21 มี.ค. เวลา 06:53 • ข่าว

ญี่ปุ่นแผ่นดินไหว ภาคคันโต ไซตามะ อิบารากิ สูงสุด 5.3 ไม่มีสึนามิ เตือนระวังในช่วง 2-3 วันนี้

เมื่อเวลา 09:08 น.ของวันที่ 21 มีนาคม 2567 (พฤหัสบดี)ในประเทศญี่ปุ่น (ตรงกับเวลา 07:08 น.) ของเวลาในประเทศไทย เว็บไซต์ “เวเธอร์นิวส์” ของบริษัทเอกชนที่ได้รับการจัดอันดับว่า พยากรณ์สภาพอากาศแม่นที่สุดของประเทศญี่ปุ่นรายงานว่า ได้เกิดแผ่นดินไหว วัดได้ขนาด M5.3 ทางตอนใต้ของ
จังหวัดอิบารากิ ความลึกที่ศูนย์กลางของแผ่นดินไหว
อยู่ที่ประมาณ 50 กิโลเมตรและวัดแรงสั่นสะเทือนที่จังหวัดโทจิกิกับจังหวัดไซตามะได้สูงสุดที่ต่ำกว่า 5
ไม่มีความน่ากังวลเรื่องการเกิดสึนามิ ประชาชนใช้ชีวิตได้ตามปกติ
2
Image credits: Weather News, ช่วงระยะเวลา 1 เดือนจนถึง ณ วันที่ 21 มีนาคม 2567 เช้านี้ พบว่า เคยมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นถึง 30 ครั้ง
การรถไฟภาคตะวันออกของญี่ปุ่น ((JR) แจ้งว่า
แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ กระทบรถไฟชินคันเซ็น
สายโทโฮกุ ซึีงเป็นสายตะวันออกเฉียงเหนือล่าช้า
ประมาณ 15 นาที สายโจเอสึกับสายโฮกุริกุล่าช้าประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หลังจากนั้นได้กลับมา
ให้บริการตามปกติตามลำดับแล้ว
ซึ่งครั้งนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณคาสึกิ โคเคสึ
จากสถาบันวิจัยแผ่นดินไหว มหาวิทยาลัยโตเกียว
ชี้ว่า ครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนแปซิฟิก แต่มาจากรอยเลื่อนทะเลฟิลิปปินส์ทางใต้
ที่ต่อกับแผ่นดินใหญ่ เกิดการเคลื่อนตัวแบบ
รอยเลื่อนย้อน ที่มักเกิดขึ้นใต้ท้องทะเล และเป็นแบบที่
มักเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งในช่วงระยะเวลา 1 เดือนจนถึง ณ วันที่ 21 มีนาคม 2567 จนถึงเวลา 06:16 เช้านี้ ของเวลาในประเทศไทย
พบว่า เคยเกิดขึ้นมาแล้วถึง 30 ครั้ง ที่รวมทั้งที่มนุษย์
รับรู้ได้และรับรู้ไม่ได้ และระดับแรงสั่นสะเทือน 15 เกิดขึ้นทั่วประเทศหลังเกิดแผ่นดินไหวคาบสมุทรโนโตครั้งร้ายแรงที่รวมของเช้าวันนี้ด้วยจำนวน 19 ครั้ง
1
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระยะหลัง มักเกิดในบริเวณที่ใกล้กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหวในครั้งนี้ ในภาคคันโต บริเวณพื้นที่จังหวัดจิบะ อิบารากิ โทจิกิ ไซตะมะ ในระยะหลังมักเกิดบ่อยครั้งและกระจุกตัว จึงมักมองว่า ภาคคันโตเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง
ระดับแรงสั่นสะเทือนที่ระดับนี้ เคยเกิดขึ้นหลังสุด
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2557 ที่แรงสั่นสะเทือนสูงสุดที่ 5.6 และในอดีตเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2539 เคยเกิดแรงสั่นสะเทือนสูงสุดที่ 5.6 เช่นเดียวกันจึงแนะให้เฝ้าระวังเรื่องแผ่นดินไหวและติดตามข่าวสารการแจ้งเตือน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรเฝ้าระวังแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นตอนใต้ของจังหวัดอิบารากิในระดับความรุนแรงนี้ต่อไป
เกี่ยวกับแผ่นดินไหวในครั้งนี้ สำนักอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นได้แจ้งเตือนภัยในระดับการแจ้งเตือนการเกิด
แผ่นดินไหวฉุกเฉินให้ทราบโดยด่วน (แบบแจ้งเตือนภัย)
เนื่องจากเกิดในระดับ 5 ขึ้นไป จึงอาจทำให้ผู้ที่ได้รับแจ้งข่าวด่วนเตือนภัยฉุกเฉินทางมือถือ สมาร์ทโฟน หรือเมล์ในพื้นที่ตกใจ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาเร่งด่วนของ
การเดินทางไปโรงเรียน หรือไปทำงานด้วย
ซึ่งแผ่นดินไหวในครั้งนี้ คาดการณ์ว่า น่าจะเกิดกระจายตามพื้นที่ดังกล่าวข้างล่างนี้ โดยพื้นที่ที่ได้รับเสียงแจ้งเตือนไปยังมือถือ สมาร์ทโฟนได้แก่
1
<พื้นที่กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการแจ้งเตือนภัยครัังนี้>
- กรุงโตเกียว
พื้นที่ทั้งหมด 23 เขต แรงสั่นสะเทือนระดับ 4
- จังหวัดกุมมะ
ตอนใต้ แรงสั่นสะเทือนระดับ 4
- จังหวัดจิบะ
ตอนตะวันตกเฉียบเหนือ แรงสั่นสะเทือนระดับ 4
- จังหวัดไซตามะ
ตอนใต้ แรงสั่นสะเทือนระดับ -5
ตอนเหนือ แรงสั่นสะเทือนระดับ 4
- จังหวัดโทจิกิ ตอนใต้
แรงสั่นสะเทือนระดับ 4
- จังหวัดอิบารากิ
ตอนใต้ แรงสั่นสะเทือนระดับ 4
1
ระดับแรงสั่นสะเทือนที่ตรวจจับได้จริง มีดังต่อไปนี้
■ ระดับแรงสั่นสะเทือน -5
- จังหวัดไซตามะ ที่เขตคิไซ เมืองคาโซชิ ตอนเหนือ
- จังหวัดโทจิกิ ที่เขตทานากะ เมืองชิโมสึเกชิ ตอนใต้
■ ระดับแรงสั่นสะเทือน 4
จังหวัดกุมมะ ตอนใต้
- จังหวัดจิบะ ตอนตะวันตกเฉียงเหนือ
- จังหวัดไซตามะ ตอนใต้
- จังหวัดอิบารากิ ตอนเหนือและตอนใต้
1
ในระดับแรงสั่นสะเทือนประมาณ 5 เป็นระดับสภาวะที่ทำให้อาจจะทำให้ข้าวของเครื่องใช้ร่วงหล่นลงมา
ลิฟต์หยุดทำงานได้ (จะต้องงดใช้ลิฟต์ และหากอยู่ในลิฟต์จะต้องรีบออกจากลิฟต์โดยกดทุกชั้น แล้วออกจากลิฟท์โดยเร็วในชั้นทีีหยุด) และอาคารอาจได้รับความเสียหายได้ จากที่เคยมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายครั้งจากข้าวของถ้วยชาม กระจกแตก หรืออื่นๆ ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน จึงมีการเตือนให้เฝ้าระวังต่อไป
Image credits: Weather News, แสดงรอยแยกรอบหมู่เกาะประเทศญี่ปุ่น แผ่นดินไหวในครั้งนี้ เกิดจากรอยแยกทะเลฟิลิปปินส์ ขนาดสูงสุด M5.3
เนื่องจากพื้นที่หมู่เกาะประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ใกล้รอยแยกใต้แผ่นดิน ได้แก่
- รอยแยกอเมริกาเหนือ
- รอยแยกยูเรเชีย
- รอยแยกแปซิฟิก
- รอยแยกทะเลฟิลิปปินส์
ปัจจุบัน ญี่ปุ่นจึงมีระบบการเตือนภัยฉุกเฉินออนไลน์
ผ่านมือถือ สมาร์ทโฟน ซึ่งมีขึ้นหลังการปรับแก้ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องในปี 2556 แล้วสำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะใช้ระบบการเตือนภัยนี้ส่งสารให้ประชาชนป้องกันความเสียหาย หรือ อพยพกันอย่างรวดเร็ว
โดยทันทีให้ได้อย่างมีประสิทธิผล ในสภาวะที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น
1
เพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมในการปกป้องรักษาชีวิตและทรัพย์สินของตนเองแบบกันไว้ดีกว่าแก้ภายหลัง
ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และเข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง
โดยนำประสบการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ
ครั้งร้ายแรงที่เคยเกิดขึ้น ที่รวบรวมจากผู้ประสบเหตุ
มาเป็นบทเรียนทบทวน และสะท้อนในมาตรการ
เพื่อการปรับปรุงและขยายผลการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยทั่วไป การแจ้งเตือนฉุกเฉินภัยพิบัติ แบ่งกว้างๆ ได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ ฝนตกหนัก พายุ คลื่นพายุ คลื่นสูง หิมะตกหนัก และ พายุหิมะ
1
เรื่องการแจ้งเตือนภัยนี้ เว็บไซต์เวเธอร์นิวส์ได้อธิบายเงื่อนไขการแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหวฉุกเฉินที่ดังขึ้น
โดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเกี่ยวกับระบบการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินนี้ เพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติที่มีโอกาสสูงที่จะเกิดภัยพิบัติรุนแรง ว่า
เป็นระบบการคาดการณ์เวลาและระดับของ
การสั่นสะเทือนก่อนที่จะมาถึงในแต่ละท้องที่โดยทันที
หลังตรวจจับพบแรงสั่นสะเทือนได้ในครั้งแรก เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้าโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
ก่อนที่จะมาถึง เพื่อบรรเทาระดับความเสียหาย แต่ไม่ได้เป็นการหยั่งรู้การเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้า
ดังนั้น ในพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหวจะไม่ทันต่อการแจ้งข่าวด่วนนี้ แต่พื้นที่ที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางของแผ่นดินไหว จะช่วยให้เตรียมตัวให้พร้อมในการป้องกันก่อนที่แรงสั่นสะเทือนที่รุนแรงจะมาถึงก่อนได้ไม่มากก็น้อย แต่เนื่องจากเป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น ย่อมมีโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนได้
ในสภาพความเป็นจริง ข้อมูลเกี่ยวกับระดับของ
แผ่นดินไหวที่ตรวจพบ จะรายงาน “แจ้งระดับแรงสั่น
สะเทือนด่วน” ได้ภายใน 1.5 นาทีหลังเกิดแผ่นดินไหว
1
ส่วนข่าวแผ่นดินไหวทั่วไป ซึ่งหมายถึงข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหลังจากนั้น ก็จะมีการทยอยแจ้งให้ทราบตามลำดับ หลังการแจ้งให้ทราบข่าวด่วนแล้ว ดังนี้
เกิดแผ่นดินไหว -> แจ้งแผ่นดินไหวฉุกเฉินด่วน ->
แจ้งระดับแรงสั่นสะเทือนด่วน -> แจ้งเกี่ยวกับศูนย์กลางของแผ่นดินไหว -> แจ้งศูนย์กลางที่เกิดแผ่นดินไหวและระดับแรงสั่นสะเทือน
1
การแจ้งเตือนข่าวแผ่นดินไหวฉุกเฉินกรณีเร่งด่วน
(แจ้งเตือนภัย) นี้ จะมีเงื่อนไขว่า จะแจ้งให้กับพื้นที่
ที่คาดว่าจะเกิดแผ่นดินไหวที่จะมี "ความรุนแรงของ
แผ่นดินไหวสูงสุด -5 ขึ้นไป" หรือ "เกิดการสั่นไหวในพื้นที่เป็นรอบระยะเวลายาวนานในระดับ 3 ขึ้นไป"
เพื่อแจ้งให้พื้นที่ที่มี "ความรุนแรงของแผ่นดินไหวระดับ 4 ขึ้นไป" หรือ "ที่มีการสั่นไหวในระยะเวลายาวในระดับ 3 ขึ้นไป” ได้รับทราบ
1
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและภาพจาก:
v=ggzoan2IQyI
si=_SwzQceumZ18T7e_
หากเนื้อหาสาระนี้ มีประโยชน์กับท่าน
กรุณา กด “ไลค์” กด “แชร์”
เสนอ “คอมเม้นท์”
เพื่อการปรับปรุงและนำเสนอเนื้อหาสาระดีๆ
ในครั้งต่อๆ ไปด้วยจักขอบคุณยิ่ง
“ข่าวไฮไลท์ญี่ปุ่น”
โฆษณา