28 ก.พ. เวลา 11:52 • ความคิดเห็น
ยังไง ๆ ก็ขอตอบว่า "ความรู้นั่นเอง" ที่ทำให้เกิดความมั่นใจได้มากกว่า
แม้บทความที่นำเสนอมา ตอนแรกจะนำเสนอถึงปรากฎการณ์ทางจิตวิทยาที่ทำให้เห็นว่า "ความไม่รู้" นั้นทำให้เกิดความมั่นใจที่มากกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ตาม บทสรุปของบทความก็ยังได้แสดงว่าคนที่มีความรู้ (หรือก็คือคนที่ขึ้นไปอยู่บนที่ราบสูงได้แล้ว) ย่อมมีความมั่นใจกว่าคนที่ไม่รู้อยู่นั่นเอง พูดง่าย ๆ ก็คือ คนที่รู้แล้วไม่มั่นใจ (คนที่อยู่บนยอดเขา) ก็คือคนที่รู้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ นั่นแหละ เพราะรู้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ จึงหมายความว่ามีส่วนที่ไม่รู้อยู่ จึงมีความหมายต่อไปอีกว่า ทำให้เขาเกิดความไม่มั่นใจในความรู้ของตนเอง
1
อย่างไรก็ดี อยากกล่าวถึงมุมนี้บ้างมากกว่าว่า ความมั่นใจนั้นก็มักเป็นเหตุแห่งความไม่รู้ได้เหมือนกัน เพราะรู้มาก จึงมั่นใจมาก เพราะมั่นใจมาก จึงถือดี (เหมือนพวกผู้เชี่ยวชาญที่ชอบถีบผู้ที่รู้อย่างครึ่ง ๆ กลาง ๆ ลงจากยอดเขาแห่งความรู้ของตนนั่นแหละ ดีไม่ดี ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เองนั่นแหละ ที่ความถือดีของเขา ได้ทำให้เขาเกิดความหลงผิดคิดไปว่า "ยอดเขา" ของตัวเองนั้น "คือที่ราบสูง" ไปเสียได้) เพราะถือดี ก็เป็นอันว่า ได้ยืนอยู่ในปากของความไม่รู้แล้ว
1
โฆษณา