5 ก.พ. เวลา 14:17 • การศึกษา

มายาคติที่เรียกว่ามหาลัย

Topic ที่ผมจะพูดต่อไปนี้คือเรื่องของสถาบันการศึกษาที่เรียกว่ามหาลัยล้วนๆ โดยจะเป็นการพูดอยู่3เรื่อง คือ Ranking ของมหาวิทยาลัย , คณะสาขาและก็เอกชนกับรัฐ
ทุกอย่างที่ผมพูดนั้น ผมสาบานเลยว่ามันถูกกรองมาด้วยตรรกะและเหตุผลที่ปราศจากความลำเอียงทั้งสิ้น ผมพูดจากข้อมูลที่เจอและจากการได้รับฟังมาจากผู้มีประสบการณ์และนำมากรองเอาอคติออกไปอีกที
เพราะงั้นวางใจได้ หัวข้อสำคัญที่พูดจะไม่มีความคิดเห็นของผมปนไปอยู่เลยสักนิด
งั้นเราก็มาเริ่มกันเลย
  • Ranking
คุณเคยได้ยินคำพูดที่ว่าเกี่ยวกับเรื่องเกรดความมีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยรึป่าวครับ ประมาณว่าคุณจะได้งานรึป่าวนั้นขึ้นอยู่กับชื่อชั้นของมหาวิทยาลัยที่คุณจบมา
เกรด2ของมหาลัยTop50 ยังดีกว่าเกรด4ของมหาลับTop100อะไรประมาณนั้น จากปากคำของคนที่มีประสบการณ์ในโลกอินเตอร์เน็ตนั้น ค่อนข้างเห็นไปในแนวทางเดียวกัน
ว่ามันมีผลมากๆกับการไปสมัครงาน ชื่อชั้นของมหาลัยนั้นสำคัญกว่าเกรดที่คุณจบมาซะอีก
ยกตัวอย่างที่คุณอาจเคยได้ยิน คนที่จบมาจากมหาวิทยาลัยTop1นั้นมีโอกาสที่จะได้เงินเดือนสูงกว่าคนที่จบมหาลัยอื่นๆมากกว่าเป็นเท่าตัว
ผมไม่รู้หรอกว่ามันจริงเท็จแค่ไหน แต่ที่แน่ๆคือมันทำให้เราเห็นไปในทิศทางเดียวกันแล้วว่า ไม่ใช่แค่เด็กจบใหม่แต่เป็นทั้งGeneration เลยละที่คิดแบบเดียวกันนี้
คำถามคือทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นกันละ ทำไมคนที่จบจากมหาลัยสูงๆถึงมีโอกาสได้งานได้เงินมากกว่าคนที่จบมาจากมหาลัยบ้านๆกันละ? คำตอบของคำถามนี้มี2ข้อ
1. การการันตีถึงคุณภาพ
เพราะถ้าคิดตามตรรกะง่ายๆ มหาลัยที่มีคนประสบความสำเร็จเยอะ=มีคุณภาพ และเมื่อทุกคนรู้ว่ามันมีคุณภาพ คนก็จะแข่งเข้ากันเยอะและพอคนแข่งเข้ากันเยอะ มาตรฐานก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย
นั้นทำให้คนที่สามารถผ่านการคัดสรรที่มีคุณภาพไปได้ ก็จะสามารถอนุมานได้เลยว่าไอ้หมอนี่นี่มันมีคุณภาพแน่ๆ และไม่ว่าเค้าจะจบมาด้วยเกรดเท่าไหร่มันก็ไม่สำคัญ เพราะเค้าได้จบมาจากมหาลัยที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพแล้ว
กับ2. เรื่องสายดาร์คที่ทุกคนรู้แต่ก็มักที่จะทำเหมือนมันเป็นเรื่องปกติ คือเส้นสาย
มันเป็นเรื่องที่ได้ยินมานับต่อนับละเรื่องของระบบอุปถัมภ์ รุ่นพี่รุ่นน้องอะไรประมาณนั้น
เวลาสัมภาษณ์งานมีรุ่นพี่ที่จบมาจากมหาลัยชื่อดังแห่งนึง แล้วคนที่มาสมัครงานเป็นรุ่นน้องที่อาจจะไม่ได้รู้จักกันหรอก แต่มาจากมหาลัยเดียวกันมันก็รับกันง่าย
เพราะคนที่จบมาสูงจากมหาลัยที่มี Ranking ที่สูงก็มักที่จะได้ทำงานเป็นคนที่มีตำแหน่งที่สูงเช่นกัน และตำแหน่งเหล่านั้นก็ดันมีหน้าที่คัดคนซะด้วยสิ
มันเป็นเรื่องที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กยันโต กรอกหูซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเริ่มที่จะเอียนแล้ว และเรื่องเส้นสายนี้จะเป็นพ้อยท์สำคัญที่ผมจะมาพูดถึงตลอดยันจบแน่
จากที่กล่าวมาข้างต้นเราพบว่ามี2เหตุผลที่ทำให้มหาลัยที่มีชื่อเสียงนั้นได้เปรียบมากกว่ามหาลัยบ้านๆ อีกส่วนก็อาจจะเป็นเรื่องของอายุของมันและการสนับสนุนจากทางภาครัฐเพราะถ้าเราดูTop10 มหาลัยของไทย มันเป็นมหาลัยรัฐหมดเลย กับอีกส่วนก็อาจจะเป็นแค่อุปทานหมู่ที่ดันเกิดขึ้นเลยทำให้มหาลัยเหล่านี้ยกระดับไปเองตามอุปทานของผู้บริโภค
แต่เหตุผลแค่นี้มันก็ไม่สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์เสมอไป เพราะมันจะทำให้เข้าสู่หัวข้อที่สอง
  • demand and Supply
อุปสงค์กับอุปทาน ความต้องการบริโภคกับทรัพยากรที่มีอยู่ นั่นแหละคือบัคที่จะทำให้เรื่องของมหาลัยมันไม่มีผลในบางกรณี
ความต้องการของตลาดที่มีต่อแรงงานนั้นสำคัญต่อการจ้างงานของเด็กจบมาเป็นอย่างมาก เพราะโลกนั้นหมุนไปอย่างรวดเร็วตลอดเวลา การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยเกิดขึ้นแทบทุกปีหรืออาจทุกวันด้วยซ้ำ
โลกในตอนนี้มันไม่เหมือนกับเมื่อ30ปีที่แล้วอีกแล้ว การเข้ามาของอินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์นั้นเปลี่ยนโลกไปเป็นอย่างมาก
ตลาดแรงงานขยายตัวขึ้นจากการที่เทคโนโลยีนั้นถูกทำให้รุดหน้าไปไกลกว่าเดิมมาก นั้นทำให้มีคนที่เห็นโอกาสมากมายกระโดดเข้ามาลองตลาดทำให้เกิดบริษัทที่หากำไรจากธุรกิจใหม่ๆนี้ได้เป็นพันล้านเกิดขึ้นเป็นรายเดือน
นั้นทำให้ตลาดจึงจำเป็นต้องหาเด็กจบใหม่ที่จบมาจากคณะและสาขาที่เรียนเกี่ยวกับตลาดนี้มากขึ้น อย่างเช่นSoftware Engineer อาชีพในสายงานวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การพัฒนา และการบำรุงรักษาระบบซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน
เพียงแค่ตัวอย่างเดียวมันก็เห็นผลชัดเจนแล้วว่าความต้องการของตลาดที่กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดดนั้นน่ากลัวแค่ไหน เพราะถึงพอมาถึงจุดนึงมหาลัยที่เป็นTop10 เดี๋ยวก็คลอดคณะกับสาขาที่เข้ามารองรับตลาดแรงงานเองอะแหละ
แต่คุณเห็นอะไรนั้นใช่มั้ยละ กว่าจะถึงตรงนั้นช่องว่างเวลาตรงนั้นแหละคือเวลาแห่งการกอบโกยความมั่งคั่งที่เกิดจากบัคที่มีชื่อว่าทรัพยากรอันเป็นที่ต้องการ เพราะในตอนนั้นมันไม่สำคัญหรอกว่าคุณจบมาจากที่ไหน แต่สิ่งที่คุณจบมามันสำคัญกับเรามากเพราะงั้นมาทำงานกับเราเถอะ
หัวข้อสุดท้ายของเรา มันคือเรื่องที่ผมได้ยินมาตลอดตั้งแต่ยังเรียนอยู่มาจนตอนนี้คือเรื่อง
  • เอกชน or รัฐบาล ?
ผมไม่รู้ว่ามันเป็นที่แค่บ้านผมผมเดียวรึป่าวหรือว่ายังไงแต่คือบ้านผมจะมีอคติอย่างนึงกับมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งผมก็ค่อนข้างสงสัยเหมือนกันว่าทำไมถึงได้มีอคติกันนักนะ?
เพราะถ้าให้ลองคิดดู มหาวิทยาลัยเอกชนหลายๆแห่งก็ไม่ได้ดูแย่เลยเอาตรงคือไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรหรือสิ่งอำนวยความสะดวก มันก็อยู่ระดับเดียวกับมหาวิทยาลัยTop10ด้วยซ้ำ หรือแม้กระทั่งคณะและสาขาที่มีที่มันมีความหลากหลายและเจาะกลุ่มตลาดในปัจจุบันมากกว่า ซึ่งเอาตรงคือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยTop10 เกินครึ่งก็ยังไม่มีด้วยซ้ำ
เพราะงั้นถ้าเป็นเรื่องของคุณภาพการศึกษานั้น มันก็แทบไม่ต่างกันเลยหนิ? อยู่ในระดับเดียวกันด้วยซ้ำและเอาตรงคือในทุกปีอัตราคนที่เข้ามหาลัยเอกชนพวกนี้ก็สูงขึ้นในทุกๆปีด้วย แถมยังสามารถที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ด้วยถึงแม้จะมีคนพูดว่ามันไม่ดีเท่าก็ตาม
จาก2อย่างที่กล่าวมา นั้นอาจเท่ากับว่าเพราะว่ามันไม่ได้แย่มากกว่าที่เราอคติรึป่าว? แถมถ้ามีคนที่สมัครมากขึ้นนั้นเท่ากับว่ามหาลัยเอกชนพวกนี้สามารถตีตลาดคนรุ่นใหม่ที่มีความฝันและแรงปรารถนาได้ดีเทียบเท่ากับมหาลัยที่อยู่มานานเกือบ100ปีแล้วรึป่าว
ที่ผมกำลังจะพูดคือ มหาวิทยาลัยเอกชนมันไม่ได้แย่มันดีด้วยซ้ำและมันจะดีขึ้นมากไปกว่านี้ด้วยจนอาจจะดีเทียบเท่ามหาลัยTop10ได้ในอนาคต เพราะการที่มหาลัยพวกนี้นั้นไม่จำเป็นต้องสอบเข้า จะมีอย่างมากก็ทุนของมอ ซึ่งก็ต้องไปแข่งกับหน่อย
แต่เพราะทุนที่มีนั้นมันไม่ใช่แบบเรียนดีเป็นอัฉริยะตามบรรทัดฐานของสังคม แต่มันรวมถึงการมีความcreative ความเป็นผู้นำและก็ความทะเยอทะยาน ซึ่งนั้นอาจจะเป็นตัวกรองถึงคุณของเด็กชั้นดีที่มีคุณภาพมากกว่าแค่ดูจากเกรด5เทอมด้วยซ้ำ
รวมไปถึงกลุ่มคณะสาขาที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ที่มีความฝันและแรงปรารถนาที่จะขับเคลื่อนชีวิตของตนไปในแนวทางของตัวเอง
และอย่างที่บอกเพราะว่ามหาลัยเอกชนนั้นไม่จำเป็นต้องสอบเข้า ถึงได้เก็บเงินที่แพงเอาเรื่องแก่นักศึกษาแต่ถ้าในแง่ดีแล้ว งบเหล่านั้นคืองบสำหรับอนาคตที่จะพัฒนาสถาบันการศึกษานี้ให้ไปได้ไกลกว่านี้
หัวข้อสุดท้ายที่สุดที่ผมได้ให้คุณจำเอาไว้ ใช่มันคือเส้นสาย ผมคงไม่ต้องพูดอะไรมากแล้วเพราะว่าผมจะบอกเลยละกันว่ามันไม่ควรมีอยู่ในสังคมนี่อีกแล้ว
มันไม่มีอยู่ เอาตรงคือไม่ควรเกิดขึ้นมาด้วยซ้ำและถ้าคุณคือคนที่เห็นในสิ่งที่ผมเห็นเหมือนกัน นี่คือคำแนะนำในการแก้ปัญหาของคนที่มองเห็นถึงปัญหาแต่ไม่มีปัญญาแก้
  • ทำให้ทุกอย่างมันเท่าเทียมให้หมด
คืองี้ ถ้าลองคิดซะว่าเหตุผลที่ทำให้มหาลัยที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นมาได้จากความช่วยเหลือของรัฐบาลเพราะงั้นแล้ว แปลว่าถ้ารัฐทำให้ระบบการศึกษาทั้งประเทศมันเท่าเทียมกันได้ แบบเท่าเทียมกับจริงๆทั้งหมด
นั้นอาจจะเป็นวิธีแก้ปัญหาก็ได้ เพราะถ้าคุณภาพของทุกสถานบันการศึกษาไม่ใช่แค่มหาลัยแต่เป็นทุกระดับชั้นมันอยู่ในระดับที่ดีเท่ากันหมดอยู่ในมาตรฐานที่สูงที่สุดเท่าที่มันจะเป็นไปได้ให้หมด
เราอาจจะสามารถที่จะลบมายาคติเกี่ยวกับมหาลัยที่มีชื่อเสียงออกไปได้ เพราะถ้าคุณภาพการศึกษามันเท่ากันทั้งหมดนั้นเท่ากับว่าเรื่องของ Ranking ก็จะไม่มีความหมายอีกต่อไป
  • โลกอินเทอร์เน็ตที่ไร้พรมแดน และความรู้อันไม่สิ้นสุด
คุณไม่จำเป็นที่จะต้องมีสถานะทางบ้านที่ดีเลิศเลอก็ได้ คุณไม่จำเป็นต้องจะต้องจบจากโรงเรียนที่ดังที่สุดก็ได้ คุณไม่จำเป็นต้องไปเป็นลูกจ้างใครก็ได้
เพราะคุณสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้โดยไม่ต้องพึ่งสิ่งพวกนั้นแล้ว ในโลกที่อินเทอร์เน็ตเร็วแบบทะลุนรกคุณมีสุดยอดขุนพลังในมือ ถ้าถามว่ายังไง?
คุณเปิดทรศ.มาคุณเจออะไรบ้างละ? คลิปในยูทูปที่คุณดูนะ คุณคิดว่านั้นไม่ใช่งานรึไง? หรือเกมที่คุณกำลังเล่น คุณคิดว่านั้นไม่ใช่งานรึไง?
ใช่ ที่ผมจะพูดคือตอนนี้สิ่งสำคัญไม่ใช่เกรด ไม่ใช่ใบปริญญา ไม่ใช่มหาลัย สิ่งสำคัญในการประสบความสำเร็จคือไอเดีย คือ identity ถ้าคุณทำให้ตัวตนของคุณเป็นที่ยอมรับได้ สร้างไอเดียใหม่ๆให้กับโลกได้
ผมสาบานเลยคุณไม่จำเป็นต้องมีใบปริญญาสักใบเลย คุณจะประสบความสำเร็จก็ยังได้ เพียงแค่ปลายนิ้วของคุณคุณสามารถที่จะตั้งบริษัทขึ้นมาก็ทำได้ หรือสร้างตัวตนที่คนจะดูคุณจดจำคุณและก็พูดถึงคุณไปอีกนานโดยที่เค้าอาจจะไม่เคยเจอคุณเลยก็ยังได้
  • การแก้ปัญหาที่แท้จริง
คำตอบของคำถามนี้ ผมคงจะไม่มีอะไรจะพูดมากมายนักหรอกครับ เพราะผมคือคนที่มองเห็นมันนั่นแหละและนี่คือสิ่งที่ผมทำได้ และทำกำลังทำอยู่
มันคือการหว่านเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ที่มีชุดความคิดแบบผมนี่แหละ ถึงผมจะไม่ทำอะไรแต่ในสักวันจะมีใครสักคนที่อาจจะอ่านโพสต์นี้หรือคิดเองได้ เริ่มทำอะไรสักอย่างแน่ๆ
การสร้างสถานบันการศึกษาที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพารัฐแต่ก็มีคุณภาพ และก็ผลงานที่ไม่น้อยหน้ามหาลัยไหน สักวันอะไรแบบนั้นจะเกิดขึ้น ไม่เร็ววันนี้หรอก แต่ก็อีกไม่นานแล้วละ
เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะก้มหัวให้กับมายาคติที่กดหัวพวกเค้าอยู่ อย่างน้อยก็ผมคนนึงละ
โฆษณา