6 ก.พ. 2024 เวลา 02:00 • ธุรกิจ

จ่ายด้วยเช็ค บันทึกบัญชี หัก ณ ที่จ่ายอย่างไร

📌สำหรับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ชื่อก็บอกอยู่แล้ว ต้องหักเมื่อมีการจ่ายเงิน แต่เดี๋ยวก่อน! ถ้าเราจ่ายด้วยอย่างอื่นล่ะ เช่น จ่ายด้วยตั๋วเงิน หรือจ่ายด้วยเช็ค เราจะทำยังไงดี
อันที่จริงแล้ว การหัก ณ ที่จ่าย เราต้องหักทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงิน แต่หากพวกเราจ่ายโดยไม่ใช่เงินสด หรือเงินโอน เราจะต้องหัก ณ ที่จ่ายยังไง?
ปัญหานี้มีทางออกจ้า โดยการจ่ายชำระ ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องจ่ายเป็นเงินสดเสมอไป
ตามกฎหมายแล้วเขาบอกว่า ทุกครั้งที่มีการจ่าย “เงินได้” ต้องหัก ณ ที่จ่าย ดังนั้น สรุปได้ว่า ไม่ว่าเราจะจ่ายด้วยวิธีไหน ถ้าเข้าข่ายเงินได้ ต้องหัก ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่าย ทุกครั้ง
📌เอาล่ะคำถามต่อมา แล้วถ้าจ่ายเป็นเช็ค จะต้องหักวันไหน?
สมมติว่า ออกเช็คลงวันที่ 30 กันยายน นั่นหมายถึง เช็คนี้สามารถขึ้นเงินได้ตั้งแต่ 30 กันยายน ซึ่งเป็นวันที่จ่ายชำระ และเป็นวันที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายนั่นเอง
เมื่อเราจ่ายชำระวันที่ 30 กันยายนตามหน้าเช็ค นั่นก็หมายความว่า เราต้องนำส่งภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย (กรณีเป็นเงินได้ที่เข้าเงื่อนไขการหัก ณ ที่จ่าย) ภายในวันที่ 7 ตุลาคม หรือภายในวันที่ 15 ตุลาคมกรณียื่นแบบออนไลน์
📌จ่ายด้วยเช็ค บันทึกบัญชีหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร
บริษัท A จ่ายชำระค่าทำบัญชี มูลค่า 10,000 บาท (ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งต้องหัก ณ ที่จ่าย 3% จากค่าบริการทำบัญชี
โดยบริษัท A จ่ายเป็นเช็คขีดคร่อม A/C Payee Only ให้กับสำนักงานบัญชี ออกเช็ควันที่ 30 กันยายน วันที่น่าเช็ค 30 กันยายน (วันที่สามารถขึ้นเงินได้) แต่สำนักงานบัญชีขึ้นเงินวันที่ 5 ตุลาคม
เราจะบันทึกบัญชียังไงดีน้าา?
เฉลย!! จากกรณีข้างต้นนี้ บริษัท A ต้องขอเช็คขีดคร่อม ให้กับสำนักงานบัญชี มูลค่า 9,700 บาท และต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มูลค่า 300 บาท ซึ่งลงวันที่จ่าย 30 กันยายน (ไม่สนว่าสำนักงานบัญชีขึ้นเงินวันที่เท่าไร) หลังจากนั้น ต้องนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภายในวันที่ 7 ตุลาคม หรือ 15 ตุลาคม กรณียื่นแบบออนไลน์ และต้องบันทึกบัญชีตามภาพนี้เลย
สรุปแล้ว ไม่ว่าเราจะจ่ายเงินด้วยวิธีไหน ถ้าเงินได้ที่เราจ่าย เข้าเงื่อนไขที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เราต้องหัก ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายชำระเงินได้นั้น และหากมีการจ่ายด้วยเช็ค บันทึกบัญชีหัก ณ ที่จ่าย ให้เราบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง เมื่อมีรายการเกิดขึ้น
และสำหรับใครที่อยากเข้าใจเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายมากขึ้นกว่าเดิม เพิ่มเติมเก็บ CPD ได้ด้วย แนะนำลงเรียนคอร์สนี้ได้เลยค่า: ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคำนวณและบันทึกบัญชีอย่างไร ? https://www.cpdacademy.co/course/how-to-calculate-witholding-tax-and-accounting
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy
โฆษณา