5 มี.ค. เวลา 05:30

เก็บเงินมาหลายปี โดนหลอกคุย 2 นาที ดูดเงินหมดบัญชีได้จริงหรือ?

ไขข้อข้องใจ กลโกงของมิจฉาชีพยุคใหม่กับความกังวลใจของประชาชน
เมื่อเงินที่เก็บมาหลายปี โดนหลอกคุยแค่ 2 นาทีกลับโดนดูดไปจนหมดบัญชีได้จริงหรือ?
1
ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนคงจะเคยเห็นข่าวของผู้เสียหายหรือสื่อออนไลน์ที่ออกมาเตือนกลโกงของมิจฉาชีพยุคใหม่ ที่สามารถดูดเงินในบัญชีจนหมดได้เพียงแค่การคุยทางโทรศัพท์เพียง 2 นาทีเท่านั้น โดยที่ไม่ต้องกดลิงก์หรือติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ จนทำให้ผู้ใช้งานในโลกออนไลน์ต่างพากันตื่นตระหนกและสงสัยว่า “แค่การคุยโทรศัพท์ จะทำให้เงินถูกดูดออกจากบัญชีได้จริงหรือไม่”
2
ซึ่งประเด็นนี้ทางศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) ภายใต้สมาคมธนาคารไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็มีการออกคำแถลงการณ์ว่า “มิจฉาชีพไม่สามารถดูดเงินออกไปจากบัญชีของเราได้ เพียงแค่การรับโทรศัพท์ หรือการกดลิงก์เพียงอย่างเดียว” แต่การคุยโทรศัพท์กับมิจฉาชีพก็เป็นการเปิดโอกาสให้มิจฉาชีพหลอกลวง จูงใจ สอบถามข้อมูล รวมถึงนำลักษณะบางอย่างของเรา (Identity) ไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายได้
5
คุยกับมิจฉาชีพ เปิดโอกาส “เป็นเหยื่อ” อย่างไรบ้าง?
แม้ว่าในทางเทคนิคแล้ว การคุยโทรศัพท์เพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถดูดเงินออกจากบัญชีของเราได้ แต่การคุยกับมิจฉาชีพก็เป็นการเปิดโอกาสในการเป็นเหยื่อและทำให้มิจฉาชีพได้โอกาสในการเอาเปรียบเราได้ อย่างเช่น
2
[  ] โน้มน้าว จูงใจให้เราโอนเงินให้
[  ] หลอกถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เช่นการหลอกถามรหัสผ่านเพื่อเข้าถึงบัญชีธนาคารในแอป เป็นต้น
[  ] การจูงใจให้เราติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่ถูกเขียนโปรแกรมขึ้นมาโดยมิจฉาชีพ
[  ] การชวนคุยเพื่อนำเอาเสียงของเราไปปลอมแปลงผ่านแอปพลิเคชัน AI แล้วนำไปหลอกลวงคนรู้จักให้โอนเงิน
1
ซึ่งจุดที่น่าสังเกตคือ มิจฉาชีพจะไม่สามารถเอาเงินออกไปจากการพูดคุยเฉยๆ แต่ต้องมี “การกระทำ” บางอย่างที่เอื้อให้มิจฉาชีพนั้นฉวยโอกาสโจรกรรมเงินหรือข้อมูลของเราไป หากเราไม่อนุญาตด้วยการไม่เปิดเผยข้อมูล ไม่พูดคุยกับมิจฉาชีพ ก็จะเป็นการป้องกันตัวเองได้
ควรป้องกันตัวเองอย่างไร ไม่ให้เงินเก็บหายไปจากมิจฉาชีพ
ยุคนี้เป็นยุคที่มีเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยให้การหลอกลวงและโจรกรรมเป็นเรื่องที่สมจริงมากขึ้น และเทคโนโลยีเหล่านี้ก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้มีเทคนิคใหม่ที่หลอกลวงประชาชนได้ โดยที่ตัวเราเองก็ไม่สามารถตามกลเม็ดเหล่านั้นได้ทัน ซึ่งสิ่งที่จะป้องกันตัวเราจากกลโกงของมิจฉาชีพที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วได้ดีที่สุดก็คือ “การปิดโอกาสของมิจฉาชีพ” ด้วยการไม่รับสาย ไม่พูดคุยกับสายที่สงสัยว่าจะเป็นมิจฉาชีพ
3
[  ] ค้นหาเบอร์แปลกที่โทรเข้ามา หรืออาจจะเช็กในแอปพลิเคชันระบุหมายเลขที่ไม่รู้จักเช่น whoscall ที่มักจะมีผู้ใช้งานมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเบอร์นั้นๆ
[  ] ทำการปิดกั้นสายที่สงสัยว่าจะเป็นมิจฉาชีพ
[  ] ไม่ติดตั้งแอปพลิเคชันหรือกดลิงก์แปลกที่มิจฉาชีพส่งให้ทางข้อความ
[  ] หากพลาดติดตั้งแอปพลิเคชัน ให้ระวังการสแกนใบหน้าผ่านทางแอปนั้น
4
[  ] ไม่ตั้งรหัสผ่านในการเข้าสู่ระบบเว็บไซต์หรือแอปต่างๆ ซ้ำกับ Mobile Banking 
[  ] หากมีสายหรือข้อความจากหน่วยงานรัฐมาพูดคุยให้เราเพิ่มบัญชี Line Account เพื่อพูดคุย ควรสังเกตโล่หน้า Line account ที่ควรมีสีเขียวหรือน้ำเงินเข้มเท่านั้น
[  ] หากมีหน่วยงานที่ติดต่อเรามา ควรทำการตรวจสอบด้วยการโทรกลับไปยังเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานที่ถูกแอบอ้างด้วยตัวเอง
[  ] ที่สำคัญคือ ไม่คุยกับมิจฉาชีพ ไม่ให้ข้อมูล เพื่อลดโอกาสในการถูกจูงใจหรือฉวยโอกาส
4
ต้องยอมรับว่ามิจฉาชีพในยุคสมัยนี้ก็มีความน่ากังวลที่สามารถนำเอาเทคโนโลยีมาหลอกลวงเราได้ แต่อย่างไรก็ตาม “เงินเราในบัญชีก็เป็นของเราเสมอ” ดังนั้น เราจึงควรเก็บรักษาข้อมูลลับของตัวเองให้ดี ไม่เปิดโอกาสให้มิจฉาชีพมีช่องว่างในการได้รับข้อมูลหรือแม้กระทั่งการอนุญาตด้วยตัวเราเอง และอย่าลืมว่าควรมี “สติ” ในการใช้ชีวิตเสมอ อย่าประมาทและอย่าตื่นตระหนกจนเกินไป ก็เป็นวิธีที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เราอยู่รอดในยุคที่น่ากลัวนี้ได้
2
อ้างอิง
- เปิดวิธีป้องกันมิจฉาชีพโทรดูดเงิน : Mcot - https://bit.ly/3ImT77G 
- ไม่จริง ! หลอกคุย 2 นาที ดูดเงินหมดบัญชี : ThaiPBS - https://bit.ly/3Ipp1Ap
1
#trend
#Scammers
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
โฆษณา