30 มี.ค. เวลา 00:00 • หนังสือ

บทความ Blockdit ตอน ลีกวนยูสร้างชาติอย่างไร ตอน 8 ออกจากเงาอังกฤษ

ออกจากเงาอังกฤษสู่เงาของมาเลเซีย
หลังสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดปรมาณูสองลูกที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ กองทัพญี่ปุ่นก็ประกาศยอมแพ้ ลอร์ด หลุยส์ เมานท์แบตเตน (Lord Louis Mountbatten) นําทัพอังกฤษ ออสเตรเลีย และอินเดียมาที่สิงคโปร์เพื่อทําพิธีรับการยอมแพ้
3
ผลที่ตามมา คือ เสือแห่งมาลายู ยามาชิตาถูกจับขึ้นศาลสงครามและถูกประหารที่ฟิลิปปินส์ในปีต่อมา
สิงคโปร์อยู่ในสภาพพินาศ โครงสร้างพื้นฐานถูกทําลาย เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร โรคภัย เกิดอาชญากรรม ตามมาด้วยการนัดหยุดงานหลายครั้งในปี 1947
1
แต่หลังจากนั้นสถานการณ์ก็กระเตื้องขึ้น เศรษฐกิจเริ่มฟื้นเพราะสินค้าสําคัญ คือดีบุกกับยางพาราเป็นที่ต้องการทั่วโลก
หลังสงครามโลก ลีกวนยูไปเรียนต่อที่อังกฤษสี่ปี ยิ่งทําให้เขารู้สึกแน่วแน่ที่จะขจัดกฎอาณานิคมอังกฤษ
2
เขากลับสิงคโปร์ในปี 1950 ทํางานเป็นทนายความ เขาไปเกี่ยวข้องกับองค์กรสหภาพการค้าและการเมือง และต่อมาก่อตั้งพรรคการเมือง People’s Action Party (PAP)
หลังสงครามโลก อังกฤษค่อยๆ ให้คนพื้นเมืองปกครองกันเองมากขึ้น จนถึงวันที่ 1 เมษายน 1946 อังกฤษก็ให้สิงคโปร์มีสถานะเป็นอาณานิคมของราชวงศ์อังกฤษ (Crown Colony) ที่เป็นแยกเป็นอิสระมีการปกครองโดยผู้ว่าราชการ
2
สิงคโปร์มีคนงานมาก และก็มีคอมมิวนิสต์เข้ามามาก ยุค 1950s คอมมิวนิสต์เข้าไปตามสหภาพแรงงาน โรงเรียนจีน ทําสงครามจรยุทธ์ต่อรัฐบาล เกิดความรุนแรงหลายครั้ง
1
เวลานั้นเกิดกระแสต้านลัทธิล่าอาณานิคม เกิดความรู้สึกชาตินิยมในหมู่ประชาชน หลายกลุ่มในสิงคโปร์แสวงหาเอกราชมาตลอด เช่น เดวิด มาร์แชล (David Marshall) นักการเมืองที่เกิดในสิงคโปร์ พยายามขอเอกราชจากอังกฤษ ครอบครัวเป็นยิวอพยพมาอยู่ที่สิงคโปร์
1
เดวิด มาร์แชล เป็นหัวหน้าพรรค Labour Front ชนะการเลือกตั้งครั้งแรกของสิงคโปร์ในปี 1955 เป็นหัวหน้ารัฐบาลหรือ Chief Minister แล้วไปลอนดอนเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ ขอให้สิงคโปร์เป็นรัฐอิสระ ปกครองตัวเอง อังกฤษไม่ตกลง เขาจึงลาออก ลิมยิวฮก (Lim Yew Hock 林有福) มาแทนในปี 1956 แล้วไปเจรจากับอังกฤษอีกหลายรอบ
1
ในที่สุดในปี 1959 อังกฤษก็ตกลงให้สิงคโปร์เป็นรัฐที่ปกครองตัวเองได้ แต่อังกฤษยังขอคุมเรื่องกลาโหมและการต่างประเทศ นําไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในปี 1959
พรรคที่ชนะขาดลอยคือ PAP หัวหน้าพรรคคือลีกวนยูขึ้นป็น
เดวิด มาร์แชล กับการเลือกตั้งปี 1955
ลีกวนยูชนะเลือกตั้งครั้งแรกปี 1955
02.45 น. 31 พฤษภาคม 1959 พรรค PAP ชนะการเลือกตั้ง ได้ 48 จาก 51 ที่นั่ง ลีกวนยูกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก
ผู้นํารัฐอิสระคนแรกในวัยเพียง 35
(ต่อมาในปี 1978 รัฐบาลสิงคโปร์แต่งตั้ง เดวิด มาร์แชล เป็นเอกอัครราชทูต ไปประจําหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ จนเกษียณในปี 1993)
ผ่านไปสี่ปี สิงคโปร์ก็ลงมติเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย
PAP vs UMNO
กลุ่มลีกวนยูมิได้ต้องการตั้งประเทศใหม่จริงๆ สิงคโปร์จะเป็นแค่รัฐที่ปกครองตนเอง เชื่อว่าวันหนึ่งจะกลับไปรวมกับมาลายาอีกครั้ง ในที่สุดพวกเขารวมกันเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย (Federation of Malaysia)
พรรค PAP เชื่อว่าสิงคโปร์ต้องผูกกับมาเลเซีย มันเป็นสังคมร่วมกันมานานหลายชั่วคน อีกประการ การร่วมมือกันจะทําให้เศรษฐกิจดีทั้งสองฝ่าย สําหรับสิงคโปร์ ก็ช่วยเรื่องปัญหาการว่างงาน
แต่ในพรรค PAP ก็มีกลุ่มที่โปรคอมมิวนิสต์ ขณะที่ UMNO ไม่เอาคอมมิวนิสต์ กลุ่มที่โปรคอมมิวนิสต์ไม่อยากเข้าร่วมกับมาลายาเพราะตนเองจะลดหรือเสียอํานาจไป ต่อมากลุ่มนี้แยกตัวไปตั้งพรรคBarisan Sosialis
ส่วน PAP กลุ่มที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ก็กลัวว่า UMNO จะไปร่วมด้วย เพราะสิงคโปร์มีคนจีนมาก มันจะทําให้มาลายาที่มีคนมาเลย์เยอะไม่สมดุลกัน แต่ UMNO ก็ร่วม เพราะกลัวคอมมิวนิสต์
เดือนพฤษภาคม 1961 นายกฯมาลายา ตุนกู อับดุล ระห์มาน เสนอก่อตั้งสหพันธรัฐชื่อ มาเลเซีย เป็นการรวมสหพันธรัฐมาลายาสิงคโปร์ บรูไน บอร์เนียวเหนือ และซาราวัค
เหตุที่รวมบอร์เนียวเพราะมีคนมลายูมาก ช่วยคานเชื้อชาติกับคนจีนในสิงคโปร์
1
อังกฤษตกลง เพราะการรวมจะช่วยให้สิงคโปร์ไม่ให้กลายเป็นแหล่งของพวกคอมมิวนิสต์
1
ก่อนรวมตัวกัน พรรค PAP ต้องทําประชามติว่าจะรวมกับมาลายาหรือไม่ ผลคือประชาชนอยากให้รวม
วันที่ 16 กันยายน 1963 Federation of Malaysia ก็ถือกําเนิด
อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียขัดขวางการรวมตัวกันครั้งนี้ บอกว่าบอร์เนียวเป็นของตน สิ่งที่ตามมาคือความรุนแรง มีการวางระเบิดหลายสิบครั้ง ครั้งร้ายแรงที่สุดคือกลุ่มหัวรุนแรงวางระเบิด MacDonald House คนตายสามคน บาดเจ็บ 33
2
Federation of Malaysia เดินหน้าไปแบบสะดุดเป็นระยะเพราะความไม่ลงรอยกันในเรื่องนโยบายระหว่างมาเลย์กับสิงคโปร์
การเผารถยนต์ในจลาจล ปี 1956
สิงคโปร์รู้สึกว่าถูกเอาเปรียบเรื่องการค้า พบข้อจํากัดกับการค้ากับพวกมาเลย์หลายอย่าง และอีกหลายเรื่อง
ในปี 1963-1964 เกิดความวุ่นวายระหว่างคนต่างเชื้อชาติ คนมาเลย์กับจีนตีกัน เกิดจลาจลในสิงคโปร์ พวกมาเลย์ที่นําโดยพรรคอัมโน United Malay National Organisation (UMNO) ต้องการเป็นใหญ่ ความวุ่นวายไม่รู้จบ
1
ตุนกู อับดุล ระห์มาน เห็นไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่ด้วยกัน ตัดสินใจผ่าทางตัน เสนอให้รัฐสภาขับสิงคโปร์ออกจากมาเลเซีย
มติผ่านเอกฉันท์
สิงคโปร์ถูกมาเลเซีย “Talaq” เป็นรัฐอิสระในวันนั้น
วันนั้นคือ 9 สิงหาคม 1965 ถือเป็นวันชาติของสิงคโปร์ แต่ไม่มีการเฉลิมฉลอง
การหย่าร้างไม่น่าจะเฉลิมฉลองอะไร
ตุนกู อับดุล ระห์มาน
ตุนกู อับดุล ระห์มาน ให้สัมภาษณ์นักข่าวในปี 1956 ว่า การรวมกันระหว่างมาลายากับสิงคโปร์มิใช่เพื่อสถานะเท่าเทียมกัน แต่รวมตัวกันเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของมาเลย์มากกว่า
1
สื่อตีความว่า วลี “future alliance” หมายความว่า “future merger” ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตรงกันข้าม
ลีกวนยูบันทึกประวัติศาสตร์ท่อนนี้ว่า ตุนกู อับดุล ระห์มาน มิได้ต้องการให้สิงคโปร์เป็นรัฐหนึ่งของมาลายา เพราะจะทําให้เกิดการต่อต้านทางเชื้อชาติ แต่ก็ไม่ต้องให้สิงคโปร์เป็นรัฐอิสระที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับมาลายาด้วย ตุนกู อับดุล ระห์มาน อยากให้อังกฤษปกครองสิงคโปร์ต่อไปในฐานะอาณานิคมแบบเดิม
1
ลีกวนยูเล่าว่า ทว่าความจริงคืออังกฤษรู้ว่าตนจะไม่อยู่ที่นี่แล้วแต่ ตุนกู อับดุล ระห์มาน ไม่รู้
ในปี 1954 อังกฤษส่ง อลัน เลนน็อกซ์-บอยด์ (Alan Lennox-Boyd) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศด้านอาณานิคม ไปทํางานปลดปล่อยอาณานิคมต่างๆ ให้เป็นเอกราช (decolonisation)
อลัน เลนน็อกซ์-บอยด์ ไปเยือนกัวลาลัมเปอร์ในเดือนสิงหาคมปี 1955 เพื่อประเมินสถานการณ์ว่าจะให้เอกราชมาลายาได้แล้วยัง และประเมิน ตุนกู อับดุล ระห์มาน ด้วยว่าเหมาะสมไหมที่จะขึ้นมาเป็นผู้นําพบว่า ตุนกู อับดุล ระห์มาน เป็นคนใช้การได้ อังกฤษจึงเดินหน้าเรื่อง มอบเอกราชให้มาลายา
อลัน เลนน็อกซ์-บอยด์ เป็นหัวหอกในการก่อตั้งและมอบเอกราชให้สหพันธรัฐมาลายา (The Federation of Malaya) เขาเชิญตุนกู อับดุล ระห์มาน ที่ดํารงตําแหน่ง Chief Minister (หัวหน้ารัฐบาล) ไปอังกฤษเพื่อหาแนวทางมอบเอกราชให้มาลายา
ตุนกู อับดุล ระห์มาน เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของมาลายาได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งเอกราช (Bapa Merdeka)
ลีกวนยูกับ ตุนกู อับดุล ระห์มาน สิงหาคม 1962
ลีกวนยูเล่าถึง ตุนกู อับดุล ระห์มาน ว่า หัวหน้าพรรค UMNO เป็นคนที่เสมอต้นเสมอปลาย วางใจได้ เขาไม่แกล้งเป็นคนฉลาด แต่มีความสามารถอ่านคนออก
ที่สําคัญที่สุด เขาเข้าใจเรื่องอํานาจ บิดาเขา คือ สุลต่านแห่งเคดาห์ ใต้เงาบิดา
เขาได้เรียนรู้วิธีการใช้คน เป็นคนที่โปรอังกฤษ ต่อต้านคอมมิวนิสต์
2
ตุนกู อับดุล ระห์มาน เป็นบุคคลที่น่าสนใจ และใกล้ชิดกับคนไทยมากกว่าที่คิด อาจจะบอกได้ว่าเขาเกิดในเมืองไทย เพราะเมืองที่เขาเกิดคืออลอร์สตาร์ มณฑลไทรบุรี (เคดะห์) ในตอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งประเทศสยาม บิดาของเขาคือสุลต่านอับดุลฮามิด หรือเจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดีศรีสุลต่าน สุลต่านองค์ที่ 25 ของไทรบุรี มารดาเป็นหม่อมชาวไทยชื่อหม่อมเนื่อง นนทนาคร หรือ ปะดูกา ซรี เจ๊ะ เมนยาลารา (Paduka Seri Cik Menyelara) บุตรีของหลวงนราบริรักษ์
(เกล็บ นนทนาคร) เจ้าเมืองนนทบุรีในรัชสมัยรัชกาลที่ 5
1
ตุนกู อับดุล ระห์มาน เคยมาเรียนหนังสือในเมืองไทย
ในวัยราวสิบขวบ เขาค่อนข้างเกเร พี่ชายคนโตที่เพิ่งกลับจากอังกฤษกลัวน้องชายจะเสียคน จึงขอให้แม่ส่งน้องชายไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพฯ
1
อลัน เลนน็อกซ์-บอยด์ (คนกลาง) กับลีกวนยู ปี 1957
ในโรงเรียนมัธยมเทพศิรินทร์อยู่สองปี เพื่อนร่วมรุ่น เช่น หลวงถวิลเศรษฐพณิชยการ (ถวิล คุปตารักษ์) อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ของไทย ช่วง พ.ศ. 2498-2503
ในปี 1966 ตุนกู อับดุล ระห์มาน เขียนบทความตีพิมพ์ในหนังสือชื่นชุมนุม อนุสรณ์ในงานเปิดสโมสรสถานหลังใหม่ของสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ว่า
“บางคราวข้าพเจ้าเคยคิดว่า หากพี่ชายข้าพเจ้าทรงมีชีวิตอยู่ต่อมา ชีวิตของข้าพเจ้าเองคงจะดําเนินไปในวิถีที่แตกต่างไปจากนี้ ข้าพเจ้าอาจได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในประเทศไทย แต่นั่นคือโชคชะตา ขณะนี้แทนที่จะมีชีวิตสะดวกสบายในวัยที่อายุย่างเข้า 63 ปี ข้าพเจ้ายังต้องทํางานหนักอยู่แทบทุกเวลา”
1
เหมือนลีกวนยู ตุนกู อับดุล ระห์มาน เริ่มต้นชีวิตการงานเป็นทนายความ แล้วเข้าสู่การเมือง สังกัดพรรค The United Malays National Organization (UMNO) ซึ่งเป็นพรรคของขุนนางและชนชั้นสูง สายอนุรักษ์นิยม เขามีบุคลิกดี สุภาพ ถ่อมตน ทําให้ได้รับความนิยมสูง
ในเดือนสิงหาคม ปี 1951 ตุนกู อับดุล ระห์มาน ขึ้นเป็นผู้นํา
ตุนกู อับดุล ระห์มาน
พรรคแนวร่วมแห่งสหพันธ์มาลายา (UMNO) คนใหม่ มีบทบาทเจรากับอังกฤษ
เพื่อขอเอกราช
ในการเลือกตั้งในปี 1955 ตุนกู อับดุล ระห์มาน เข้าสู่สนามเลือกตั้ง ท่อนนี้มีเรื่องเล่าว่า เขาขอรับเงินบริจาคสําหรับเลือกตั้งไปทั่ว ทั้งมาลายา สิงคโปร์ ตะวันออกกลาง แต่ไม่มีใครช่วยเลย ยกเว้นเพื่อนคนไทย เรี่ยไรเงินมาได้ $135,000
1
เหล่านี้ทําให้เขามีความผูกพันกับเมืองไทย
พรรคของเขาได้รับชัยชนะเสียงท่วมท้น ตุนกู อับดุล ระห์มาน เป็นนายกฯคนแรก
วันที่ 31 สิงหาคม 1957 มาลายาได้รับเอกราช
ในปี 1961 ตุนกู อับดุล ระห์มาน เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมอาเซียน (ASA - the Association of Southeast Asia) หกปีต่อมา เปลี่ยนเป็น ASEAN (the Association of Southeast Asian Nations) ในตอนแรกประกอบด้วยประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ (ตอนนี้มีสิบประเทศ)
1
Malaysian Malaysia
ตลอดสองปีที่สิงคโปร์อยู่กับมาเลเซีย ลีกวนยูพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติ จีน-มาเลย์ เขาไม่เห็นด้วยกับทิศทาง ‘Malaysian Malaysia’ คือ ประเทศมาเลเซียที่ชาวมาเลย์เป็นใหญ่
1
สองปีที่อยู่กับมาเลเซีย เวลาประชุม Council of Rulers ทุกคน ยกเว้นเขาแต่งตัวด้วยชุดมาเลย์ คาดกริช เป็นการส่งสารถึงลีกวนยูว่า “นี่เป็นประเทศของคนมาเลย์ อย่าลืมเสียล่ะ”
1
ความขัดแย้งของคนสองเชื้อชาติกลายเป็นความรุนแรง จนต้องแยกประเทศกัน
1
ดังนั้นเมื่อแยกประเทศลีกวนยูก็ไม่ยอมทําให้สิงคโปร์เป็น ‘Chinese Singapore’ แต่เป็นสิงคโปร์สําหรับทุกเชื้อชาติเท่ากัน
1
มาเลเซียยังออกกฎหมายทิ้งภาษาอังกฤษ การสอนทุกวิชาในโรงเรียนใช้ภาษามาเลย์ แต่ภายหลังเห็นว่ามันไม่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศเลย ก็พยายามดึงภาษาอังกฤษกลับมาในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในปี 2003 แต่คนมาเลย์ต่อต้าน ก็กลับไปสอนด้วยภาษามาเลย์ดังเดิม
ลีกวนยูเห็นว่าการที่มาเลเซียปกครองโดยทุกนโยบายเน้นที่คนมาเลย์ ทํา
ให้เป็นข้อด้อย เพราะทําให้คนเชื้อชาติอื่นที่เก่งและสามารถช่วยพัฒนาประเทศมาเลเซียได้ ต้องหลุดจากวงโคจรไป ในยุคหลังมาเลเซียยอมรับปัญหานี้
และพยายามดึงคนเก่งเชื้อชาติอื่นกลับ แต่มันสายเกินไป
โฆษณา