21 มี.ค. เวลา 13:00 • ธุรกิจ

เปิดหวูดรถไฟขนส่งสินค้าไทย-กัมพูชา

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบการขนส่งทางรางเป็นช่องทางขนส่งสินค้าที่ทั้งประหยัดต้นทุน และร่นระยะเวลาการขนส่งให้สั้นลงเมื่อเทียบกับทางเรือที่มีค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกัน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง จึงเริ่มมีการขยายเครือข่ายโลจิสติกส์ระบบรางไปสู่ภูมิภาคต่างๆ รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็อยู่ระหว่างการพัฒนาคุณภาพการขนส่งระบบรางให้ทันสมัยยิ่งขึ้น และขยายขอบเขตไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อเชื่อมการขนส่งระหว่างประเทศให้ราบรื่นอย่างไร้รอยต่อ
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา กัมพูชาและไทยได้เปิดให้บริการขนส่งทางรางรถไฟอย่างเป็นทางการ นับว่าเป็นการกลับมาของเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา หลังจากยุติการเดินรถไปเป็นเวลา 49 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เส้นทางเดินรถได้แก่ มาบตาพุด – คลองลึก – ปอยเปต – พนมเปญ
โดยครั้งนี้ได้ทำการปรับปรุงสถานีด่านพรมแดนบ้านคลองลึกของไทย และสถานีปอยเปตของกัมพูชาให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัท Royal Railway Public Limited ของกัมพูชา และบริษัท Global Multimodal Logistics Co., Ltd. หรือ GML จากไทย นับว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมเครือข่ายโลจิสติกส์ระบบรางของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านสู่อาเซียน
และภูมิภาคอื่นๆ อย่างไร้รอยต่อ
ซึ่งความคาดหวังในการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟครั้งนี้จะช่วยลดความเสียหายของถนน ลดต้นทุนการขนส่ง และผู้ประกอบการมีกำไรมากขึ้นจากการลดต้นทุนขนส่งสินค้าในการนำเข้าและส่งออกระหว่างทั้งสองประเทศ และยังเป็นช่องทางการส่งออกสินค้าของกัมพูชาผ่านไทยและลาวไปยังจีนอีกด้วย
สำหรับการเดินรถเที่ยวปฐมฤกษ์ เป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมต่อทางรางระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา โดยออกจากสถานีด่านพรมแดนบ้านคลองลึก จ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เป็นการบรรทุกสินค้าประเภทเม็ดพลาสติกและน้ำมันหล่อลื่นของกลุ่มบริษัทปตท.
ซึ่ง GML ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ปตท. ดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์แพลตฟอร์มครบวงจร ได้ผนึกกำลังความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนทั้งของไทยและกัมพูชาในการผลักดันและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าด้วยระบบรางในภูมิภาคอาเซียนให้เป็นอีกทางเลือกที่มีคุณภาพให้กับผู้ประกอบการค้าระหว่างไทยและกัมพูชา พร้อมทั้งเป็นการยกระดับมาตรฐานการค้าไทยเชื่อมสู่สากล เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของไทย อีกทั้งยังสามารถต่อยอดสู่การขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศได้อีกด้วย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเส้นทางรถไฟสายนี้ได้แก่
 
1. ลดต้นทุนในการขนส่ง
2. ประหยัดเวลา
3. เพิ่มทางเลือกในการขนส่ง
4. ลดปัญหาและเพิ่มความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
5. กระตุ้นการค้าระหว่างไทย-กัมพูชาระหว่างกันให้มากขึ้น เป้าหมายปี 2568 มีมูลค่า 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ
6. ผลักดันการขนส่งทางรางให้เชื่อมต่อกันในระดับภูมิภาค
การกลับมาของเส้นทางเดินรถไฟระหว่างประเทศไทย-กัมพูชานี้นับว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญในการพัฒนาการขนส่งระบบรางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตและแข็งแกร่ง โครงการต่อไปอาจจะเป็นเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศกัมพูชา-เวียดนาม เพื่อเชื่อมต่อไปยังคุนหมิง เส้นทางนี้จะกลายเป็นการขนส่งระบบรางสายหลักของภูมิภาคที่ทอดยาวตั้งแต่สิงคโปร์ไปยังคุนหมิงได้อย่างไร้รอยต่อ นับเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมเครือข่ายโลจิสติกส์ระบบรางและมีบทบาทสำคัญต่อระบบการขนส่งของอาเซียนและนักลงทุนไทย
สำหรับลูกค้าที่สนใจประกอบธุรกิจใน CLMV หรือประเทศเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขาต่างประเทศที่พร้อมจะดูแลและให้บริการ สนใจติดต่อ https://www.scb.co.th/en/corporate-banking/international-network.html
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก: ธนาคารกัมพูชาพาณิชย์ (Cambodia Commercial Bank – CCB)
โฆษณา