20 มี.ค. เวลา 12:49 • ไลฟ์สไตล์

ทางหลวงหมายเลข M41 ปามีร์ ไฮเวย์

M41 ชื่อเรียกขานหมายเลขถนนของสหภาพโซเวียตแบบทางการ โดยทั่วไปไม่มีป้ายบอกทางตามถนนนะค่ะ
แต่คนทั่วไปเรียกมันว่า ทางหลวงปามีร์
ซึ่งเป็นถนนที่ผ่านเทือกเขา Pamir
ผ่านอัฟกานิสถาน-อุซเบกิสถาน-ทาจิกิสถาน
และคีร์กิซสถาน
ในเอเชียกลางนี่คือเส้นทางเดียวที่ผ่านภูมิประเทศที่ยากลำบากของภูเขาและยังทำหน้าที่เป็นเส้นทางหลักของทาจิกิสถาน ในเขตปกครองตนเองที่เรียกว่า Gorno-บาดัคชาน ที่มีการใช้งานมานานนับพันปี
ถนนเส้นนี้เชื่อมภูเขาสูงปามีร์เข้ากับเขตที่ราบหุบเขาคาราโครัม ในปากีสถาน ไปสู่ที่ราบสูงฮินดูกูช หรือเรียกว่าเป็นทางเชื่อมเส้นทางสายไหม
เส้นทางปามีร์ไฮเวย์
เส้นทางนี้ไปทางเหนือผ่าน Termiz อุซเบกิสถาน ก่อนเลี้ยวตะวันออกและข้ามไปยังทาจิกิสถาน ฝ
จากนั้นตามเส้นทางไปทางทิศตะวันออกผ่านไปถึงดูชานเบเมืองหลวงของทาจิกิสถาน ต่อไปKhorogข้ามKafirnigan , Vakhshและแม่น้ำ Bartang
ต่อไปทางทิศตะวันออกประมาณ 310 กิโลเมตรถึงMurghab ข้ามแม่น้ำ Murghab
จากนั้นทางหลวงจะผ่านAk-Baital Pass ที่สูง 4,655 เมตร (15,270 ฟุต) และผ่านทะเลสาบ Karakulก่อนข้ามไปยัง Kyrgyzstan ไปยังปลายทางใน Osh
อูยยยย...แค่ชื่อเมืองก็ดูจะยาก
ถนนถูกสร้างบางส่วนในปลายศตวรรษที่ 19 และส่วนใหญ่อยู่ในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดยสหภาพโซเวียต
ในยุค 2000 Pamir ทางหลวงเชื่อมต่อกับจีนและ ทางหลวง Karakoram
ทางหลวง Pamir ถูกกำหนดให้เป็นเส้นทาง M-41 ตลอดความยาวส่วนใหญ่ในทาจิกิสถานและคีร์กีซสถาน และเป็นที่รู้จักในฐานะทางหลวงระหว่างประเทศที่มีความสูงเป็นอันดับสองของโลก (4,655 ม.)
ดังนั้น หมุดหมายของพวกเราในทริปนี้คือ
ประเทศทาจิกิสถานค่ะ
ทาจิกิสถาน ดินแดนแห่งภูเขาสูงในเขตเทือกเขาปามีร์ อันเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเขตหลังคาโลก (เป็นแผ่นหลังคาที่ยาวและค่อยไต่ระดับไปสุดที่ทิเบต...ลองเปรียบหลังคาเพิงหมาแหงนน่าจะเห็นภาพ😊)
พื้นที่แต่ละแห่งของทาจิฯ ก็เข้าถึงยาก วิ่งรถไปตั้งนานกว่าจะพบเจอผู้คน กว่าจะได้เจอหมู่บ้าน ด้วยภูมิประเทศดังกล่าวทำให้คนทาจิกดูจะแปลก แยกออกจากเพื่อนบ้านอีกหลายสถาน พวกเค้าได้รับอิทธิพลของเอเชียใต้และเปอร์เชียมาก ทำให้คล้ายกับคนอิหร่านมากกว่าคนเอเชียกลาง (เอาจริงๆก็แยกไม่ค่อยออกหรอก ว่าม้ะ)
เส้นทางในครั้งนี้จะผ่านทั้งเมืองหลวง
Dushanbe
Kalai Khum
Khorog
Murghab
Karakul lake
ขอเริ่มเล่าจากปลายทางในครั้งนี้และเป็น Bucket list ในใจตัวเอง ว่าครึ่งนึงของการเดินทางต้องไปที่นี่ให้ได้
ทะเสสาบสีดำ
ทะเลสาบคาราคูล (Karakul Lake) หรือ ทะเลสาบสีดำ (Black Lake) ทะเลสาบบนที่ราบสูงปามีร์ (Pamir Plateau) ในประเทศทาจิกิสถาน มีความสูงประมาณ 3,900 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล และจุดลึกสุดประมาณ 236 เมตร
เป็นทะเลสาบน้ำกร่อย ลึกอยู่ในแอ่งปิดnท่ามกลางหุบเขาสูงซึ่งปิดกั้นมวลอากาศชื้น หุบเขาแห่งนี้ได้รับปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 30 มิลลิเมตรต่อปีทำให้ที่นี่เป็นสถานที่แห้งแล้งที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียกลาง
เชื่อกันว่าทะเลสาบนี้ก่อตัวขึ้นเมื่อมีดาวตกพุ่งชนโลกเมื่อประมาณ 25 ล้านปีก่อน ในที่สุดละลายน้ำจากภูเขาโดยรอบจนเต็มแอ่งกลายเป็นทะเลสาบคารากุลที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 กม.
ก่อนหน้านี้ทะเลสาบนี้เป็นที่รู้จักในชื่อทะเลสาบวิกตอเรียจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งตั้งชื่อตามสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียแห่งบริเตน
ชื่อนี้เปลี่ยนไปตามการถือกำเนิดของระบบโซเวียตในปี ค.ศ. 1920
ทะเลสาบคาราคูล
ทะเลสาบคารากุลมีสองแอ่งที่คั่นด้วยคาบสมุทรจากทางใต้และเกาะทางตอนเหนือ เกาะนี้มีความยาว 8 กม. และกว้าง 4 กม. และช่องแคบระหว่างเกาะนั้นกว้าง 1 กม. แอ่งด้านตะวันออกค่อนข้างตื้นโดยมีความลึกเฉลี่ย 22 เมตรในขณะที่แอ่งตะวันตกมีจุดที่ลึกที่สุด 236 เมตร
แม่น้ำสามสายไหลลงสู่ทะเลสาบคารากุล แต่ไม่มีทางออกน้ำมีความเค็มมาก
ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคมทะเลสาบจะกลายเป็นน้ำแข็งและกลายเป็นพื้นที่สีขาวของความเกลือที่ทิ้งคราบเค็มให้ได้เห็น
และนอกจากทะเลสาบคาราคูลแล้วยังมีทะเลสาบในบริเวณไม่ไกลกันมากเกิดทะเลเกลือแบบนี้ขึ้นอีก เป็นที่น่าอัศจรรย์สำหรับนักเดินทางอย่างเรามาก
salt lake หรือทะเลสาบเกลือ คือความมหัศจรรย์ของธรรมชาติบนพื้นที่สูง น้ำในทะเลสาบไม่มีทางระบายออก ทำให้น้ำจากภูเขาที่อยู่ล้อมรอบไหลมารวมกันจนเกิดเป็นทะเลสาบที่มีความเค็มสูง และทะเลสาบแห่งนี้ได้ถูกแสงอาทิตย์ที่รุนแรงทำให้น้ำระเหยแห้งไป ทิ้งไว้เพียงผลึกเกลือที่ค่อย ๆ ก่อตัวหนาขึ้น จนกลายมาเป็นทะเลเกลือให้เราเห็น
วันนี้เป็นการเดินทางที่ยาว แต่ไม่นาน รับได้เลย วิ่งจากทะเลสาบกลับที่พัก ราว 2 ชั่วโมงเศษ
เมื่อเราเดินทางกลับเข้าหมู่บ้าน Murghab ด้วยประชากรเพียง 7,500 กว่าๆ
Murghob เป็นเมืองสำคัญเพียงแห่งเดียวในซีกตะวันออกของ Gorno-Badakhshan (เขตปกครองตนเอง)
เป็นเมืองที่สูงที่สุดในทาจิกิสถาน ที่ความสูง 3,650 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นที่ที่ทางหลวง Pamir ข้ามแม่น้ำ Bartang
เป็นพื้นที่ ที่อยู่ยากมาก มีความร้อน หนาวสลับขั้วจริงๆ ในฤดูร้อน อุณหภูมิสูงถึง 40 องศา ในขณะฤดูหนาว ก็ติดลบถึง 40 องศาได้เช่นกัน
เป็นหมู่บ้านปลายทางของการขนถ่ายสินค้าจากคาราโครัม-ปามีร์-ข้ามจีน (Kulma Pass หรือที่เรียกว่า Karasu Pass เป็นทางผ่านภูเขาข้ามภูเขา Pamir ที่ชายแดนระหว่างเขต Murghob เขตปกครองตนเอง Gorno-Badakhshan ในทาจิกิสถานเข้าสู่จังหวัด Kashgar เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ใน จีน) ในช่วงเวลาก่อนที่ด่านคุนจีราบระหว่างจีนกับปากีสถานจะเป็นแบบปัจจุบัน แต่ปัจจุบันยังเห็นรถบรรทุกจากจีนไม่ขาดสาย
ดังนั้นที่นี้เป็นจุดหมายที่นักเดินทางจะเลือกพักก่อนเดินทางต่อไปเมือง Osh ของคีร์กิช สิ่งอำนวยความสะดวกได้ระดับไม่ธรรมดา มีไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ มีตลาด ลานกีฬา โรงเรียน มัสยิด ศูนย์สุขภาพชุมชน ที่พักน่ารักไม่มากมาย สถานที่แลกเงิน
ยิ่งเดินเข้าใกล้ก็เห็นแต่แนวกำแพงบ้าน บางหลังก่ออิฐเป็นห้องแถวยาวไม่สูงเกินกำแพง บ้างบ้านภายในกำแพงบ้านยังเป็นกระโจมตั้งไว้ มีปลูกผักกางมุ้งไว้กินเฉพาะบ้าน
ซึ่งทั้งหมดนี้เหมาะกับสภาพอากาศที่ค่อนข้างโหดได้ดีที่สุดเลย มนุษย์รู้จักปรับตัว
เราเลือกพัก 3 คืน จึงมีเวลาได้เดินตลาด ตามหาร้านค้าที่แอบซ่อนอยู่ตามตู้คอนเทนเนอร์ที่เราเห็นกระจัด กระจายนี้ ได้เล่นกับเด็กๆ แบบนัดแนะกันพรุ่งนี้มาเจอกันนะ และยังได้เพื่อนใหม่ที่น่ารักเป็นลูกสาวเจ้าของเกสต์เฮ้าส์
Khorog เป็นเมืองหลวงของ Gorno-Badakhshan (ปกครองตนเอง) หรือจะเรียกว่าเป็นเมืองหลวงแห่งปามีร์ ก็ว่าได้ จะมีอาคารทันสมัย ตลาดใหญ่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตและสถานที่ราชการ
เมืองนี้คือสถานที่เราต้องมาทำใบอนุญาติพิเศษที่เรียกว่า GBAO Permit หรือ ใบอนุญาติเข้าพื้นที่ปกครองพิเศษ Gorno-Badakhshan Autonomous Region ราคาประมาณ 30 USD
ซึ่งพื้นที่ว่านี้ก็ตั้งแต่เมืองนี้ไป จรดเขตแดนบนเส้นทางปารมีร์ที่เราเที่ยวกันครั้งนี้ รวมถึงแม่น้ำ Paynj เป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทาจิกิสถาน และ อัฟกานิสถาน ในส่วนที่เราวิ่งผ่านเมือง Ishkoshim, Langer ไปถึง Murghab นั้่นคือพื้นที่อ่อนไหวทางการทหารที่สุด เนื่องจากคือพื้นที่ร่วมกัน 3 ประเทศ ระหว่าง ทาจิกิสถาน-ปากีสถานและอัฟกานิสถาน เรียกว่า Wakhan corridor
เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เข้มงวดมาก หลายช่วงผ่านพื้นที่ ที่ไม่อนุญาตให้ยกกล้องถ่ายภาพเด็ดขาด (ซึ่งเราก็ผิดใจกับสารถีแล้วหนึ่ง แต่ก็ง้อคืนดีกันได้ในที่สุด 555)
ฝั่งตรงข้าม คืออัฟกานิสถาน
Khorog เป็นเมืองที่ดูแข็งแบบรัสเซียแต่มีความเขียวและการจัดภูมิทัศน์ที่สบายตา อยู่บนระดับความสูง 2,200 เมตร ประชากรเบาบางราว 30,000 คน เป็นจุดบรรจบของแม่น้ำ 3 สาย คือ Pyanj (เลียบขนานระหว่างทาจิ฿อัฟกัน) แม่น้ำ Gunt และ Shakhdara ดังนั้นพื้นที่จึงเขียวชะอุ่ม อากาศดี เหมาะกับการเพาะปลูก
มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร สัญญาณไวไฟดีเยี่ยม อันนี้ถูกใจมาก
พื้นที่บริเวณนี้มีการสนับสนุนการพัฒนาโดยมูลนิธิ Aga Khan ด้วย (เค้าเป็นใครหนอ ไว้มาเล่าให้ฟังค่ะ)
อีกเมืองจะพลาดไม่ได้ เพราะนั่งรถมาล้าพอสมควร เมืองเล็กๆ น่ารัก เลียบฝั่งประเทศอัฟกันมาตลอดเส้นทาง แค่นี้ก็ประทับใจเพราะเป็นคืนแรกและหิวมาก บ้านริมน้ำ ที่เมือง Kalai Khumb
บ้านพักและเจ้าบ้านตัวเล็ก ที่ตามตัวติดแจ เพราะมือถือพี่มีเกมส์นั่นเอง
สถานที่ทางธรรมชาติและโบราณสถานที่น่าสนใจระหว่างเส้นทาง ก็ไม่น้อย
อ้อ...ลืมออกตัวก่อนว่าไม่สามารถถ่ายทอดได้ทั้งหมด เพราะความจำสั้นแต่รอยทรงจำยังอยู่
น้ำพุร้อน 2 แห่งที่เราแวะ มีความต่างกันโดยสิ้นเชิงเรื่องการจัดการ แต่เหมือนกันคือ เกิดจากธรรมชาติ แร่ธาตุและอุณหภูมิที่ไม่สามารถโกหกกันได้เลย
น้ำพุร้อน Garm Chashma สูงจากน้ำทะเลราว 2,325 เมตร อายุอานามของน้ำพุร้อนแห่งนี้ก็ พันกว่าปีแต่มีการจัดการให้เป็นลักษณะรีสอร์ตสำหรับผู้คนมาใช้อาบน้ำกันในปี 1957 นี้
มีการจัดบริเวณ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องแต่งตัวและจัดรอบสำหรับชายและหญิงเป็นตามกำหนดเวลาไม่ปะปนกัน
มีความร้อนและกำมะถันสะสมจนจับตัวเป็นลักษณะหินปูนขาว รูปร่างแปลกตา อุณหภูมิพอเหมาะกับการลงอาบในฤดูใบไม้ผลิมาก
น้ำพุร้อน บีบี ฟาติมาห์ ตรงนี้ก็เป็นสถานที่อาบน้ำสาธารณะอีกแห่ง แต่มีความเป็นบ้านๆ ทั้งการจัดการและลักษณะบ่ออาบต้องเดินลงไปด้านล่างต่างกับน้ำพุร้อน Garm Chashma ที่ต้องเดินขึ้นไปอาบเหมือนสระลอยฟ้า อุณหภูมิอุ่นกว่า
Bibi Fatima คือตั้งชื่อตามท่านหญิงฟาติมาห์ ผู้เป็นบุตรสาวของท่านศาสดามูฮำหมัด ซึ่งเป็นคนสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม
ตั้งใกล้กับหมู่บ้าน Yamchun เป็นความเชื่อของชาวบ้านว่าหากผู้หญิงที่มาอาบน้ำที่นี่พร้อมตั้งจิตขอพรตรงรอยแยกที่น้ำไหลมาจะทำให้สุขภาพในระบบภายในสตรีสมบูรณ์แข็งแรง
ตามหลักวิทยาศาสตร์น้ำแร่ที่ไหลมานี้อุดมด้วยแร่ธาตุมากมายนั่นเอง
ป้อมปราการยัมชุน (Yamchun fortress) ที่สร้างอยู่บนเชิงเขา ป้อมปราการแห่งนี้เชื่อว่ามีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล
เพื่อจุดประสงค์ใช้สังเกตการณ์และป้องกันอาณาจักรจากผู้รุกราน
นอกจากสร้างสำหรับสังเกตุการการณ์ในการขนส่งสินค้าและผู้คนที่เดินทางไปมาในบริเวณ ระเบียงวาคานแห่งนี้แล้ว ยังใช้ประกอบพิธีบูชาไฟ ของชาวโซโรอัสเตรียนด้วย
สูงจากระดับน้ำทะเลราว 3,000 เมตร ห้างจากแม่น้ำ Pyanj เพียง 400 เมตร
สร้างโดยกษัตริย์ 2 พี่น้อง Qakhkaha และ Zangibor เพื่อควบคุมเส้นทางการค้าจากปามีร์ ไปบัคเตรีย-อินเดีย-อิหร่านฯ
สำหรับซากที่เราเห็นปัจจุบันนี้สร้างต่อเติมในช่วง ศตวรรษที่ 10-12 อาคารประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนชั้นในที่ป้อมปราการคือค่ายทหาร
ส่วนที่ 2 เป็นลานสำหรับการซ้อมรบหรือต่อสู้
ทุกชั้นเสริมด้วยหอคอย 36 แห่ง กำแพง 2 ชั้น และมีการเติมไม้เป็นตัวประสานเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นหากเกิดแผ่นดินไหว
ส่วนชั้นใต้ดินของป้อมปราการ สำหรับเก็บอาวุธและปืน
วัดในพระพุทธศาสนา
Buddhist Temple
Vrang Buddist Stupa คือซากสถูปในพุทธศาสนา ที่เรียกตามชื่อหมู่บ้าน Vrang ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง
อดีตตรงนี้เคยเป็นวิหารในพุทธศาสนามาก่อน มีการสร้างต่อเติมสถูปในรูปทรงมหายาน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากป้อมปราการของชาวทิเบตในบริเวณไม่ห่างกันนี้
ตามบันทึกของหลวงจีน เสวียน จ้าง หรือ พระถังซัมจั๋ง เคยบันทึกว่า เป็นวัดที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานและอาคารคลุมครอบ
เอาละ...พาทุกท่านเดินทางใกล้มาถึงตัวเมืองหลวงปัจจุบันคือ กรุงดูชานเบ ละนะค่ะ
แต่ก่อนถึงเมือง เรายังมีหมู่บ้านโบราณที่คงสภาพตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันได้ไม่เปลี่ยนแปลง ถูกซ่อนตัวบนหุบเขาสูง บนเส้นทางเท้าอันแสนเมื่อยล้า
สภาพหมู่บ้าน ที่พัก อาหาร การกินอยู่ ที่นั่นจะเป็นยังไงน๊าาา ทำไมต้องดั้นด้นไป
พักเบรคไปกินน้ำก่อน ค่อยมาเจอกันอีกครั้งนะค่ะ
อิ่มแล้วปููเสื่อ รอฟังที่หน้าบ้านนะค่ะ
โฆษณา