9 ก.พ. เวลา 14:00 • ท่องเที่ยว

นักปีนเขาเอเวอเรสต์ ต้องนำอุจาระ ตัวเองกลับมาที่เบสแคมป์

"เนปาล ออกกฎใหม่ นักปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขาใกล้เคียง ต้องนำอุจาระของตัวเองกลับลงมาด้วย"
เห็นกฎนี้แล้ว อิชั้นจินตนาการ ภาพที่มาพร้อมกลิ่นโดยทันที โอ้แม่เจ้า !!! แบกของตัวเองยังโอเค แต่เมื่อใดแอบไปเห็นของคนข้าง ๆ เป็นแบบก้อนแห้ง ยังพอทน เป็นแบบน้ำคลุกคลิกนี่สิ ฮ่า ฮ่า อันนี้ไม่อยากจะคิด เรามาหาคำตอบการที่จะทำให้อุนจิเหล่านี้ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ เพื่อให้นักปีนเขาแบกกลับมาอย่างสบายใจในบทความนี้กันค่ะ
Mt. Everest view from Gorakshap
มิงมา เชอร์ปา ประธานเทศบาลชนบทปาซัง ลามู (Pasang Lhamu rural municipality) บอกกับบีบีซีว่า
“ภูเขาของเราเริ่มส่งกลิ่นเหม็น” เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงเกินไป สิ่งปฏิกูลที่หลงเหลืออยู่บนเอเวอเรสต์จึงไม่สลายตัวอย่างสมบูรณ์ เราได้รับข้อร้องเรียนว่ามองเห็นอุจจาระของมนุษย์บนโขดหิน และนักปีนเขาบางคนล้มป่วย เนื่องจากมีการปนเปื้อนในน้ำและอาหาร ทำลายภาพลักษณ์ ของภูมิภาคเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรายอมรับไม่ได้
เทศบาลภูมิภาคเอเวอเรสต์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเวอเรสต์ ได้นำกฎใหม่มาใช้ "ต่อไปนี้นักปีนเขาที่ปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก และภูเขาโลตเซที่อยู่ใกล้เคียง จะได้รับคำสั่งให้ซื้อถุงขยะใส่อุจาระ (poo bags) ที่เบสแคมป์ ซึ่งจะถูกตรวจสอบเมื่อเดินทางกลับลงมาถึงเบสแคมป์"
Tent on the way to summit Mt.Everest, Credit photo: Montana Twinprai
'ห้องน้ำแบบเปิด'
ขยะยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคมป์ที่สูงขึ้นไป ซึ่งการจัดการเข้าถึงได้ยาก” แม้ว่าจะไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการ แต่เทศบาลภูมิภาคเอเวอเรสต์ได้ประเมินว่ามีอุจจาระมนุษย์ประมาณ 3 ตัน ระหว่างแคมป์ที่หนึ่งที่ด้านล่างของเอเวอเรสต์ ไปจนถึงแคมป์ที่สี่ตรงไปยังยอดเขา โดยเชื่อกันว่าครึ่งหนึ่งอยู่ใน เซาท์คอล (South Col) หรือที่รู้จักในชื่อแคมป์สี่
สเตฟาน เค็ค ไกด์ภูเขานานาชาติที่จัดคณะปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ กล่าวว่า เซาท์คอลได้รับขนานนามว่าเป็น "ห้องน้ำแบบเปิด" ที่ระดับความสูง 7,906 เมตร (25,938 ฟุต) เซาท์คอล ทำหน้าที่เป็นฐานก่อนที่นักปีนเขาจะปีนไปถึงยอดเขาเอเวอเรสต์และโลตเซ ที่นี่ภูมิประเทศมีลมพัดแรงมาก และ
แทบจะไม่มีน้ำแข็งและหิมะเลย ดังนั้นคุณจะเห็นอุจจาระของมนุษย์อยู่รอบๆ
ขณะนี้ SPCC ได้รับอนุญาตจากเทศบาลชนบทปาซาง ลามู โดยจัดงบประมาณซื้อถุงใส่อุจาระประมาณ 8,000 ใบ จากสหรัฐอเมริกา สำหรับนักปีนเขาชาวต่างชาติประมาณ 400 คน และเจ้าหน้าที่สนับสนุนการปีนเขาอีก 800 คน เพื่อใช้ในฤดูกาลปีนเขาที่กำลังจะมาถึง ที่จะเริ่มในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้
Line of trekkers to Everest Base Camp
ถุงใส่อุนจิเหล่านี้มีสารเคมีและผงที่ทำให้อุจจาระของมนุษย์แข็งตัวและทำให้ไม่มีกลิ่นเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉลี่ยแล้ว นักปีนเขาจะผลิตอุจจาระได้ 250 กรัมต่อวัน โดยปกติแล้วนักปีนเขาจะใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์ในแคมป์ที่สูงเพื่อพยายามพิชิตยอดเขา นายชีริง อธิบายว่า "เราวางแผนที่จะมอบถุงให้นักปีนเขาคนละสองใบ โดยแต่ละถุงสามารถใช้ได้ห้าถึงหกครั้ง"
1
นายดัมบาร์ ปาราจูลี ประธานสมาคมการปีนเขาแห่งเนปาล กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “มันเป็นสิ่งที่ดีอย่างแน่นอน และเรายินดีที่จะมีส่วนร่วมในการทำให้สิ่งนี้ประสบความสำเร็จ” เขากล่าวว่าองค์กรของเขาแนะนำว่าควรนำสิ่งนี้มาเป็นโครงการนำร่องบนเอเวอเรสต์ก่อน จากนั้นจึงค่อยดำเนินการบนภูเขาลูกอื่นๆ
นายมิงมา เชอร์ปา ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของสมาคมนักปีนเขาเนปาล และเป็นไกด์ปีนเขา ชาวเนปาลคนแรกที่ปีนภูเขาทั้ง 14 ลูกที่ความสูงเกิน 8,000 เมตร กล่าวว่า ได้ทดลองและทดสอบการใช้ถุงดังกล่าวเพื่อจัดการขยะของมนุษย์แล้วบนภูเขาอื่นๆ เขาใช้ถุงในลักษณะนี้บนภูเขาเดนาลี (ยอดเขาที่สูงที่สุดในอเมริกาเหนือ) และในแอนตาร์กติกด้วย นั่นคือเหตุผลที่เราควรสนับสนุนให้ใช้ถุงดังกล่าว กล่าว ซึ่งตรงกับความคิดเห็นของ นายเค็ก ไกด์ปีนภูเขานานาชาติ แนวคิดนี้จะช่วยทำให้ภูเขาสะอาดได้
Everest Base Camp
รัฐบาลกลางของเนปาลได้ประกาศกฎการปีนเขาหลายข้อในอดีต แต่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าหลายกฎไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสม สาเหตุหลักประการหนึ่งคือไม่มีเจ้าหน้าที่ประสานงานภาคพื้นดิน เจ้าหน้าที่ของรัฐควรจะประจำอยู่กับทีมปีนเขาที่เบสแคมป์ แต่หลายคนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ที่นั่นเลย
นายมิงมา ประธานเทศบาลชนบทปาซัง ลามู กล่าวว่า “เจ้าหน้าที่รัฐมักจะไม่อยู่ประจำการที่เบสแคมป์ ซึ่งนำไปสู่การทำผิดกฎของนักปีนเขาทุกประเภท รวมไปถึงการปีนเขาโดยไม่มีใบอนุญาต เป็นต้น หลังจากนี้ ทุกอย่างจะเปลี่ยนไป เราจะเปิดสำนักงานติดต่อและตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามมาตรการใหม่ของเรา รวมถึงการให้นักปีนเขานำอุจจาระกลับคืนมาด้วยเช่นกัน”
1
เนปาลมียอดเขาที่สูงมากกว่า 8000 เมตร ทั้งหมด 8 แห่งจากทั้งหมด 14 แห่ง ของโลก ตามข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวเนปาล จนถึงวันที่ 14 พฤษภาคมปีที่แล้ว รัฐบาลสร้างรายได้ 5.8 ล้านดอลลาร์จากการท่องเที่ยวบนภูเขา และ 5 ล้านดอลลาร์จากเอเวอเรสต์เพียงแห่งเดียว ถือว่าการปีนยอดเขาเอเวอเรสต์สร้างรายได้ให้กับประเทศเนปาลเป็นอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่า การสร้างมลพิษบนภูเขาเอเวอเรสต์ก็สูงมากเช่นกัน
ปีที่แล้วยังเป็นวันครบรอบ 70 ปีของการพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ครั้งแรกของ Tenzing Norgay Sherpa และ Edmund Hillary
เรามาติดตามดูกันต่อไปว่า รัฐบาลเนปาลจะทำตามมาตรการที่กล่าวมาได้หรือไม่ อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลยเช่นกัน เป็นกำลังใจให้รัฐบาลเนปาลนะคะ ต้องสู้ ต้องสู้ จึงจะชนะ เจิน ๆ มาเอง
สนใจทริปเอเวอเรสต์เบสแคมป์ คลิกที่ชื่อทริปได้
#Everest #everestbasecamp
credit news: bbc.com/news
สนใจทริปเอเวอเรสต์เบสแคมป์
โฆษณา