความ
พอดีอยู่ตรงไหนกันแน่ในเมื่อความพอดีของแต่ละคนไม่เท่ากัน ฉันไปเจอคำตอบของพระครูวิ
ลาศกาญจนธรรม,ดร. วัดท่าขนุน จังหวัดกาญจนบุรี ท่านบอกว่า “มัชฌิมาปฏิปทาไม่มี
มาตรฐาน 50%ของแต่ละคนไม่เท่ากันเป็นไปตามปัญญา ตามกำลังบารมีของแต่ละคนที่สั่งสม
มา…เราจึงต้องพยายามปรับให้เหมาะสมกับเรามากที่สุด ต้องหามุมของตัวเอง ไม่มีใคร
สามารถบอกได้เพราะแต่ละคนไม่เท่ากัน…”
เมื่อวานนี้ก่อนเข้านอนฉันบังเอิญไปอ่านเจอคำคำหนึ่ง ครั้งแรกที่เห็นรู้สึกว่าเป็นคำที่แสนจะ
ธรรมดาแต่เมื่ออ่านทวนหลายๆครั้งกลับรู้สึกว่าเป็นคำที่เรียบง่ายแต่มีความหมายและมีพลัง
พอที่จะทำให้เราหยุดคิดได้อย่างน่าประทับใจ คำนี้เป็นชื่อของเพจสอนโยคะชื่อพอดีพอโยคะ
สตูดิโอ สระบุรี เจ้าของเพจคิดและเลือกคำนี้มาใช้ได้อย่างน่าชื่นชมเหลือเกิน “พอดีพอ”คำ
ที่แสนจะเรียบง่ายแต่แฝงความหมายที่มีพลัง คำคำนี้ชวนให้เราตระหนักว่าไม่ว่าความพอดี
ของแต่ละคนจะอยู่ตรงไหน สิ่งสำคัญคือเราต้องไม่ลืมคำว่าพอ เมื่อรู้ว่าพอดีแล้วก็…พอนะ
โฆษณา