14 มี.ค. เวลา 13:59 • การเมือง

SIPRI เปิดเผยข้อมูลสัดส่วน "การนำเข้า-ส่งออกอาวุธ" ทั่วโลก ประจำปี 2023

มันบ่งบอกอะไรเราได้บ้าง
สถาบันวิจัยด้านสันติภาพแห่งสตอกโฮล์ม (SIPRI) ปกติเผยแพร่บทวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับทางด้านสันติเป็นประจำทุกปี เช่นกันในปีที่ผ่านมา 2023 พวกเขาในที่สุดก็ได้เผยแพร่บทความวิจัยเรื่องสัดส่วนการส่งออกและนำเข้าอาวุธในแต่ละประเทศทั่วโลกเป็นไฟล์ PDF บนเว็บไซต์ (อ้างอิงได้ที่แหล่งข้อมูลอ้างอิงด้านใต้ของบทความนี้) - อ้างอิง: [1]
ทางเพจขอสรุปเป็นข้อมูลที่น่าสนใจตามนี้ (ตารางด้านล่างนี้ใช้สำหรับเป็นข้อมูลอ้างอิงหลักในบทความนี้)
  • ภาคการส่งออกอาวุธ
1
ตารางสถิติการส่งออกอาวุธ ที่มาภาพ: SIPRI
  • รัสเซีย
อย่างที่คาดไม่ยากสัดส่วนส่งออกอาวุธลดลงบ้าง เพราะต้องส่งไปใช้ที่แนวหน้านั่นเอง และยังมีส่วนที่ต้องนำเข้าเพิ่มจากพันธมิตรด้วยเช่นกัน เมื่อเทียบช่วงปีล่าสุดคือ 2019-2023 กับปี 2014-2018 การส่งออกอาวุธของรัสเซียลดลง 53% แต่ถ้าเทียบปี 2022-2023 (ตั้งแต่เริ่มเกิดสงครามใหญ่ในยูเครน) กับปี 2020-2021 สัดส่วนมันน่าจะลดลงมากกว่านี้อีก เพราะต้องเก็บไว้ใช้เอง
1
จากข้อมูลช่วงปีล่าสุด “รัสเซีย” ยังคงเป็นผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่อันดับสามของโลก (สัดส่วน 11%) รองจาก “สหรัฐอเมริกา” (42%) และ “ฝรั่งเศส” (11% เท่ารัสเซีย แต่เมื่อเทียบกับช่วงปีก่อนหน้ามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่ลดลง)
สำหรับสัดส่วนส่งออก 11% ของรัสเซียเป็นช่วง 4 ปี (2019-2023) ถ้าตั้งข้อสมมติฐานเอาเฉพาะช่วงที่สงครามยูเครนเกิดคือ 2022-2023 ขอคาดว่าน่าจะอยู่ราวครึ่งหนึ่งหรือ 5.5% ตัวเลขนี้มันก็ยังเป็นส่วนแบ่งที่เกือบจะเท่ากับ “จีน” ซึ่งครองอันดับที่สี่ (5.8%) และมากกว่าส่วนแบ่งของ “อังกฤษ” หรือ “เกาหลีใต้” อย่างมีนัยสำคัญ
  • สหรัฐอเมริกา-ฝรั่งเศส-อิตาลี
เมื่อเทียบช่วงปีล่าสุดคือ 2019-2023 กับปี 2014-2018 อเมริกามีสัดส่วนส่งออกเพิ่มขึ้นที่ 17% ส่วนฝรั่งเศสนั้นเพิ่มอย่างมากคือ +47% ส่วนอีกประเทศในยุโรปตะวันตกที่มีการส่งออกอาวุธเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญไม่น่าเชื่อคือ “อิตาลี” คือ +86% (แต่ถ้ามองเป็นจำนวนจริงๆ ไม่เยอะ เมื่อเทียบกับเจ้าใหญ่สามอันดับแรก) แต่ต้องอย่าลืมว่าสามประเทศนี้มีส่งอาวุธเข้าไปช่วยทางยูเครนเยอะด้วยเช่นกัน
สำหรับอิตาลีที่ส่งออกอาวุธและยุทธภัณฑ์เพิ่มในสัดส่วนที่เยอะ ผู้รับอันดับต้นๆของพวกเขาคือประเทศแถบตะวันออกกลาง (ส่งข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน)
  • เยอรมนี-อังกฤษ-สเปน
ส่วนเยอรมนีสัดส่วนลดลง -14% อังกฤษก็เท่ากัน -14% ส่วนสเปน -3.3% มันอาจตีความได้ว่าคลังแสงในประเทศยุโรปตะวันตกเหล่านี้ร่อยหรอ เติมไม่ทัน ต้องเก็บไว้เพื่อส่งไปช่วยยูเครนนั่นเอง
  • จีน-เกาหลีใต้
การส่งออกอาวุธของ “จีน” ลดลง -5.3% แม้ว่าขณะนี้จีนไม่ได้กำลังทำสงครามใดๆ อยู่ก็ตาม สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนกำลังเติมอาวุธในคลังแสงอย่างเงียบๆ เพื่อรอปฏิบัติการต่อไต้หวันอยู่หรือไม่
นอกจากนี้ยังระบุได้จากการส่งออกของ “เกาหลีใต้” ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึง +12% ถ้าตามข่าวจะทราบว่าเกาหลีใต้ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้สัญญาขายอาวุธชุดใหญ่ให้กับโปแลนด์ ไว้เตรียมรบกับรัสเซีย?
2
  • ภาคการนำเข้าอาวุธ
ตารางสถิติการนำเข้าอาวุธ ที่มาภาพ: SIPRI
ภาพจะชัดเจนยิ่งขึ้นหากเราดูที่ผู้นำเข้าหลักของผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนในอุตสาหกรรมทางการทหาร สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำในการส่งออกอาวุธระหว่างประเทศมีเพิ่มการนำเข้าอาวุธ +67% ส่วนเกาหลีใต้เพิ่ม +6.5% ส่วนญี่ปุ่นนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก +155% ส่วนออสเตรเลียยังติดอันดับผู้นำเข้าอาวุธในสิบอันดับแรกด้วย (ติดอันดับแปด)
  • ถ้าดูจากตัวเลขนำเข้าอาวุธของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตีความได้ว่ากำลังเสริมกำลังทหารอย่างรวดเร็ว เหตุผลนี้ชัดเจนมากมาจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวันและทะเลจีนใต้ อย่างไรก็ตามชาวจีนเองก็ได้ลดการนำเข้าอาวุธลงถึง -44% สาเหตุหลักมาจากความยุ่งวุ่นวายของศูนย์อุตสาหกรรมการทหารของรัสเซีย เลยไม่ได้มีส่งมาให้จีน (จากตารางด้านบนจะเห็นว่ารัสเซียเป็นผู้ส่งอาวุธหลักเบอร์หนึ่งให้กับจีน)
ที่น่าจับตามองคือ “อินเดีย” สัดส่วนการนำเข้าอาวุธเป็นเบอร์หนึ่งของโลกคิดเป็นประมาณเกือบ 10% (9.8%) ของทั่วทั้งโลก โดยมีอัตราเติบโตอยู่ที่ +4.7%
  • เมื่อพิจารณาจากตารางจะเห็นว่าคนอินเดียเป็นผู้ซื้ออาวุธหลักจากรัสเซีย จึงเห็นได้ชัดว่าอินเดียกำลังเตรียมอาวุธในคลังแสงเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็ยังคงพยายามพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตอาวุธของตนเองต่อไป ความสำเร็จในอวกาศของอินเดียนั้นชัดเจน และนายกรัฐมนตรี “นเรนทรา โมดี” เพิ่งได้ประกาศการนำขีปนาวุธข้ามทวีป Agni-5 “อัคนี-5” มาใช้ โดยเป้าหมายดูแล้วระยะโจมตีคือจุดใดก็ได้ในปากีสถานหรือจีน - อ้างอิง: [2]
เครดิตภาพ: chaukas_bharat
เมื่อดูในตารางนำเข้าอาวุธแล้วสำหรับไทยเราเอง ถือว่ามีสัดส่วนลดลง -30% และเรานำเข้าหลักอาวุธจากจีน (44%) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ (13%) และอันดับสามคืออเมริกา (9.9%)
1
เรียบเรียงโดย Right Style
14th Mar 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Getty Images>
โฆษณา