20 มี.ค. เวลา 03:00 • ธุรกิจ

เนเธอร์แลนด์ ดินแดนแห่ง บริษัทเทคโนโลยี ของยุโรป

ถ้าหากให้ทุกคนลองนึกถึง บริษัทเทคโนโลยีสัก 4-5 บริษัท แทบจะทุกคน จะนึกถึงบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกัน ไม่ว่าจะเป็น
3
- Meta เจ้าพ่อโซเชียลมีเดีย เจ้าของ Facebook และ Instagram
- Alphabet เจ้าของ Google
- Microsoft เจ้าของระบบปฏิบัติการ ที่คอมพิวเตอร์ของโลกกว่า 70% กำลังใช้อยู่
- NVIDIA ผู้ออกแบบชิปรายใหญ่ของโลก
2
เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกันเหล่านี้ แทบจะครองโลกได้ทั้งใบอยู่แล้ว
ซึ่งเรื่องนี้คงไม่แปลกอะไร เพราะสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจเบอร์ 1 ของโลก อันมีประชากรมหาศาล และดินแดนอันแสนกว้างใหญ่
1
แต่ถ้าเราข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปที่ทวีปยุโรป ก็มีอยู่ประเทศหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยบริษัทเทคโนโลยีมากมาย
นั่นก็คือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีประชากรเพียง 18 ล้านคน และมีพื้นที่เพียง 41,800 ตร.กม. ซึ่งเล็กกว่าภาคกลางของไทยประมาณ 2 เท่า
5
แล้วประเทศเล็ก ๆ อย่าง เนเธอร์แลนด์ กลายเป็นดินแดนแห่งบริษัทเทคโนโลยีของทวีปยุโรป ได้อย่างไร ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
ย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 16 เนเธอร์แลนด์ เป็นดินแดนภายใต้การปกครองของราชสำนักสเปน จนกระทั่งชาวดัตช์รวมตัวกันขับไล่ผู้ปกครองชาวสเปนได้สำเร็จ
สิ่งแรกที่เนเธอร์แลนด์ทำ ไม่ใช่การสร้างกองทัพที่ยิ่งใหญ่ เพื่อไปล้างแค้นผู้ปกครองชาวสเปนที่เคยกดขี่
1
แต่คือการสร้างมหาวิทยาลัยแห่งแรกในปี 1575 คือ Leiden University ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่ให้ความสำคัญในด้านการแพทย์ พฤกษศาสตร์ และเกษตรกรรม
4
จะเห็นได้ว่าเนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ และการศึกษาเป็นอย่างมาก
1
ซึ่งปัจจุบัน Leiden University ก็ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลกอยู่
นอกจากนี้ก็ยังมีมหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยด้านวิศวกรรม และเทคโนโลยี ดีที่สุดเป็นอันดับที่ 13 ของโลกอย่าง Delft University of Technology ด้วยเช่นกัน
แต่เหตุการณ์ที่ทำให้คนทั้งโลกเห็นถึงความล้ำหน้าขององค์ความรู้ด้านวิศวกรรมของเนเธอร์แลนด์ คือเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี 1953
2
เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนั้นเรียกว่า The 1953 North Sea Flood ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และเบลเยียม
เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่า 2,500 คน และเป็นคนดัตช์ถึง 1,800 คน
เมื่อเจอภัยพิบัติครั้งใหญ่ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ในเวลานั้นก็ริเริ่มโครงการ Delta Works ซึ่งเป็นระบบป้องกันน้ำท่วมที่ใช้งบประมาณไปมากกว่า 416,000 ล้านบาท
3
โครงการนี้เริ่มสร้างตั้งแต่ปี 1954 กว่าจะสร้างเสร็จก็ต้องรอถึงปี 1997 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างนานถึง 43 ปี
4
แต่ถึงจะใช้เวลาสร้างนานเหมือนถนนพระรามที่ 2 โครงการ Delta Works ก็ได้รับการยกย่องจากนานาชาติว่า เป็นโครงการป้องกันน้ำท่วมที่ดีที่สุดของโลก จนหลายประเทศต้องส่งคนมาดูงานที่เนเธอร์แลนด์ รวมถึงประเทศไทยด้วย
8
เมื่อมีทั้งบุคลากรคุณภาพ จากการศึกษาที่ดี บวกกับการที่ประเทศให้ความสำคัญกับนวัตกรรม จึงทำให้ในเวลาต่อมา ก็เริ่มเกิดบริษัทที่สร้างเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ ในเนเธอร์แลนด์ มากขึ้นเรื่อย ๆ
2
หนึ่งในนั้นก็คือ ASML ผู้ผลิตอุปกรณ์ผลิตชิป นั่นเอง..
1
โดย ASML นั้น อยู่เบื้องหลังอุตสาหกรรมชิป ที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ เพราะเป็นเพียงบริษัทเดียวในโลกที่มีความสามารถในการสร้างเครื่องมือผลิตชิปที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกได้
1
ASML มีความสำคัญถึงขนาดที่ว่า เคยมีคำกล่าวว่า “หากไม่มี ASML ชิปที่ออกแบบโดย NVIDIA ก็เป็นเพียงวิมานในอากาศ”
3
โดย ASML เกิดจากการร่วมลงทุนระหว่าง 2 บริษัท คือ Philips และ ASM International ผู้ผลิตเครื่องจักรผลิตชิปอีกแห่งหนึ่งของเนเธอร์แลนด์
ก่อนที่ทั้ง Philips และ ASM International จะนำ ASML เข้าตลาดหุ้นอัมสเตอร์ดัม ในปี 1995
ซึ่งในปัจจุบันทั้ง Philips และ ASM International ขายหุ้น ASML ออกไปหมดเรียบร้อยแล้ว
1
และบริษัทเทคโนโลยีหลากหลายแห่งของเนเธอร์แลนด์ ก็คงจะไม่สามารถเติบโตได้ ถ้าไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างสะดวก
โดยเนเธอร์แลนด์ ก็มีบริษัทด้านการลงทุนขนาดใหญ่ อย่างเช่น Prosus ที่เน้นการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี ไม่ต่างอะไรจาก SoftBank ของญี่ปุ่น
1
นอกจาก Prosus จะลงทุนกับบริษัทเทคโนโลยีในประเทศแล้ว ทาง Prosus ก็ยังมีการข้ามไปลงทุนใน สตาร์ตอัปอื่น ๆ อีกหลายแห่ง เช่น
2
- Delivery Hero เจ้าของแพลตฟอร์มส่งอาหาร foodpanda จากเยอรมนี
- Trip.com แพลตฟอร์มจองโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน และร้านอาหาร จากสหรัฐอเมริกา
- Udemy เว็บไซต์สำหรับการเรียนคอร์สออนไลน์ จากสหรัฐอเมริกา
และรู้หรือไม่ว่า Prosus เองก็เป็นนักลงทุนรายแรก ๆ ใน Tencent บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน WeChat และเจ้าของเกมโทรศัพท์มือถือยอดฮิตหลายเกม
3
ส่วนบริษัทไหน ถ้าหากอยากจะเข้าตลาดหุ้น ประเทศเนเธอร์แลนด์เองก็ยังมี ตลาดหุ้นอัมสเตอร์ดัม ซึ่งดำเนินการซื้อขายกันมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้รองรับอีกด้วย
3
และอีกส่วนที่จะขาดไปไม่ได้เลยก็คือ โครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลของเนเธอร์แลนด์ ก็ถือว่าแข็งแกร่งมาก ๆ ด้วยจำนวน Data Center กว่า 194 แห่ง และสัญญาณอินเทอร์เน็ต ที่ครอบคลุม 98% ของประชากร
4
เห็นได้ว่า เนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศที่มีครบทั้งแหล่งทุนขนาดใหญ่ ที่พร้อมสนับสนุนธุรกิจเทคโนโลยีให้เติบโต พร้อมทั้งมีการวาง โครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัล อย่างเพียบพร้อม
1
อย่างไรก็ตาม การที่เนเธอร์แลนด์มีทั้ง 2 สิ่งที่กล่าวมา ก็คงไม่มีประโยชน์เช่นกัน
1
ถ้าหากไม่มีกุญแจสำคัญอย่าง องค์ความรู้ด้านวิศวกรรม และนวัตกรรม ที่ได้รับการต่อยอดมาเรื่อย ๆ
1
จนทำให้เนเธอร์แลนด์ เติบโตขึ้นมาเป็นศูนย์รวมบริษัทเทคโนโลยีของยุโรปได้ ด้วยรากฐานที่ถูกวางเอาไว้ ตั้งแต่เมื่อ 400 ปีที่แล้ว..
2
โฆษณา