19 ก.พ. เวลา 14:26 • ความคิดเห็น
หากถามว่า "เชื่อถือไหม?" คำตอบก็คือ "ไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่" แต่ความจริงแล้วคำถามที่แท้จริงมันอยู่หลังจากนั้นว่า "ต่อให้ไม่เชื่อถือระบบยุติธรรมในประเทศไทยแล้วจะทำยังไงต่อ?" ซึ่งคำตอบมันก็มีอยู่แค่ 2 ทางคือ 1) เราก็ต้องออกมา "ปฏิวัติโค่นล้ม.. สังคมแบบเก่า ปฏิวัติเพื่อเรา... ประชาชาติไทย.." แบบเพลงน้าหงาคาราวาน หรือไม่ก็ 2) จะเชื่อหรือไม่เชื่อเราก็ต้องยอมรับมันอยู่ดี และถ้าหากให้ผมตอบล่ะก็ผมก็ขอตอบทางที่ 2 นั่นแหละ เพราะอะไรน่ะเหรอ? เพราะผมอ่านนิยายเกี่ยวกะการปฏิวัติมาจนเบื่อหน่ายมันละ 😜
พักหลังๆ มานี้นะ ผมชักจะไม่เชื่อแล้วว่ามนุษย์เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมเอาตามอำเภอใจของตัวเองได้ ความจริงมันก็เป็นอย่างนั้น ถ้าหากมนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ตามใจตัวเองจริง บ่านนี้สังคมในอุดมคติทั้งหลายก็ต้องผุดขึ้นมาให้เราเห็นอย่างเกลื่อนกล่น ทั้งในอุดมคติแบบขวาจัดและซ้ายจัดเลยนั่นแหละ
ดังนั้นพักหลังๆ มานี้ ผมจึงคิดอย่างนี้ว่า "เรา" ในฐานะ "ปัจเจกชน" ซึ่งเป็นเพียงฟันเฟืองอันเล็กๆ เพียงอันหนึ่งในเครื่องจักรสังคมอันใหญ่โตมโหฬาร ทำได้เพียง "การเลือกใช้ชีวิต" และดำรงอยู่ในสังคมเท่านั้นนั่นแหละ การที่เราพากันคิดกันว่ามนุษย์จะสามารถก่อสร้างสังคมที่ตนเองชื่นชอบขึ้นมาได้ตามอำเภอใจนั้นอาจจะเป้นเรื่องหยิ่งผยองอย่างไร้เดียงสาอยู่สักหน่อย เพราะยังมี "ปัจจัยอื่น" อีกมากที่เรา "ไม่รู้" อยู่ในคำว่า "สังคม"
ในฐานะที่ก็เป็นคนที่ศึกษาวิชาสังคมมาอยู่นิดหนึ่ง ผมคิดว่าการปฏิวัติที่แท้จริงในสังคมมนุษย์เรานั้นมีอยู่แค่ 3 อย่างเพียงเท่านั้นคือ 1) การ)ฏิวัติเกษตรกรรม 2) การ)ฏิวัติอุตสาหกรรม และ 3) การปฏิวัติเทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคม แค่ 3 อย่างนี้แหละที่ทำให้สังคมและระเบียบในการปกครอง(ซึ่ง "ความยุติธรรม" มีอยู่ในนั้น)ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายมหาศาลได้จริงๆ และทั้งสามอย่างนี้ก็ไม่ได้มีพรรคการเมือง หรือขบวนการทางการเมืองไหนๆ ที่พลักดันให้มันเกิดขึ้นมา
แต่มันค่อยๆ เกิดขึ้นมาตามสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขของมันเอง
ดังนั้นจึงหมายความว่า หากเราไม่ชอบใจอะไรบางอย่างในสังคมของเรา เราก็เพียงแค่ "เลือก" ที่จะไม่รับเอาสิ่งนั้นๆ มาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา และไม่ส่งต่อสิ่งนั้นไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน เหมือนทฤษฎีของดาร์วินนั่นแหละ (ผมว่าแนวคิดแบบดาร์วินอธิบายอะไรได้ตั้งหลายอย่างกว่าแนวคิดแบบมาร์กซ์ซะอีก แต่อาจจะไม่ถูกใจสายรัดดิคัลก็เท่านั้น) ดังนั้นจึงหมายความว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องของความติดต่อสืบเนื่อง ไม่ใช่การหักล้างแบบไดอะเล็คติค และมันต้องกินระยะเวลาอย่างยาวนานกว่าจะเห็นผล
แต่ในขณะเดียวกัน ในทุกๆ ขณะก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ค่อยๆ เกิดขึ้นอยู่ ดังนั้นแล้วล่ะก็
จงมีชีวิตอยู่
จงสืบพันธ์
จงคัดสรรคุณลักษณะที่ดีแล้วส่งต่อไปให้ลูกหลาย
นี่ต่างหากควรเป็นคำขวัญสำหรับนักปฏิวัติ ไม่ใช่ทำเรื่องโง่ๆ เพื่อให้ตัวเองต้องเข้าไปนอนในซังเต แล้วก็อดข้าวอดน้ำ แล้วก็ตายไปเหมือนคนเปล่าประโยชน์
โฆษณา