5 มี.ค. เวลา 15:20 • นิยาย เรื่องสั้น

คันศร ฆ้อน สิ่ว: ตอน คนฉลาดกผู้ล้มเหลว

"เขา" เป็นคนฉลาด เก่ง ความประพฤติดี สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของทั้งเมืองไทยและทั้งของโลก ที่ซึ่งผู้มีปัญญา ยศ และทรัพย์ทั้งหลายสมาคมกันอยู่ จากหลังสำเร็จการศึกษาเขาได้เข้าทำงานในบริษัทชั้นนำของโลก ในตำแหน่งอันดีเยี่ยม ได้ค่าตอบแทนอย่างงาม ทั้งชีวิตและการงานของเขาเป็นสิ่งที่มนุษย์ควรเรียกว่า "ไร้ที่ติ"
แต่ การไร้ที่ติย่อมไม่มีอยู่ในโลก ดังนั้น คนรอบข้างของเขาจึงกล่าวอยู่เนือง ๆ ด้วยถ้อยคำเหล่านี้ว่า "แม้เขาชาญฉลาดเห็นปานนี้แต่ก็เพียงรับจ้างเขากินอยู่ดี" บ้างก็ว่า "เขาคือคนเขลา เป็นหมากให้คนอื่น รับใช้นายทุน" และถ้อยคำอื่น ๆ อีกต่าง ๆ นา ๆ เขาได้รับความเจ็บแสบและมีใจอันเหี่ยวแห้งเมื่อได้ฟังถ้อยคำเหล่านั้น แต่ก็คงอดกลั้นไว้!
แต่เมื่อคำพูดเหล่านั้นสะสมอยู่ในตัวของเขานาน ๆ และไม่มีทางระบายออกมา เหมือนภาชนะที่ใช้รองน้ำฝนในฤดูฝนหลากฉะนั้น ย่อมเอ่อท้นล้นออกในที่สุด ด้วยเหตุนี้ เขาจึงตัดสินใจในวันหนึ่งว่า "มาเราจะปลดเปลื้องถ้อยคำเหล่านี้" แล้วตัดสินใจลาออกจากงานที่ทำ
กิจที่ชื่อว่า ผู้ประกอบการ ๆ หรือคำที่เรียกว่า เจ้าของกิจการ ๆ เหล่านั้น เขาได้เป็นแล้ว และกิจการอันใดที่เขาได้ประกอบนั้น กิจการอันนั้นก็ได้ล้มละลายลงแล้ว ดังนั้นคำว่า ล้มเหลว ๆ เขาก็ได้เป็นอยู่แล้วด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนั้น ในตอนนี้ เขาจึงได้กลายเป็นผู้มีร่างกายซูบผอม แก้มตอบ คอตก แววตาอ่อนล้าไร้เรี่ยวแรง เดินมา ๆ ไป ๆ ตามท้องถนนอยู่ เหมือน ๆ กับหนุ่มสาวและอีกหลาย ๆ คนที่เป้นอยุ่ในเมืองหลวงของเราในขณะนี้
ครั้นแล้ว เขาก็เดินผ่านมายังย่างอันเป็นที่นั่งสนทนากันของ "คันศร" "ฆ้อน" และ "สิ่ว" (ซึ่งเขาก็เคยเดินผ่านทางนี้อยู่แล้วเป็นประจำเมื่อตอนที่เขายังมีงานทำ) สามสหายผู้มากด้วยความสงสัยและช่างเจรจา เมื่อเห็นเขาเดินมาแต่ไกล ๆ คันศร (ผู้ดูจะมีสายตาที่ดีกว่าทุกคนในคณะนั้น หรือไม่ก็เขาเป็นคนที่ชอบทอดสายตอออกไปสู่โลกภายนอกอยู่เสมอ ๆ) จึงเอ่ยกะสหายของเขาขึ้นว่า
"นี่แน่ะสหาย! ดูสิ ชายผู้นั้น เคยเดินผ่านย่านของเราเป็นประจำ ๆ ก่อนหน้านี้เขาเคยเดินผ่านพวกเราไปด้วยสิริโสภาคย์ดุจพระจันทร์วันเพ็ญ มาบัดนี้ เขาเดินมาทางเราด้วยอาการไหล่ห่อ คอตก แก้มตอบ แววตาเลื่อนลอย อับเฉาอยู่ เหมือนผักกาดที่ไม่ได้รับการรดน้ำฉะนั้น ท่านคิดว่าความน่าอัศจรรย์อันใดจะเกิดขึ้นกับเขากันหนอ?"
"เหตุอะไรคงมี?" ฆ้อนเปรยขึ้นมารับคำ
"ท่านผู้มีตาออกไปภายนอก" สิ่วสอดขึ้นในระหว่างสหายของเขา "เมื่อท่านตั้งธุระขึ้นแล้ว การวางธุระย่อมเป็นกิจของท่าน เมื่อเขาเดินเข้ามาใกล้แล้ว ท่านพึงถาม เผื่อเขาอาจตอบ!"
"เออสิ! สหาย" คันศรเห้นด้วยกับความเห็นนั้น "เมื่อเขาเข้ามาใกล้แล้วข้าพเจ้าจะถาม"
ครั้นเมื่อ คนล้มเหลวเดินใกล้เข้ามาอยู่ในระยะที่พอให้ส่งเสียงสื่อสารกันได้จริง คันศร ซึ่งจ้องเขาอยู่แล้วตั้งแต่แรก จึงเอ่ยทักทายเขาขึ้นว่า
"นี่สหาย! สบายดีหรือ! เป็นอะไรท่านจึงเป็นผู้มีแก้มตอบ คอตก เหี่ยวเฉาแล้ว เดินมาอยู่อย่างนั้น?"
"โอ้... ใช้..... เพื่อน...." เขาตอบรับคำทักทายอย่างเลื่อนลอย ก่อนที่จะพูดอย่างได้สติขึ้นว่า "เรารู้จักกันหรือ?" คันศรจึงได้บอกความเป็นผู้มีตาออกไปภายนอกของตนให้เขาฟัง แล้วเขาก็ได้เล่าเรื่องราวของตนให้ทั้งคันศร ฆ้อน และสิ่ว สามสหายได้ฟังอย่างถ้วนถี่
"นี่เพื่อน!" สิ่วถามสอดขึ้นมาทันใดเมื่อเขาเล่าจบ "ท่านเป็นบุตรของมหาเศรษฐีหรือ?"
"เปล่า" เขาตอบ
"หรือท่านเป็นบุตรตของขุนนาง" สิ่วถามต่อ
"ไม่ใช่อีก ข้าพเจ้าเป็นบุตรของคนชั้นปานกลาง ๆ"
สิ่วทำสีหน้าฉงนใหญ่เมื่อได้ฟังคำตอบคำถาม แล้วค่อยแปรเปลี่ยนเป็นสีหน้าเรียบเฉย แต่ยังไม่วางใจนัก จึงส่งคำถามไปอีกว่า
"ท่านสำคัญว่า ปัญญาอย่างเดียว ถึงความเป็นใหญ่แห่งโลกได้หรือ?"
ราวกะถูกจี้ใจดำ ผู้ล้มเหลวของเราสลดแล้ว เขายอมรับทั้งโดยอาการและต่อมาโดยคำพูด
"ใช่ ข้าพเจา้คิดอย่างนั้น" เขาพูดทั้งที่ก้มหน้ามองพื้น
"มาข้าพเจ้าจะเปรียบอะไรให้ท่านฟัง" สิ่วปลอบใจเขาแล้วพูดกับต่อ "ท่านจะคิดว่าไม้ขีดไฟก้านนึงกะตะเกียงเจ้าพายุ อันไหนจะสว่างกว่ากัน?"
เขางุนงงเล็กน้อย แต่ก้ตอบออกไปว่า "ตะเกียงเจ้าพายุสิท่าน!"
"แต่ถ้าเป็นตะเกียงเจ้าพายุที่ยังไม่ถูกจุดไฟล่ะ" สิ่วถามต่อ เขายิ่งงุนงงขึ้นไปใหญ่ แต่ก็ยอมตอบว่า
"ถ้าเช่นนั้นก็ไม้ขีดไฟ"
"ดีล่ะ ๆ" สิ่วได้ทีรีบรุก "ถ้าเช่นนั้น แล้วท่านจะคิดว่า ระหว่างไม้ขีดไฟหนึ่งก้านกับตะเกียงเจ้าพายุอันไหนจะสว่างนานกว่ากัน"
 
ล้มเหลวยิ้มแป้น เริ่มสนุกกับคำถามของสิ่ว "ตะเกียงเจ้าพายุ!" เขาตอบ
"ใช่แล้ว!" สิ่วรับคำ แล้วถามต่อว่า "แล้วท่านคิดว่าตนเองเป็นอะไร?"
คำถามนี้เหมือนจี้ใจดำของชายผู้ล้มเหลวอีกครั้ง เขาแสดงสีหน้าเหมือนมีการต่อสู้อยู่อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นค่อยมีรอยยิ้มออกมา
"ก้านไม่ขีดไฟ!" เขาตอบ
ราวกะจะกระโดดโลดเต้น คนล้มเหลวของเรายิ้มออกแล้ว เขาขอบใจสามสหมายยกใหญ่ แล้วก็เดินจากไป แต่ก่อนจะเดินจากไปสิ่วไม่วายถามเขาก่อนว่า
"ท่านรู้สิ่งที่ควรทำแล้วหรือ?"
"อื้ม!" เขาตอบด้วยรอยยิ้ม
"ท่านรู้สิ่งที่ควรทำอย่างไร?" สิ่วถามต่อ
"ผมจะกลับไปหางานทำ" เขาตอบด้วยสีหน้าที่สดชื่นและพูดต่อว่า
"ผมรู้ว่าที่ไหนจะรับผม" วรรคสุดท้ายนี้ดูเขาพูดด้วยแววตาที่มุ่งมั่นและเอาจริงเอาจัง ต่างจากคนเมื่อครู่อย่างเป็นคนละคน
เขาหันมาโบกมือบอกลาทั้งคันศร ฆ้อน และสิ่ว ทั้ง ๆ ที่เดินไกลไปเกือบจะถึงหัวมุมถนน แล้วก็หายลับเข้าไปในดงของผู้คน คันศรจ้องมองดูเขาจนลับสายตา แล้วค่อยหันมาถามกับสิ่วเอาว่า
"เมื่อครู่นี้ท่านบอกอะไรกับเขาไป?"
"เขาทระนงตน" สิ่วตอบเพียงเท่านั้น และไม่พูดอะไรอีก
คันศรคล้ายจะเข้าใจอะไรบางอย่างในคำพูดนั้น เขาจึงขับโคลงบทหนึ่งขึ้นมาซึ่งมีใจความว่า
สุริยันต์จันทรามีราหูเป็นคราส
มนุษย์มีมานะเป็นคราส
ขนาดผู้มีปัญญายังไม่พ้นคราสนั้นไปได้
คนโง่ จะเหลืออะไร
.
สุริยันต์จันทรามีราหูเป็นคราส
มนุษย์มีมานะเป็นคราส
สุริยันต์จันทราพ้นราหูไปแล้วย่อมสดใส
เหมือนชายผู้ละทิ้งความถือดีในตนไปได้แล้วนี้ ฉะนั้น
จบ.
โฆษณา