24 ก.พ. เวลา 13:14 • การศึกษา

คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกหรือไม่

เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทรวมถึงคู่สมรสด้วย
ความเป็นคู่สมรสที่มีสิทธิจะได้รับมรดกนั้นจะต้องเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย (จดทะเบียนสมรส) เท่านั้น หากอยู่กินกันฉันท์สามีภริยามิได้จดทะเบียนสมรสก็ไม่มีสิทธิที่จะรับมรดกนั้น
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายและมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฏหมายให้แบ่งทรัพย์ที่เป็น “สินสมรส”คนละครึ่งระหว่างเจ้ามรดก(ผู้ตาย)กับคู่สมรส เมื่อแบ่งทรัพย์แล้วให้รวบรวมทรัพย์ที่เป็นส่วนของเจ้ามรดกนำมาแบ่งให้กับทายาทโดยธรรม
ในส่วนของคู่สมรสนั้น แม้ว่าจะได้แบ่งสินสมรสคนละครึ่งกับเจ้ามรดกแล้ว คู่สมรสยังมีสิทธิที่จะรับทรัพย์มรดกตามสัดส่วนของเจ้ามรดกอีกด้วย เช่น
นายเอและนางบี เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายมีทรัพย์ที่เป็นสินสมรส 5,000,000 บาท และนายเอ มีทรัพย์ที่เป็นสินส่วนตัว 1,000,000 บาท บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คนคือเด็กชายดี ต่อมานายเอ ถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสระหว่างนายเอและนางบี ต้องแบ่งกันคนละครึ่งคนละ 2,500,000 บาท ดังนั้น ทรัพย์ที่เป็นส่วนของนายเอ ได้แก่สินส่วนตัว 1,000,000 บาท และทรัพย์ที่แบ่งจากสินสมรส 2,500,000 บาท รวมทั้งหมดเป็น 3,500,000 บาท
จึงนำเงินทั้งหมดของนายเอมาแบ่งให้กับทายาทโดยธรรม เมื่อปรากฎว่านายเอมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย1 คนคือเด็กชายดีและมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย คู่สมรสนั้นมีสิทธิได้รับมรดกเหมือนเป็นทายาทชั้นบุตร ดังนั้น เงิน 3,500,000 บาท จึงตกแก่เด็กชายเอและนางบีคู่สมรสคนละ 1,750,000 บาท
สิทธิและส่วนแบ่งการได้รับมรดกของคู่สมรสนั้น เป็นไปตามมาตรา 1635 ดังนี้
1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1635(1) มีชีวิตอยู่และคู่สมรสมีชีวิตอยู่ด้วยมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
2) ถ้ามีทายาทตาม 1635(3) หรือถ้าไม่มีทายาท 1635(1) แต่มีทายาท 1635(2) มีชีวิตอยู่และคู่สมรสมีชีวิตอยู่ด้วยมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
3) ถ้ามีทายาทตาม 1635(4)หรือ(6) หรือมีทายาท 1635(5) แล้วแต่กรณีคู่สมรสมีชีวิตอยู่ด้วยมีสิทธิได้รับมรดกสองในสามส่วน
4) ถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด
โฆษณา