10 มี.ค. เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์

“หาเงินเก่ง..แต่เก็บเงินไม่อยู่” ใช้สูตรจัดการบัญชีให้เป็นสัดส่วน จากนักการเงินระดับโลก

“หาเงินเก่ง..แต่เก็บเงินไม่อยู่” เป็นปัญหาสำหรับใครหลายคน เมื่อเวลาได้เงินมาก็อยากจะแบ่งเงินเป็นส่วน ๆ แต่ปัญหาก็คือไม่รู้จะแบ่งยังไงดี? หรือแบ่งแล้วก็ยังใช้หมด หมุนเงินส่วนอื่นมาโปะมั่วไปหมดทุกที วันนี้ aomMONEY มีทริกเด็ดที่ง่ายที่สุดสำหรับมนุษย์เงินเดือนหรือผู้มีรายได้ประจำ ของนักการเงินระดับโลก T-Harv Eker มาดูกัน
➡️1. บัญชีเพื่อการใช้จ่าย
เพื่อจำกัดรายจ่ายประจำที่ทุกคนต้องมีและรู้ตัวเลขค่าใช้จ่ายดี แต่ละคนแต่ละบ้านก็ไม่เท่ากัน แต่ที่แนะนำคือ ไม่ควรเกิน 60% ของรายรับ และ “ห้ามใช้เกินกว่าที่กำหนดไว้เด็ดขาด” ข้อดีการการกันเงินมาใส่ในบัญชีค่าใช้จ่ายประจำ จะทำให้เราจัดสรรและบริหารเงินส่วนตัวได้ดีขึ้น ที่สำคัญคือเราจะรู้ได้ทันทีว่า แต่ละเดือนมีเงินเหลือสำหรับการออม ใช้จ่าย หรือลงทุนอะไรต่อได้บ้าง
➡️2. บัญชีเงินออม
สิ่งแรกที่ควรต้องทำก่อนการหักเงินออกมาเพื่อใช้จ่าย คือการหักเงินออมอกมาก่อน เพื่อสร้างความมั่นคงและป้องกันปัญหาความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต กรณีมีรายจ่ายประจำปีเมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้ก็จะมีเงินพร้อมสำหรับใช้จ่ายได้ทันที หรืออาจเป็นเงินที่ในแผนการเก็บระยะยาวได้ด้วย เช่น ค่างานแต่ง, ค่าดาวน์บ้านใหม่ เป็นต้น
➡️3. บัญชีเงินสำรองฉุกเฉิน
ทุกคนควรมีเงินเผื่อฉุกเฉินขั้นต่ำ 3-6 เท่าของรายได้/เดือน เช่น มีเงินเดือน 10000 บาท ควรต้องมี เงินเผื่อฉุกเฉิน 30000 - 60000 บาทครับ เพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ชีวิตมีปัญหา เช่น ค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่ไม่สามารถเบิกได้, ค่าซ่อมรถ, ซ่อมแซมหรือต่อเติมบ้าน ซึ่งเงินส่วนนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ควรนำออกมาใช้เด็ดขาดหากไม่จำเป็นเหมือนกัน
➡️4. บัญชีเพื่ออิสรภาพการเงิน
ทำได้หลายวิธี เช่น ทำประกัน, การซื้อกองทุนรวม, กองทุน RMF เป็นต้น เพื่ออนาคตระยะยาวหลังวัยเกษียณ
➡️5. บัญชีเพื่อการศึกษา
สำหรับต่อยอดความรู้ การศึกษาเป็นทรัพย์สินตัวเองในอนาคต เงินที่ว่านี้อาจใช้ไปกับการซื้อหนังสือ, เก็บไว้สำหรับคอร์สอบรมเพิ่มทักษะ หรือสะสมสำหรับเรียนต่อในอนาคต ฯลฯ
➡️6. บัญชีรางวัลชีวิตหรือของที่ต้องการ
ควรแยกบัญชีสำหรับซื้อของที่อยากได้หรือเพื่อท่องเที่ยว/พักผ่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศ แยกต่างหากจากบัญชีเงินออม (ที่ไม่ใช่ของจำเป็นในชีวิตประจำวัน) เพราะทำให้เรารู้แล้วว่าตอนนี้เก็บเงินได้เท่าไหร่แล้ว คิดเป็นกี่เปอร์เซนของราคาของที่เราอยากได้ โดยเงินส่วนนี้ เป็น priority ที่รองจากเงินที่หักค่าใช้จ่ายและเงินออมไว้แล้วเมื่อเหลือจึงมาสะสมไว้ในบัญชีนี้ครับ
➡️7. บัญชีเพื่อสังคม 5%
เพื่อการบริจาคหรือให้การกุศลต่าง ๆ (เช่น ซองกฐินจากเพื่อนร่วมงาน 55) หลายคนคิดว่า การให้จะทำให้เราจนลง ในความเป้นจริงแล้วการให้ทำให้เราตัดทอนสิ่งที่เราไม่ใช้ออกไป ใจกว้างขึ้นได้เรียนรู้ถึงการเป็นผู้ให้และการแบ่งปันเพื่อคนอื่นบ้าง ที่สำคัญการบริจาคยังเอามาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
➡️8. บัญชีเครดิตการ์ด
เพิ่มขึ้นมาพิเศษกว่าการแบ่งบัญชีเงินตามหลักการทั่วไป เพื่อคนเก็บเงินไม่อยู่โดยเฉพาะ คือการแบ่งบัญชีสำหรับการใช้มีบัตรเครดิต ที่อยากให้ทุกครั้งที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ก็โอนเงินจากบัญชีเพื่อการใช้จ่ายไปใส่ไว้ในบัญชีบัตรเครดิต เพื่อให้เราไม่ใช้จ่ายเงินเกินตัว เมื่อถึงกำหนดจ่ายบัตร ก็นำเงินตรงนี้ไปชำระได้สบาย ๆ ไม่เดือดร้อน ไม่เป็นหนี้บัตรเครดิตแน่นอน
ทุกบัญชีสามารถนำไปปรับเปอร์เซนต์การออมตามรายได้เฉพาะคนได้ เพราะแก่นของการออมไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินหรือรายได้ แต่มันคือต้องเก็บก่อนใช้ต่างหาก และไม่ใช่แค่การแบ่งเงินเป็นส่วน แต่ใช้บัญชีธนาคารให้เป็นประโยชน์และช่วยแบ่งเบาความวุ่นวายเรื่องการแบ่งสรรปันส่วนการเงินด้วย เพื่อให้ชีวิต ไม่ขัดสน มีความสมดุลมากขึ้น
#aomMONEY #Money #การเงิน #ลงทุน #วางแผนการเงิน #ใช้จ่าย #บทเรียนการเงิน
โฆษณา