1 มี.ค. เวลา 06:00 • ประวัติศาสตร์

เจ้าของรางวัลโนเบลที่อายุน้อยที่สุด "Malala Yousafzai"

เมื่อพูดถึงเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจ และก้าวหน้าของเหล่าหญิงสาวที่ท้าทายกฎเกณฑ์และสร้างประวัติศาสตร์ด้วยความกล้าหาญในการต่อสู้เพื่อสิทธิและการศึกษาของผู้หญิง ซึ่งในวันนี้เราจะมาพูดถึง “มาลาลา ยูซาฟไซ” ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในวัยเพียงอายุ 17 ปี
ปี 1997 เด็กสาวมาลาลา ยูซาฟไซ (Malala Yousafzai) เกิดและเติบโตในเมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน ซึ่งในตอนแรกด้วยฐานะทางบ้านทำให้เธอไม่สามารถที่จะไปคลอดที่โรงพยาบาลทำให้ “ยูซาฟไซ (Yousafzai)” พ่อของเธอเลือกที่จะทำการคลอดที่บ้านโดยมีความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน
ขอบคุณภาพจาก : NDTV
ปี 2012 มาลาลาในวัย 15 ปี เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาและสิทธิสตรีในปากีสถาน ซึ่งถูกแต่ทุกสิ่งก็ต้องเปลี่ยนไปเมื่อวันหนึ่งขณะที่เธอกำลังเดินทางกลับบ้านจากโรงเรียน เธอได้ถูกกลุ่มตาลีบันยิงเข้าที่ศีรษะจนได้รับบาดเจ็บจนถึงขั้นอันตราย ก่อนจะถูกส่งไปรักษาตัวที่อังกฤษจนปลอดภัย
ไม่รู้ว่าต่อจากนี้จะเกิดอะไรขึ้น แต่สำหรับตอนนี้ขอดูเน็ตฟลิกซ์ อ่านหนังสือ และนอนก่อน
มาลาลา ยูซาฟไซ
เธอได้ออกมาระบุในทวิตเตอร์ว่า หลังจากพ้นจากสภาวะวิกฤติ ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานเธอได้กลายเป็นนักเคลื่อนไหวที่มีผลงานโดดเด่น ในการต่อสู้เพื่อสิทธิในการศึกษา รวมถึงเธอร่ได้วมก่อตั้ง “กองทุน มาลาลา (Malala Fund)” ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรในเบอร์มิงแฮม
ปี 2014 หลังจากเกินเหตุลอบหลังหารเพียง 2 ปี มาลาลาก็ได้เป็น “บุคคลที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รางวัลโนเบล” ในสาขาสันติภาพด้วยวัย 17 ปี และได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดในสาขา ด้านการเมือง ปรัชญาและเศรษฐศาสตร์ พร้อมทั้งยังต่อสู้ทำงานด้านสิทธิสตรีและสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง
ขอบคุณภาพจาก : Teen Vogue
สำหรับกองทุน มาลาลา (Malala Fund) นั้นได้สามารถช่วยเหลือเด็กหญิงวัย 14-18 ปี ได้มากกว่า200 คน โดยครั้งหนึ่ง มาลาลาเคยเรียกร้องผู้นำระดับโลกให้ร่วมกันลดงบประมาณทางการทหาร เพราะงบประมาณทหารเพียง 8 วัน ก็สามารถทำให้เด็กและเด็กผู้หญิงทั่วโลกได้เรียนหนังสือฟรีถึง 12 ปี
ขอบคุณภาพจาก : Apple TV+
ด้วยเรื่องราวชีวประวัติที่น่าประทับใจนี้ “มาลาล่า ยูซอฟไซ” ได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วโลก และยังเป็นตัวแทนของหลาย ๆ องค์กรที่ทำงานเพื่อสิทธิและการศึกษาของเด็กหญิงทั่วโลก ซึ่งเป็นการยืนยันถึงความสำคัญของการให้โอกาสเท่าเทียมแก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง ที่มีศักยภาพและความฝันที่สามารถทำให้โลกนี้ดีขึ้นได้ “มาลาล่า ยูซอฟไซ”
เขียนโดย : เดซี่สีขาว
โฆษณา