16 มี.ค. เวลา 15:42 • ปรัชญา
อุบลราชธานี

ศาสตร์แห่งการสร้างสมอง

Juggling สร้างสมองสู่พหุปัญญา ๘ ด้าน เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกรายวิชา
มงคล สายดี : ผมมักเชื่อสัญชาตญาณตัวเอง เพราะนั่นคือการกระซิบบอกจากจิตวิญญาณ ว่าเจอคำตอบ แล้ว ถูกต้องแล้ว และเป็นความจริงที่มีประโยชน์
Physical Activity or Physical Education is Knowledge Base (กิจกรรมทางกายหรือพลศึกษาเป็นฐานความรู้) ✍🏻
“ ทุกคนเป็นอัจฉริยะ แต่ถ้าคุณตัดสินปลาจากความสามารถในการปีนต้นไม้มันจะมีชีวิตทั้งชีวิตโดยเชื่อว่ามันโง่ ”
สติปัญญา vs สมองสองซีก
สติปัญญา : สร้างได้ด้วยการศึกษา
สมองสองซีก : พัฒนาได้ด้วยทักษะกลไกของ
พลศึกษา
The Best Practice
  • 1.
    การนั่งสมาธิสามารถเพิ่มเนื้อสมองได้ทุกวัย
  • 2.
    กิจกรรมทักษะกลไกด้านการประสานงานของตาและมือ (Juggling) สามารถเพิ่มเนื้อสมองได้ทุกวัย
เป็นไปได้ไหม ?
ผมมีแนวคิดอยากจะผลักดัน Juggling
ไม่ใช่เพียงกิจกรรมสร้างหรือพัฒนาสมองให้กับทุกวัย
ในประเทศเพียงเท่านั้น อยากจะให้จัดเป็นกีฬา ที่มีคุณค่า
เสนอประเภทแข่งขัน juggling
1. บุคคล ช/ญ
2. คู่ ช/ญ
3. คู่ผสม
4. ทีม ช/ญ. 3 คน
5. ประเภททีม โชว์ไม่เกิน 7 คน. น่าสนุกนะครับ
การแข่งขันการฝึก Juggling
ให้เด็กอายุ 6-12 ขวบ ภายใน 1 สัปดาห์
โยนได้มากสุด ส่ง Clip
เพื่อรับรางวัล ชาย 1 หญิง 1
  • ในปี 2005
(2548) มีงานวิจัยศึกษาพบว่า Juggling ที่เป็นทักษะกลไกในวิชา Motor Learningของพลศึกษาเรื่องการทำงานด้านการประสานงานของมือและตา(ทั้งสองข้าง)ฝึกวันละ 30 นาทีนาน 3 เดือน แล้วทำfMRI scan สมองพบเนื้อสมองสีเทาบริเวณหน้า
ผากเพิ่มขึ้น (ควบคุมด้านความจำ และการตัดสิน ใจ)
  • ในปี 2009
(2552) มีงานวิจัยศึกษาพบว่าการออกกำลังกายตอนเช้าวันละ 35 นาทีก่อนเข้าเรียนนาน 3เดือน "มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกรายวิชา”
  • ในปี 2567
ยังไม่มีใครให้ความสนใจในเรื่องนี้เพราะมุ่งไปที่ทำอย่างไรจะให้เด็กเราพัฒนาแข่งขันกับนานาประเทศได้โดยพยายามจะนำเอาทั้งการเรียนแบบใหม่ต่างๆเข้ามาใช้ ที่มีนักเรียนพัฒนาได้ระดับ ดีมากเพียง 20% (Pareto) ที่ผู้ปกครองมีความพร้อมและเป็นนักเรียน ในเมืองใหญ่
" โดยลืมไปว่าสิ่งแรกก่อนที่จะให้ความรู้ที่ดีและใหม่
ให้กับนักเรียนทั่วประเทศนั้นคือ สมองหรือสติปัญญา
ของนักเรียน ”
การพัฒนาสมองสองซีก สู่การเตรียมความพร้อมของสติปัญญาทั้ง 8 ด้าน มีศาสตร์เดียวเท่านั้นที่จะสามารถพัฒนาเด็ก 10 กว่าล้านคนทั้งประเทศได้ คือ “ศาสตร์แห่งการสร้างสมอง”
“ และในขณะที่ต่างประเทศกำลังให้ความสำคัญ เรื่องความฉลาดทางกาย PL และขยายมากกว่าครึ่งยุโรป ”
ประเทศในเอเชีย เช่น ที่โรงเรียนในประเทศจีนใช้การบูรณาการเข้ากับระบบการเรียนทั้งการส่งเสริมความรู้ ทักษะ และสร้างแรง จูงใจให้เด็กในโรงเรียน มีวัฒนธรรมการมีกิจกรรมทางกายมากมาย
นอกจากนี้หลายประเทศในแอฟริกาเชื่อมโยงความรอบรู้ทางกาย (PL) เข้ากับวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ประจำชาติ ในขณะที่ประเทศออสเตรเลียได้ส่งเสริมความรอบรู้ทางกาย (PL) ผนวกเข้ากับความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) โดย
มีเป้าหมายให้คนรุ่นใหม่มีความรอบรู้ทางกาย (PL) ที่มากขึ้น
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลสถานการณ์ด้านกิจกรรมทางกายของ แต่ในอดีตมีการสำรวจ ย้อนหลัง 3 ปี (ตั้งแต่ปี 2558–2561) เกี่ยวกับ พัฒนาการเด็กอายุ 0–5 ปี ในระดับประเทศพบว่ามีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ล่าช้ากว่าร้อยละ 30
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเด็กไทยก่อนวัยเรียนยังขาดการส่งเสริมด้านการเคลื่อนไหวที่เพียงพอ เนื่องจากเด็กวัยดังกล่าวเป็นวัยที่มีพัฒนาการทางสมองและร่างกายที่รวดเร็วเป็นช่วงแรกแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทยไม่เพียงพอตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก มีเด็กและวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ใช้เวลาว่างจากการเรียนเพื่อทำกิจกรรมทางกาย เพราะมุ่งเน้นแต่เรื่องกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้ผลเพียง 20 ของกฎของพาเรโต 80/20 Pareto ✍🏻
โฆษณา