11 ก.พ. เวลา 09:38 • ไลฟ์สไตล์
ถนน บ้านหม้อ

วัดทิพยวารีวิหาร วัดกัมโล่วยี่

คราวนี้ตรุษจีน ขอเบรคมาที่วัดจีนกันบ้าง วัดนี้มีชื่อเรื่องแก้ชง ใครชง หรือไม่ชงยังไงสามารถไปทำบุญกันได้ ปีที่ชงปีนี้คือ ปีมะโรง จอ ฉลู และมะแม ส่วนใครไม่ชงจะไปเสริมดวงให้แข็งแกร่ง ปังขึ้นก้อดีอ่าน่ะ
อดีตเป็นวัดญวน เป็นอีกหนึ่งที่ที่หลายคนแวะเวียนเข้าไปกราบไหว้ เพราะเชื่อว่าเทพเจ้าในวัดแห่งนี้จะช่วยคุ้มครอง ทั้งยังมี “เทพเปลี่ยนดวง” เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี ที่ไม่ต้องบินไปไกลถึงฮ่องกงก็สามารถหมุนกังหันเสริมบารมีได้ นอกจากนี้ยังมี “เจ้าพ่อมังกรเขียว” ไว้สักการะบูชา ซึ่งตรงกับนักษัตรประจำปีนี้ คือ ปี “มังกร” อีกด้วย
เทพมังกรเขียว(หรือแชเล่งเอี้ย)
เป็นหนึ่งในเทพที่มีคนมาสักการะมากที่สุดในวัดทิพยวารีวิหาร ท่านเป็นเทพมังกรผู้รักษาบ่อน้ำทิพย์ประจำวัด แต่โบราณกาลชาวจีนเชื่อกันว่าเทพมังกรเป็นเทพารักษ์ประจำแหล่งน้ำทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นบ่อน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ หรือมหาสมุทร
ทั้งยังเชื่อกันว่าเทพมังกรจักบันดาลความอุดมสมบูรณ์ มีฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล ประเพณีชาวพื้นเมืองในแถบลุ่มแม่น้ำแยงชีลงมา จนถึงแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน แต่โบราณนับถืองูและบูชางู มีประเพณีในแถบแต้จิ๋วกล่าวถึงพิธีรับเจ้างูในเดือนยี่ และถึงฤดูน้ำหลากจะมีฝูงงู ลอยตามน้ำป่า มาติดอยู่ริมตลิ่ง ชาวบ้านก็จะเชิญงูกลับมาบูชาที่ศาลประจำหมู่บ้าน และเลี้ยงงูด้วยไข่ไก่ดิบ งูเหล่านี้ไม่ทำร้ายคน หลังเสร็จพิธี ฝูงงูก็จะกลับไปทางช่องด้านหลังของศาลเจ้า
วัดทิพยวารีวิหาร หรือ วัดกัมโล่วยี่ ตั้งอยู่ในเขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพฯ โดยสร้างขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อในปี พ.ศ. 2319 เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย จัดเป็นวัดมหายาน
พอมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วัดก็ได้ถูกทิ้งร้างไว้ เพราะเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น จนมาในปี พ.ศ. 2439 พระอาจารย์ไหซัน พระภิกษุจีนชาวมณฑลหูหนาน ได้มาจำพรรษาที่วัด ท่านก็เลยบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ และเชิญชวนชาวบ้านในย่านตลาดมิ่งเมืองมาร่วมกัน
จนกระทั่งวัดกลับมาสวยงาม ในหลวงรัชกาลที่ 5 จึงได้มีพระราชทานสมณศักดิ์ให้อาจารย์ไหซัน เป็นหลวงจีนธรรมรสจีนศาสน์ ปลัดซ้ายจีนนิกาย ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และพระราชทานนาม วัดกัมโล่วยี่ ให้ใหม่ว่า วัดทิพยวารีวิหาร ในปี พ.ศ. 2452 นั่นเอง
วัดกัมโล่วยี่ ซึ่งมาจากคำว่า กัมโล่ว ที่แปลว่า น้ำทิพย์ กับคำว่า ยี่ ที่แปลว่า วัด พอรวมกันแล้วก็มีความหมายว่า วัดน้ำทิพย์ ชื่อนี้มีที่มาจากมีบ่อน้ำมนต์โบราณที่ชาวบ้านเรียกกันว่า บ่อน้ำทิพย์ ซึ่งจะเป็นตาน้ำที่ไม่เคยแห้ง และบ่อน้ำนี้ก็อยู่คู่กับวัดมาตั้งแต่การสร้างวัด
ส่วนใหญ่แล้วคนทั่วไปจะนิยมไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้ง หมออูโต๋ว เทพปรองดองหรือเทพแห่งความรัก เทพขุนพลเอี่ยยิ่ม องค์ซำกวง หรือเทพ 3 ตา พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หลวงจีนคณาณัติจีนพรต (เย็นบุญ) อดีตเจ้าอาวาส และ เทพมังกรเขียว หรือ แชเล่งเอี๊ย เทพารักษ์ผู้รักษาบ่อน้ำทิพย์
ส่วนการเดินทางไม่ยาก จุดสังเกตจะใกล้กับพาหุรัด และดิโอลด์ มาใต้ดินลงสถานีสามยอด แล้วเดินหน่อยหนึ่ง
ป้ายสำหรับปีชง พร้อมการนับอายุเกิดแบบจีน
เปิด 6.00 น. ปิด 18.00 น.
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆในวัด
อ้างอิง
โฆษณา