12 ก.พ. เวลา 07:00 • ไลฟ์สไตล์

คนไทยจ่ายเงินด้านกีฬา 7,054 บาท/ปี เช็คลิสต์ 10 อันดับที่จ่ายมากสุด

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดผลสำรวจค่าใช้จ่ายด้านการกีฬาของประชาชนในปี 2566 พบคนไทย จ่ายเงินด้านกีฬา 7,054 บาท/ปี โดยกลุ่ม LGBTQ+ ใช้สูงสุด เช็คสถิติ 10 อันดับที่มีการจ่ายมากที่สุด
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำรวจค่าใช้จ่ายด้านการกีฬาของประชาชนในปี 2566 ที่ผ่านมา โดยทำการสำรวจข้อมูลจากประชาชนกลุ่มตัวอย่างจำนวนรวม 14,481 คน ในพื้นที่หลัก ๆ ทั่วประเทศ พบว่า ในภาพคนไทยมีค่าใช้จ่ายด้านการกีฬาโดยเฉลี่ยเท่ากับ 7,054.68 บาทต่อปี โดยกลุ่ม LGBTQ+ ค่าใช้จ่ายด้านการกีฬาโดยเฉลี่ยสูงที่สุดรองลงมาคือ เพศชาย และเพศหญิง ตามลำดับ ดังนี้
  • กลุ่ม LGBTQ+ มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 7,801.45 บาทต่อปี
  • เพศชาย มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 7,100.83 บาทต่อปี
  • เพศหญิง มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 6,965.84 บาทต่อปี
สำหรับค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของประชาชน 10 อันดับแรก มีดังนี้
  • 1.
    ค่ารองเท้ากีฬา 2,092.83 บาท
  • 2.
    ค่าอาหารและเครื่องดื่มที่เกิดขึ้นในระหว่างชมกีฬา แข่งขันกีฬา เล่นกีฬา 1,299.24 บาท
  • 3.
    ค่าเสื้อและกางเกงกีฬา/ชุดกีฬา 947.64 บาท
  • 4.
    ค่าอุปกรณ์กีฬา 815.41 บาท
  • 5.
    ค่าตัว บัตรเข้าชม ค่าสมัครเข้าร่วมแข่งขัน 390.65 บาท
  • 6.
    ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปชมกีฬา แข่งขันกีฬา เช่น ค่าพาหนะ ค่าน้ำมัน 349.78 บาท
  • 7.
    ค่ายานพาหนะที่ใช้ในการแข่งขันกีฬา ชมกีฬา เล่นกีฬา 246.56 บาท
  • 8.
    ค่าอาหารเสริมสำหรับนักกีฬา เครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา 219.79 บาท
  • 9.
    ค่าเช่าสนามกีฬา ไม่รวมอุปกรณ์กีฬา 171.96 บาท
  • 10.
    ค่าโรงแรม ค่าที่พัก 137.56 บาท
ทั้งนี้ กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการสำรวจพฤติกรรมและค่าใช้จ่ายด้านการกีฬาของประชาชนทั่วไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
3
ค่าเสื้อผ้ากีฬา รองเท้ากีฬา และอุปกรณ์กีฬา เป็นค่าใช้จ่ายด้านการกีฬาส่วนใหญ่ของประชาชน โดยคิดเป็นกว่า 47% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในปี 2565 ก่อนจะเพิ่มเป็น 55% ในปี 2566 ดังนั้น ควรเร่งส่งเสริมผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ากีฬา รองเท้ากีฬา และอุปกรณ์กีฬาแบรนด์ไทยให้สามารถแข่งขันได้เพื่อให้มูลค่าผลผลิตในอุตสาหกรรมกีฬาของประเทศไทยเติบโตมากยิ่งขึ้น โดยต้องมีนโยบายส่งเสริม ทั้งด้านการผลิตและการบริโภค ประกอบด้วย
1
1.ด้านการผลิตควรมีการสร้างคลัสเตอร์ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ากีฬา รองเท้ากีฬา และอุปกรณ์กีฬาแบรนด์ไทย เพื่อทำการส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้แก่ผู้ประกอบการ โดยที่สำคัญคือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการทำการตลาดเชิงรุก
นอกจากนี้ ยังต้องมีการรับรอง (Certified) ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ากีฬา รองเท้ากีฬา และอุปกรณ์กีฬาแบรนด์ไทย โดยหน่วยงานภาครัฐเพื่อจัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐานควบคู่ไปกับการจัดทำฐานข้อมูล Black List ทั้งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคด้านการบริโภค
2.ควรมีมาตรฐานผลักดันการใช้ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ากีฬา รองเท้ากีฬา และอุปกรณ์กีฬา แบรนด์ไทย ซึ่งผลิตโดยผู้ประกอบการที่ได้รับการ Certified ที่อยู่ในฐานข้อมูลผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐาน โดยอาจเริ่มต้นจากการผลักดันและขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกระดับที่มีการเรียนวิชาพลศึกษาให้มีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ากีฬา รองเท้ากีฬา และอุปกรณ์กีฬาแบรนด์ไทยในการจัดการเรียนการสอน การจัดการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เป็นต้น
3.ค่าอาหารและเครื่องดื่มิเป็นอีกหนึ่งหมวดค่าใช้จ่ายด้านการกีฬาที่สำคัญของประชาชนทั่วไป คิดเป็นสัดส่วนกว่า 15% ของค่าใช้จ่ายด้านการกีฬาทั้งหมด โดยจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อประชาชนไปเล่นกีฬา ออกกำลังกาย แข่งขันกีฬา หรือไปชมการแข่งขันกีฬา
ขณะที่ค่าโรงแรมที่พัก เป็นค่าใช้จ่ายสำคัญที่จะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนไปแข่งขันกีฬาหรือไปชมกีฬานอกพื้นที่อยู่อาศัย จึงถือได้ว่าธุรกิจบริการอาหารและโรงแรมที่พักถือเป็น Ecosystem สำคัญของอุตสาหกรรมกีฬา
ดังนั้น ควรมีนโยบายในการสำรวจความพร้อมของธุรกิจบริการอาหารและโรงแรมในพื้นที่เป้าหมายสำหรับการจัดกิจกรรมกีฬาต่าง ๆ เพื่อให้การส่งเสริมและพัฒนาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้กิจกรรมกีฬายกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.ค่าใช้จ่ายของที่ระลึกกิจกรรมกีฬายังมีมูลค่าต่ำกว่า โดยสัดส่วนไม่ถึง 1% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด สะท้อนให้เห็นช่องว่างของธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าของที่ระลึกที่เกี่ยวกับกิจกรรมกีฬา โดยเฉพาะในธุรกิจกีฬาอาชีพของประเทศไทยเกี่ยวกับกีฬามากนัก รวมทั้ง Engagement ซึ่งอาจยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของผู้บริโภคที่มีต่อทีมกีฬาอาชีพที่ยังไม่มากพอที่จะทำให้ตัดสินใจ ซื้อของที่ระลึกต่าง ๆ
ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐต้องมีนโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจของที่ระลึกเกี่ยวกับกีฬาให้แก่ผู้ประกอบการ อาจเริ่มต้นจากสโมสรกีฬาอาชีพและผู้จัดการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ โดยเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค การทำการตลาดดิจิทัลอย่างเหมาะสม การสร้าง Online Content เพื่อสร้าง Engagement กับแฟนกีฬาและผู้บริโภค ให้มากขึ้น
5.จากการเปรียบเทียบค่าตั๋ว/บัตรเข้าชม/ค่าสมัครเข้าร่วมแข่งขัน ระหว่างค่าใช้จ่ายจริง และค่าใช้จ่ายที่ยินดีจ่ายสูงสุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายจริงสูงกว่าค่าใช้จ่ายที่ยินดีจ่ายสูงสุด ในเชิงเศรษฐศาสตร์ถือได้ว่า มีส่วนเกินผู้บริโภคติดลบ สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นคุณค่าการจ่ายเงินเพื่อเข้าไปชมการแข่งขันกีฬาค่อนข้างน้อย ถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกีฬาของประเทศ
ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐต้องมีนโยบายที่เหมาะสมในการดึงดูดให้ประชาชนสนใจเข้ามาชมการแข่งขันกีฬาให้มากขึ้น ในกรณีของกีฬาอาชีพ การกีฬาแห่งประเทศ มีการกำกับดูแลและส่งเสริมให้การแข่งขันเป็นไปอย่างมีคุณภาพ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้สโมสรกีฬาอาชีพทำความร่วมมือกับองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อโปรโมทและสร้าง Engagement กับพื้นที่
รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนสโมสรกีฬาอาชีพให้ทำการตลาดผ่านการทำ Storytelling ให้มากขึ้น ในกรณีของกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อมวลชน ควรมีการวิเคราะห์พื้นที่ เพื่อให้สามารถเลือกจัดการแข่งขันกีฬาได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่และช่วงเวลา รวมทั้งทำการประชาสัมพันธ์และการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพผ่านช่องทางที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้วย
โฆษณา