17 มี.ค. เวลา 06:20 • การเกษตร

ทำไมปลูกพืชโตไม่ดีสักที??

ในการปลูกพืชจำเป็นต้องคำนึงถึงค่า Vapor Pressure Deficit (VPD)
ซึ่งก็คือความต่างของแรงดันภายในใบไม้เมื่อเทียบกับแรงดันภายในอากาศ มีหน่วยเป็น mBar (millibars) หรือ kPa (kilopascals) โดยเฉพาะการปลูกพืชแบบระบบปิด
โดยค่า VPD จะส่งผลกับการคายน้ำ เพราะเมื่อไอน้ำระเหยออกจากใบสู่บรรยากาศจะช่วยทำให้อุณหภูมิเนื้อเยื่อเย็นลงและขณะเดียวกันจะลำเลียงสารอาหารและน้ำที่อยู่ในน้ำให้แก่พืชด้วย
ถ้า VPD ต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์จะสูงส่งผลให้พืชคายน้ำน้อยซึ่งจะไปหยุดการลำเลียงสารอาหารส่งผลให้พืชโตช้า ถ้า VPD ต่ำมาก (ความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 95-100 %) ต้นพืชจะไม่สามารถคายน้ำได้เลย แรงดันภายในจะเพิ่มขึ้น หากรากเปียกด้วยแรงดันภายในรากสูงเมื่อรวมกันก็จะเกิดภาวะแรงดันเกิน ทำให้น้ำถูกดันเป็น
หยดออกจากขอบใบเรียก Guttation
ภาพแสดงการเกิด guttation
ในทางกลับกันถ้า VPD สูง ความชื้นสัมพัทธ์จะต่ำส่งผลให้พืชคายน้ำมาก ต้นพืชเฉา ใบไหม้และอาจทำให้พืชหยุดโตเพราะฉะนั้นอุณหภูมิห้องควรจะมากกว่าอุณหภูมิใบประมาณ 2-3 ֯C โดยสามารถตรวจสอบได้จาก VPD Chart ดังรูปด้านล่าง
ตารางแสดงค่า VPD
ซึ่งสามารถหาค่า VPD ได้จากสมการที่ 2.1 โดยนำค่าอุณหภูมิของใบไปแทนในสมการที่ 2.2 และนำค่าอุณหภูมิของอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ไปแทนในสมการที่ 2.3 แล้วนำมาค่าแรงดันที่ได้มาแทนในสมการที่ 2.1 ซึ่งจะทำให้ได้ค่า VPD เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อได้
สมการคำนวณค่า VPD
Tleaf = อุณหภูมิของใบ (Leaf Temperature) มีหน่วยเป็น องศาเซลเซียส(°C)
Tair = อุณหภูมิของอากาศ (Air Temperature) มีหน่วยเป็น องศาเซลเซียส(°C)
RH = ความชื้นสัมพัทธ์(Relative Humidity) มีหน่วยเป็น %
VPsat = แรงดันในใบไม้มีหน่วยเป็น กิโลปาสคาล(kPa)
VPair = แรงดันในอากาศ มีหน่วยเป็น กิโลปาสคาล(kPa)
VPD = แรงดึงระเหยน้ำอากาศ มีหน่วยเป็น กิโลปาสคาล(kPa)
ดังนั้นหากต้องการให้พืชเจริญเติบโตดีค่า VPD จะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยพืชแต่ละชนิดจะมีค่า VPD ที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตไม่เหมือนกัน และเราสามารถที่จะควบคุมค่า VPD ให้เหมาะสมได้โดยการควบคุมให้อุณหภูมิและความชื้นอยู่ในค่าที่เหมาะสม
แหล่งอ้างอิง
lnwshop, 2563, Vapor Pressure Deficit - คำนี้ลึกซึ้งนัก ความลับผลผลิตสูง
[Online], Available: https://www.growshopthailand.com/article/15/vapor-pressuredeficit-คำนี้ลึกซึ้งนัก-ความลับผลผลิตสูง [1 กันยายน 2566]
โฆษณา