13 มี.ค. 2024 เวลา 11:00 • การศึกษา

## Episode66: Kinesiology of Sacroiliac joint#11

Sacral axis##
.
การเคลื่อนไหวของsacrumต่อiliumมีการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนกว่าตำแหน่งอื่นๆ ในบทความก่อนๆผมได้พูดถึงการเคลื่อนไหวที่เกิดเป็นbillateral motion ทั้งnutationและcounter-nutationกันไปแล้ว แต่sacrumยังสามารถเคลื่อนไหวในทิศทางของการหมุน(sacral torsion)ได้ผ่านการเคลื่อนไหวรอบแกนสมมติ(sacral axis) ในบทความนี้ผมจะมาพูดถึงรายละเอียดในส่วนนี้กันครับ
การเคลื่อนไหวของsacrumจะเกิดขึ้นรอบแกนการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นแกนสมมติ เราเรียกแกนการเคลื่อนไหวนี้ว่า “sacral axis”
.
sacral axis จะมีอยู่ด้วยกัน6แกนคือ
-Superior transverse axis
-Middle transverse axis
-Inferior transverse axis
-Left oblique axis
-Right oblique axis
-Vertical axis
แกนแรกที่มีความสำคัญคือ middle transverse axis(MTA)เพราะปัญหาsacral dysfunction(flexed/extended sacrum)ที่เราพบได้บ่อยๆจะเกิดรอบแกนนี้ ส่วนแกนที่มีความสำคัญกับการบิดหมุนของsacrumคือแกนในแนวเฉียง หรือ “oblique axis”ครับ
.
ตำแหน่งของแกนoblique axisเราจะแบ่งเป็น2ข้างคือ right oblique axisจะวางตัวผ่านright sacral baseเฉียงลงไปผ่านleft inferolateral angle(ILA) ในขณะที่ left oblique axisจะตรงข้ามกันคือวางตัวผ่านleft sacral baseเฉียงลงไปผ่านright inferolateral angleครับ
การเคลื่อนไหวรอบแกนoblique axisนี้ เราจะแบ่งง่ายๆเป็น2แบบใหญ่ๆคือphysiological motion(anterior motion fixation/nutation) กับ non-physiological motion(posterior motion fixation/counter-nutation)
.
ก่อนที่จะไปพูดถึงsacral torsion ถ้าพูดถึงsacrumในneutral position เราจะสามารถpalpateตำแหน่งของsacral baseและinferolateral angleของข้างซ้ายกับขวาได้ในระดับเดียวกัน เราจะใช้landmark2ตำแหน่งนี้ในการแบ่งประเภทของการบิดหมุนครับ
สำหรับPhysiological motion จะมีอยู่2รูปแบบคือ
Left-on-Left(L-on-L) sacrum torsion จะหมายถึงsacrum หมุนไปทางด้านซ้าย รอบแกนleft oblique axis ดังนั้นเวลาที่เราpalpateที่sacrum เราจะพบว่าsacral baseข้างขวาจะอยู่ลึกกว่าด้านซ้าย ส่วนILAข้างซ้ายจะอยู่ตื้นกว่าด้านขวา
อีกรูปแบบหนึ่งคือ Right-on-Right(R-on-R) sacrum torsion จะหมายถึงsacrum หมุนไปทางด้านขวา รอบแกนright oblique axis ดังนั้นเวลาที่เราpalpateที่sacrum เราจะพบว่าsacral baseข้างซ้ายจะอยู่ลึกกว่าด้านขวา ส่วนILAข้างขวาจะอยู่ตื้นกว่าด้านซ้ายครับ
physiological motionของsacrumเป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเป็นปกติของsacrumเวลาที่มีunilateral movementของlower limb เวลาที่เราเห็นคำว่าL-on-LหรือR-on-R อาจจะหมายถึงการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นแบบที่ได้อธิบายไป แต่ถ้าพูดถึงความผิดปกติ(sacral dysfunction)จะหมายถึงsacrumถูกfixอยู่ในpositionนั้น
เช่นมีปัญหา L-on-L dysfunctional position จะหมายถึงsacrumถูกfixอยู่ในท่าที่sacrum หมุนไปทางซ้ายรอบแกน left oblique axis สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือsacrumก็จะไม่สามารถขยับแบบR-on-R ได้เพราะการเคลื่อนไหวไม่ได้เริ่มจากneutral positionนั่นเอง
สำหรับNon-physiological motion จะเป็นการเคลื่อนไหวที่เป็นunnatural motion ถ้าเราพบความผิดปกติในลักษณะของnon-physiological motionนี้ มักจะพบร่วมกับความผิดปกติของlumbar spine โดยมีแนวโน้มที่จะพบในคนที่lumbar spine flexionร่วมกับมีrotationครับ
Non-physiological motion จะมีการเคลื่อนไหวแบบposterior(backward) torsion ตรงข้ามกับphysiological motionที่จะเป็นการเคลื่อนไหวแบบanterior(forward) torsion โดยจะแบ่งการเคลื่อนไหวได้เป็น2แบบเช่นกันคือ
Left-on-Right(L-on-R) sacral torsion จะหมายถึงsacrum หมุนไปทางด้านซ้าย รอบแกนright oblique axis การเกิดposterior rotationของข้างซ้ายทำให้เวลาที่เราpalpateที่sacrum เราจะพบว่าsacral baseข้างซ้ายจะอยู่ตื้นกว่าด้านขวา ส่วนILAข้างซ้ายก็จะอยู่ตื้นกว่าด้านขวาเช่นกัน
อีกรูปแบบนึงคือ Right-on-Left(R-on-L) sacral torsion จะตรงข้ามกับ L-on-R คือจะเกิดการหมุนไปทางด้านขวา รอบแกนleft oblique axis การเกิดposterior motionของข้างขวา ทำให้เราpalpateทั้งsacral baseและILAของด้านขวาอยู่ตื้นกว่าด้านซ้ายครับ
สำหรับความผิดปกติของnon-physiological motionคือการที่sacrumถูกfixไว้อยู่ในตำแหน่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นL-on-R หรือR-on-Lก็ตาม ความผิดปกตินี้ทำให้sacrumไม่สามารถเคลื่อนไหวในphysiological motionได้(ไม่สามารถnutationได้เพราะถูกfixอยู่ในท่าcounter-nutation) ก็จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในส่วนอื่นตามมาอีกด้วย
.
ในส่วนของการตรวจร่างกายเพื่อบอกความผิดปกติของsacrumนั้น นอกจากการpalpationแล้ว ยังมีการตรวจที่เราเรียกว่าseated flexion testและการตรวจsphinx testเพื่อดูการเคลื่อนไหวของsacrumเพิ่มเติมได้
นอกจากนี้การที่มีsacral dysfunctionในรูปแบบต่างๆยังทำให้มีผลต่อการประเมินความยาวขา ซึ่งเราจะเทียบกันจากระดับของmedial malleolus ความผิดปกติแต่ละแบบอาจจะทำให้เราตรวจเจอว่าระดับของmedial malleolus2ข้างไม่เท่ากัน โดยผมจะสรุปผลการตรวจทั้งจากการpalpation, seated flexion test, sphinx test, leg length มาไว้เป็นตารางเพื่อให้ดูได้ง่ายขึ้นนะครับ
บทความนี้ก็จะเป็นบทความสุดท้ายของเรื่องsacroiliac joint แล้วก็เป็นบทสุดท้ายของเรื่องspineทั้งหมด
.
เนื้อหาในเรื่องของspineเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและเขียนให้เข้าใจได้ยาก ผมเลยพยายามเขียนออกมาโดยที่มีรูปประกอบเพื่อให้เห็นภาพกันได้ง่ายขึ้น หวังว่าทุกคนน่าจะเอาความรู้บางส่วนไปปรับใช้กับงานของตัวเองกันได้ครับ ในบทความต่อไปผมจะเริ่มในเรื่องของkinesiology of the upper extremity ฝากติดตามกันด้วยนะครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
#Sacroiliacjoint
#lumbopelvic
#kinesiology
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่ https://physioupskill.com/บทความ/ หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่ https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/ ได้เลยครับ
Ref.
Ref.
Gibbons, J. (2017). Functional anatomy of the pelvis and the sacroiliac joint: A Practical Guide. North Atlantic Books.
โฆษณา