การทำงานรูปแบบ Hybrid workplace ยังมีแนวโน้มถูกใช้อยู่ต่อไปในอนาคต โดยยังต้องจับตาเทรนด์ในระยะข้างหน้า เช่น หากกลุ่ม Gen Z ที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น และนิยมการทำงานรูปแบบ Work from anywhere ก็อาจทำให้รูปแบบการทำงานของบริษัทในระยะต่อไป กลับมาถูกปรับให้มีสัดส่วนจำนวนวันทำงานจากที่บ้าน หรือจากที่ไหนก็ได้มากขึ้น
Hybrid workplace คือ รูปแบบการทำงานที่ผสมผสานระหว่างการให้พนักงานทำงานที่ใดก็ได้ สลับกับการเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศตามสัดส่วนที่แต่ละบริษัทกำหนด ซึ่งจะมีความแตกต่างจากรูปแบบการทำงานแบบดั้งเดิม ที่กำหนดให้พนักงานเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศเท่านั้น นอกจากนี้ บางบริษัทก็มีการให้อิสระกับพนักงานให้สามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ โดยไม่ต้องเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศเลย กล่าวคือเป็นการทำงานในรูปแบบ Work from anywhere
ทั้งนี้ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 การทำงานรูปแบบ Hybrid workplace และ Work from anywhere เริ่มถูกนำมาใช้มากขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2010 แต่ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มบริษัท Tech company หรือเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ IT ในต่างประเทศ ที่มักจะต้องทำงานนอกเวลา หรือนอกสถานที่เป็นประจำอยู่แล้ว ขณะที่บริษัททั่วไป รวมถึงบริษัทในไทยยังเป็นรูปแบบการเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศ
การทำงานรูปแบบ Hybrid workplace ส่งผลให้พนักงานส่วนใหญ่มีแนวโน้มยอมรับการเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศทุกวันได้น้อยลง โดยผลสำรวจ People at Work 2022: A Global Workforce View ของ ADP Research Institute ระบุว่า 64% ของพนักงานที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง อาจเลือกย้ายงาน หากต้องเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศทุกวัน โดยกลุ่มตัวอย่างในอเมริกาเหนือมีสัดส่วนของคำตอบดังกล่าวสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ 68%
SCB EIC มองว่า Hybrid workplace จะทำให้ตลาดพื้นที่สำนักงานให้เช่าต้องเผชิญกับสถานการณ์การแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น โดยพื้นที่สำนักงานให้เช่ากลุ่มเกรด B มีแนวโน้มได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โดยตลาดพื้นที่สำนักงานให้เช่าเกรด B ในกรุงเทพฯ ปัจจุบันมีขนาดพื้นที่โดยรวมราว 7 ล้านตารางเมตร และคิดเป็นขนาดพื้นที่โดยรวมมากกว่าในกลุ่มเกรด A ราว 2 เท่า อาจต้องเผชิญกับสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น
เนื่องจากการทำงานรูปแบบ Hybrid workplace จะกดดันให้อัตราค่าเช่าต่อขนาดพื้นที่ลดลง ประกอบกับผู้เช่าพื้นที่สำนักงานเกรด B เดิมอาจหันไปเช่าพื้นที่สำนักงานเกรด A ซึ่งมีระบบสาธารณูปโภคที่ดีกว่าแทน ด้วยอัตราค่าเช่าที่ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ดังนั้น การพัฒนาโครงการอาคารสำนักงานให้เช่าใหม่เกรด A หรือการยกระดับโครงการอาคารสำนักงานให้เช่าจากเกรด B ไปเป็นเกรด A จะส่งผลดีต่อการดึงดูดผู้เช่าพื้นที่ในระยะต่อไปมากยิ่งขึ้น
สำหรับผู้ประกอบการอาคารสำนักงานขนาดกลางและเล็กส่วนใหญ่ที่ยังมีข้อจำกัดทางด้านการลงทุน ทำให้ไม่สามารถยกระดับพื้นที่สำนักงานขึ้นไปเป็นเกรด A+ ได้นั้น อาจพิจารณาถึงการ Renovate พื้นที่เดิมทดแทน รวมถึงการเลือกให้ความสำคัญกับการยกระดับอาคารสำนักงานให้ได้รับ Certification ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอาคารที่เป็นคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาวะของผู้คนที่อยู่ในอาคาร และความยั่งยืน เช่น LEED (Leadership in Energy and Environmental Design), WELL Building Standard หรือเทียบเท่า
รวมถึงยังมีรูปแบบของโครงการขนาดใหญ่ที่มีส่วนประกอบของทั้งอาคารสำนักงานให้เช่า Single use หรือ อาคาร Mixed-use และอาคารคอนโดมิเนียมอยู่ในพื้นที่โครงการเดียวกันในโครงการ Mega project อย่าง One Bangkok ในพื้นที่ใจกลางเมือง และ The Forestias ในพื้นที่บางนา เป็นต้น ซึ่งยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการ
ส่งผลให้ผู้ประกอบการอาคารสำนักงานให้เช่ายังต้องพิจารณาการเปิดโครงการใหม่ด้วยความระมัดระวังต่อไป โดยเฉพาะหากโครงการอยู่ในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูง หรือไม่มีการกำหนดผู้เช่าพื้นที่กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ในส่วนของโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น หากตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ศักยภาพ หรือเป็นอาคารที่ไม่สามารถปรับปรุงได้แล้ว ก็ควรพิจารณาถึงการปรับรูปแบบไปใช้งานเชิงพาณิชย์อื่น ๆ เช่น พื้นที่ค้าปลีก คลังสินค้า Data center อาคารจอดรถ เป็นต้น
ผู้ประกอบการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มยกระดับพื้นที่ส่วนกลางของโครงการที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบ และคอนโดมิเนียมให้รองรับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงให้ความสำคัญกับการพัฒนา Smart home
ทั้งนี้เทรนด์ Workcation ได้รับความนิยมในต่างประเทศมาตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 นับเป็นโอกาสของตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุนปล่อยเช่าในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญของไทยมากขึ้น ที่ผู้ประกอบการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุนปล่อยเช่าอาจจัดหาอุปกรณ์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ส่วนกลางของโครงการที่อยู่อาศัย รวมถึงการพัฒนา Smart home ที่ช่วยเอื้อในการทำงานเพิ่มเติม
นอกจากนี้ กลุ่ม Gen Z รวมถึงคนรุ่นใหม่ในวัยที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น จะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในอนาคต โดยนอกจากแนวโน้มความต้องการรูปแบบการทำงานที่สามารถสร้างความสมดุลระหว่างการทำงาน และการใช้ชีวิต ที่จะทำให้การทำงานรูปแบบ Hybrid workplace ยังคงอยู่แล้ว แนวโน้มในการเลือกซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยของกลุ่ม Gen Z รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความสะดวกในการเดินทางไปทำงาน
นอกจากนี้ กลุ่ม Gen Z รวมถึงคนรุ่นใหม่ยังมีความสนใจในการประกอบอาชีพอิสระ ทั้งเป็นรายได้หลัก และรายได้เสริมมากขึ้น ทั้งนี้จากรูปแบบการทำงานของอาชีพอิสระที่มีความแตกต่างจากการทำงานประจำ