17 มี.ค. เวลา 14:00 • ธุรกิจ

"Ohitorisama Movement" เทรนด์การใช้ชีวิตยุคใหม่ของคนเลือกโสด

เปิดโอกาสลงทุนทางธุรกิจตอบสนองความสุขใช้เงินดูแลตัวเอง กินเที่ยวอย่างอิสระ
[#Ohitorisama Movement คืออะไร]
ในปัจจุบันนี้ การทำอะไรคนเดียวไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป ถึงขั้นว่าในญี่ปุ่นเทรนด์นี้มีชื่อเรียกเลยว่า “Ohitorisama Movement”
คำว่า ‘Ohitorisama’ Hitori (ฮิโตริ) มีความหมายว่า “คนเดียว” และ Sama มีความหมายว่า คุณ หรือ ท่าน (คำเรียกผู้อื่นอย่างสุภาพ) พอมารวมกันเป็นคำว่า Ohitorisama (おひとりさま) จึงมีความหมายตรงตัวได้ประมาณว่า “คุณคนที่อยู่คนเดียว”
สื่อถึงการออกไปเฉลิมฉลองด้วยตัวคนเดียว คำนี้ก็เริ่มกลายเป็นเทรนด์ในโซเชียลมีเดีย อย่างในอินสตาแกรม ถ้าเราค้นหาคำนี้เป็นภาษาญี่ปุ่นว่า #おひとりさま เราก็จะเจอกับรูปที่ผู้คนมากมายเอามื้ออาหารที่พวกเขากินคนเดียวมาแชร์กันอย่างสนุกสนาน
3
[เทรนด์การใช้ชีวิตตัวคนเดียว แบบ "Super Solo"]
ข้อมูลชุดใหม่จากการสำรวจสำมะโนประชากรในหลายประเทศและฐานข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ในปี 2023 มีประชากรกว่า 2,120 ล้านคนจากทั่วโลกที่ครองตัวเป็นโสด หรือประมาณ 1/4 ของประชากรทั้งหมดเลยทีเดียว
เพิ่มขึ้นจาก 23% ในปี 1985 และคาดว่าจะเติบโตไปเป็น 35% ในปี 2050 อีกด้วย
โดยเหตุผลที่คนเลือกที่จะครองตัวเป็นโสดมีหลากหลายเหตุผลด้วยกัน
- การขยายตัวของสังคมเมือง ทำให้วิถีชีวิตที่วุ่นวายเร่งรีบ
- มุมมองเกี่ยวกับโลกและสังคมเปลี่ยนไป
- ความไม่พร้อมในการมีครอบครัว
- เศรษฐกิจที่ยังรุมเร้า ภาระทางการเงิน
- วัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับตนเอง (Individualization)
- มุ่งมั่นในการทำงาน
- ไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้
- ไม่อยากสร้างภาระในชีวิตเพิ่ม
- ไม่อยากเป็นแม่บ้านหรือภรรยา ที่ต้องรับผิดชอบหน้าที่เลี้ยงดูบุตร ผู้สูงอายุและสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัว (โดยเฉพาะในญี่ปุ่น)
1
- ไม่ได้มองว่าการแต่งงานคือหลักประกันความมั่นคงในชีวิตหรือบรรทัดฐานในการใช้ชีวิตอีกต่อไป
5
เมื่อก่อนเราอาจจะคุ้นชินภาพของสังคมแบบกลุ่มญี่ปุ่นที่ทำอะไรเป็นทีม กลุ่มก้อนเพื่อนสนิทหรือคู่รัก แต่ในปัจจุบันสังคมในหลายประเทศ รวมถึงญี่ปุ่นด้วย มีคนเลือกโสดมากขึ้นด้วยหลากเหตุผลดังที่กล่าวไป จึงมีแนวโน้มที่จะใช้เวลาไปกับกิจกรรมลำพังมากขึ้น
Ohitorisama เองก็เป็นหนึ่งในเทรนด์นี้ ไม่ว่าจะเป็น การรับออกไปประทานอาหารคนเดียว ดื่มที่บาร์คนเดียว และการเข้าร่วมทำกิจกรรมตามลำพัง
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของเทรนด์นี้ก็คือการรับรู้ที่เปลี่ยนไปเกี่ยวกับการทำสิ่งต่างๆ ตามลำพัง สมัยก่อนสังคมโดยรวมอาจจะมองว่าการกินหรือออกไปข้างนอกคนเดียวถือเป็นเรื่องน่าอายหรือผิดปกติ แต่ในปัจจุบันนี้ คนรุ่นใหม่ในญี่ปุ่นเปิดรับแนวคิดเรื่อง “กิจกรรมเดี่ยว” มากขึ้นและมองว่ากิจกรรมเหล่านี้เป็นวิธีหนึ่งในการเพลิดเพลินไปกับการอยู่ร่วมกับตนเอง
[การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้คนที่อยู่ลำพัง กลายเป็น ‘ส่วนตัว’]
ในเกาหลีใต้มีสิ่งที่เรียกว่า ‘ฮนบัพ’ (Honbap) หรือการนั่งทานข้าวคนเดียว ที่กำลังมาแรงและได้รับความนิยม จึงมีการปรับเมนให้เหมาะสำหรับทานคนเดียวได้ ขนาดจานอาจจะเล็กลง พออิ่ม ราคาไม่แพง
เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่น ธุรกิจต่างๆ กำลังปรับตัวเข้ากับเทรนด์นี้ ตัวอย่างเช่น ร้านคาราโอเกะและร้านอาหารพวกปิ้งย่างหรือชาบูที่จัดเพื่อนั่งทานคนเดียว กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว (ในไทยเองก็เริ่มมีให้เห็นบ้างเช่นกัน)
ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้รู้สึกสะดวกสบายมากขึ้นในการใช้เวลาตามลำพัง และวัฒนธรรม "Super Solo" ของญี่ปุ่นยังแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งการอยู่คนเดียวไม่ได้ถูกมองว่าเป็นสิ่งแย่ คนนั้นไม่มีเพื่อนคบ แต่เป็นโอกาสในการดูแลตัวเองและความสุขส่วนตัว
2
[คนรุ่นไหนก็มีเวลาแบบ Ohitorisama ได้]
ไม่ใช่แค่กลุ่มวัยรุ่นที่เริ่มใช้ชีวิตแบบตัวคนเดียวเท่านั้น เทรนด์นี้ครอบคลุมไปถึงประชากรสูงวัยที่มีอายุที่ยืนยาวก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมแบบโซโลฉายเดี่ยวเช่นกัน
1
เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มองข้ามไม่ได้ เพราะมีเงินเก็บมาแล้วในระดับหนึ่ง บางคนร่ำรวยและพร้อมนำมาใช้จ่าย ข้อมูลประชากรชี้ให้เห็นว่าครัวเรือนเดี่ยว ยิ่งทำให้มีผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับคนเดียวเพิ่มมากขึ้น และคาดว่าจะเติบโตอย่างน้อยร้อยละ 40 ภายในปี 2040
ในแถบประเทศเอเชีย ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่มีสัดส่วนคนโสดสูงสุด และอยู่ในอันดับที่ 15 ของโลก อยู่ที่ราว 15.5% ของประชากรทั้งประเทศ
1
การสำรวจของประเทศญี่ปุ่นเมื่อกลางปี 2022 ยังพบว่า 1 ใน 4 ของประชากรวัย 30-40 ไม่มีความคิดที่อยากจะแต่งงานด้วยซ้ำ
นอกจากนั้นยังไม่พอหลังปี 2020 เป็นต้นมา อัตราหย่าร้างคนญี่ปุ่นสูงถึง 1 ใน3 ของคู่แต่งงานทั้งหมด
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ประชากรที่อาศัยอยู่คนเดียว ยิ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เทรนด์การใช้ชีวิตคนเดียวได้รับความนิยมอย่างไม่ต้องสงสัย คนที่จะเข้าถึงเทรนด์ “Ohitorisama Movement” จึงเป็นใครก็ได้ ครอบคลุมทั้งกลุ่มคนโสด คนที่หย่าร้าง รวมถึงคนที่รักอิสระและมีโลกส่วนตัวสูง และผู้สูงวัยอีกด้วย
[#ธุรกิจไม่สามารถละเลยกำลังซื้อของคนโสดได้อีกต่อไป]
เหตุเพราะครัวเรือนเดี่ยวเพิ่มขึ้น และคนที่หย่าร้าง กลายมาเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อทางเศรษฐกิจ นักวิจัยของ Hakuhodo หนึ่งในบริษัทโฆษณาที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นบอกว่า “กำลังซื้อของคนโสดไม่สามารถละเลยได้อีกต่อไป ไม่มีประโยชน์ที่จะมุ่งเน้นธุรกิจเพื่อครอบครัวเท่านั้น” และอันที่จริงครอบครัวเดี่ยว (single-households) เป็นประเภทครัวเรือนที่เติบโตเร็วสุดในญี่ปุ่น
แบรนด์จำนวนมากให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ขึ้นมาสำหรับผู้ใช้ที่อาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น เช่น หม้อหุงข้าวและตู้เย็นขนาดเล็ก เพิ่มความสะดวกและการใช้งานที่เหมาะสม
อุตสาหกรรมบริการและความบันเทิงก็เช่น พวกเขาต้องเพิ่มกำลังเพื่อรองรับประชากรกลุ่มนี้ อย่างคาราโอเกะสำหรับคนเดียว บริษัท SEGA เป็นธุรกิจแรกที่นำเสนอห้องคาราโอเกะสำหรับ 1 คน บริการนี้เติบโตอย่างรวดเร็วจากตลาด Ohitorisama ที่โตขึ้น 30-40% สถาบันวิจัยยาโนะระบุว่าในปี 2018 คาราโอเกะสำหรับคนเดียวเติบโตถึง 21.6% หรือเป็นเงิน 45,000 ล้านเยน
ในปีเดียวกัน ตลาดการรับประทานอาหารเดี่ยวเพิ่มขึ้น 3.6% เป็นเงิน 7,913 ล้านเยน และอาหารพร้อมรับประทานสำหรับคนเดียวก็เพิ่มขึ้น 2.8% หรือเป็นเงิน 7,400 ล้านเยน โรงหนังหลายแห่งในเครือ TOHO Cinemas มีที่นั่งส่วนตัวที่เรียกว่า Premier Box Seats เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่มาดูหนังคนเดียวได้รับประสบการณ์ดูภาพยนตร์ที่ดีที่สุด
ธุรกิจท่องเที่ยวคนเดียวก็กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง บริษัททัวร์ได้จัดเตรียมโปรแกรมสำหรับการเที่ยวคนเดียวเพิ่มขึ้น โดยบริษัท Hankyu Travel International มีโปรแกรมสำหรับคนโสดหลากหลาย
3
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นก็ยังได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเพิ่มขึ้นของประชากรซูเปอร์โซโล เพราะที่พักที่มีพื้นที่ขนาดเล็กเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก โดยอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้จะมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและใกล้สถานีรถไฟ
[#แต่มนุษย์ก็ยังเป็นสัตว์สังคม]
1
แม้การใช้ชีวิตคนเดียวแบบนี้จะได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ในด้านการใช้ชีวิตคนเดียวก็ได้ทำให้เกิดตลาดใหม่ที่น่าสนใจขึ้นมา
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่ามนุษย์ก็ยังเป็นสัตว์สังคม และบางช่วงจังหวะก็โหยหาการสัมผัสอารมณ์และความใกล้ชิดจากคนอื่นๆ ซึ่งการอยู่คนเดียวทำให้เป็นสิ่งที่ยากสำหรับบางคนที่จะหาได้ ก่อให้เกิดเป็นธุรกิจจำนวนจากแนวคิด ‘การค้าทางอารมณ์’ (Emotional Commercialization)
2
เช่น Cafe Hugs หรือคาเฟ่กอด ที่ให้บริการกับคนที่อยากใช้เวลาหนึ่งคืนหรือสองสามชั่วโมงบนตักของคนที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษ เพื่อมอบสิ่งที่พวกเขาต้องการก็คือการนอนหลับลงในอ้อมกอดใครสักคน ผู้คนที่เปล่าเปลี่ยวจะแวะที่คาเฟ่กอดเพื่อการสัมผัสทางกายภาพแทนที่จะกลับบ้านทันทีหลังเลิกงานและรู้สึกเหงา โดยปกติผู้คนจะต้องจ่ายเงินประมาณ 3,000 เยน (ประมาณ 721 บาท) สำหรับการกอด 20 นาที
Ohitorisama Movement เป็นเพียงภาพสะท้อนด้านหนึ่งของสังคมสมัยใหม่ กับสังคมที่ผู้คนมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น ในอีกไม่นานนี้เทรนด์นี้จะส่งผลต่อสังคมในหลายๆ ด้าน เช่น เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และมันเป็นสิ่งที่น่าจับตามองว่าเทรนด์นี้จะเติบโตต่อไปในทิศทางไหน ผู้คนจะลืมเลือนการเข้ากลุ่มไปเลยหรือในที่สุดผู้คนจะเริ่มโหยหาความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น?
- เขียนและเรียบเรียงโดย กนกจันทร์ เรืองวัฒนานนท์
#aomMONEY #คนโสด #ธุรกิจ #การเงิน #investment
โฆษณา