โดยเฉพาะปัญหาทางด้านอาชญากรรมไซเบอร์และการก่อการร้ายด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ที่ถูกหยิบมาพัฒนาด้านอาวุธแบบนี้ นั่นจึงทำให้รัฐต้องจัดตั้งองค์กรเชิงรุกที่ต้องเปี่ยมด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง แกร่ง รุนแรง รวดเร็ว และเด็ดขาด ซึ่งนั่นก็คือ “หน่วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนก9” โดยมี “พันตรี คุซานางิ โมโตโกะ” เป็นผู้บัญชาการหญิงสุดแกร่ง ที่จะคอยรับมือทุกอาชญากรรมเทคโนโลยีแห่งโลกในปี 2029 ใน “THE GHOST IN THE SHELL”
หาก AKIRA ของ อ.Katsuhiro Otomo คือ งานแนว Cyberpunk ที่พูดถึงโลกหลังสงครามในอนาคตแล้วละก็ “THE GHOST IN THE SHELL” ของ อ. Shirow Masamune ก็คืองานแนว Cyberpunk ที่พูดถึงโลกแห่งอนาคตอันรุ่งเรือง เต็มไปด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งมาพร้อมกับปัญหามากมายของมนุษย์ นั่นคือสิ่งที่ผมคิด ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเมื่อผมนึกถึงเรื่อง AKIRA
ผมก็มักจะนึกถึงเรื่อง THE GHOST IN THE SHELL ด้วยกันอยู่เสมอ ทั้งเป็นนักเขียนในช่วงยุคเดียวกัน เนื้อหาที่เขียนเรื่องราวในอนาคตเหมือนกัน ผลงานก็ได้รับการยกย่องรวมถึงถูกหยิบไปสร้างสรรค์ต่อยอดในหลายๆผลงานทั่วโลกและแน่นอนครับ ทั้งสองคนคือนักเขียนมังงะชั้นครูที่ผมชื่นชอบด้วยเช่นกัน
ด้วยเรื่องย่อที่กล่าวไป “THE GHOST IN THE SHELL” จะนำเสนอเรื่องราวการทำภารกิจต่อต้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหลายรูปหลากหลายรูปแบบ เราจะได้เห็นอาวุธยุทโธปกรณ์ไฮเทคแปลกๆใหม่ๆมากมาย ในโลกที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี แน่นอนในฐานะคนในยุค 2000 มันมีอะไรหลายๆอย่างที่เมื่ออ่านแล้วเราคุ้นเคยและเข้าใจ เพราะเทคโนโลยีปัจจุบันมันก้าวมาถึงยุค AI แล้ว แต่สิ่งต่างๆที่อยู่ในเรื่องราวนี้ก็ยังล้ำและสร้างความตื่นตากับนักอ่านอย่างผมได้เป็นอย่างดี
การเล่นประเด็นกับคำถามคลาสิคของทุกยุคทุกสมัยอย่าง “มนุษย์คืออะไร” และ “วิญญาณคืออะไร” ผ่านเรื่องราวของโลกที่เต็มไปด้วย หุ่นยนต์ ไซบอร์ก เทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบ AI ที่ถูกพัฒนาขึ้นจนทัดเทียมหรือเหนือกว่า “มนุษย์” ที่มีร่างเนื้อตามปกติ คือจุดที่ถูกถกเถียงและหยิบมาพูดถึงอยู่เสมอ ซึ่งล้อกับชื่อเรื่องของมันนั่นคือ THE GHOST IN THE SHEEL นั่นเอง
จริงๆเรื่องนี้ อาจไม่ใช่ลายเส้นที่สวยมากที่สุด แต่การใส่รายละเอียดของโลกแห่งอนาคตและบริบทของ THE GHOST IN THE SHEEL ถือว่าสุดยอดในสายตาผมครับ หลายรูปแบบที่เรื่องนี้พยายามสื่อสารผ่านลายเส้น