Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
CPD Academy
•
ติดตาม
2 เม.ย. 2024 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
✈️ จ่ายเงินไปต่างประเทศหัก ณ ที่จ่ายไหม ต้องยื่น ภ.พ.36 และภ.ง.ด.54 หรือเปล่า ✈️
กรณีที่เราซื้อสินค้า หรือบริการจากต่างประเทศ เข้ามาโดยตรง ต้องมีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
“แล้วการจ่ายเงินไปต่างประเทศหัก ณ ที่จ่ายไหมล่ะ?” เป็นถามที่มักพบได้บ่อยในยุคสมัยปัจจุบัน
เพราะทุกวันนี้ ค่าโฆษณาในเฟสบุค (Meta) หรือค่าซอฟต์แวร์ต่างๆ ล้วนแล้วแต่มาจากต่างประเทศทั้งนั้น CPD Academy จึงขออาสา พาทุกคนไปหาคำตอบพร้อมกัน จะเป็นยังไง ไปดู!!
📌 ภ.พ.36 คืออะไร ภ.ง.ด.54 คืออะไร
👉 ภ.พ.36 คือ แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่รู้จักกันในชื่อ VAT นั่นแหละ ซึ่งถูกใช้ใน 3 กรณี ดังต่อไปนี้
1. จ่ายเงินค่าซื้อสินค้า หรือบริการ
• ผู้ประกอบการอยู่ต่างประเทศ เข้ามาประกอบกิจการในไทยชั่วคราว ไม่ได้จด Vat
• ผู้ประกอบการที่ให้บริการในต่างประเทศ และมีการใช้บริการนั้นในไทย
2. รับโอนสินค้า หรือรับโอนสิทธิ์ในบริการ ที่ได้เสียภาษีอัตราร้อยละ 0
3. ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน
แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เราก็มักจะคุ้นเคยกับ ข้อที่ 1 นั่นแหละ ก็คือ การที่เราใช้แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ในขณะที่ตัวเรานั่งอยู่ในประเทศไทย กรณีนี้เข้าข่ายข้อ 1.2 ค่ะ
👉 ภ.ง.ด.54 คือ แบบยื่นรายการ นำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจำหน่ายเงินกำไร ตามมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ เป็นแบบฟอร์มการจ่ายเงินไปต่างประเทศ หัก ณ ที่จ่าย โดยจะถูกใช้เมื่อกรณีดังต่อไปนี้
1. เมื่อจ่ายเงินได้ตามมาตรา 70 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3)(4)(5) หรือ (6) ที่จ่ายจาก หรือในประเทศไทย
2. เมื่อจ่ายเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
ถ้าการใช้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศของเรานั้น เข้าข่ายสองข้อด้านบนนี้ นอกจากจะยื่น ภ.พ.36 แล้ว จะต้องยื่น ภ.ง.ด.54 ไปอีกต่อนึงด้วย
📌 ใครเป็นคนจ่าย ภ.พ.36
สำหรับ ภ.พ.36 หรือแบบฟอร์ม นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีที่เราซื้อสินค้า หรือบริการจากต่างประเทศ
“ผู้ที่มีหน้าที่ยืนแบบ คือ ผู้จ่ายเงิน(แม้จะไม่จดทะเบียน VAT ก็ตาม) ซึ่งก็คือบริษัทที่จ่ายค่าสินค้าหรือบริการ อย่างไรก็ตาม บริษัทสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายชำระไปแล้วตาม ภ.พ.36 มาใช้สิทธิ์เครดิตภาษีซื้อ ในการยื่น ภ.พ.30 ได้นะ (กรณีไม่จด VAT ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ไม่ต้องห้าม)”
.
📌ใครเป็นคนจ่าย ภ.ง.ด.54
สำหรับ ภ.ง.ด.54 หรือแบบฟอร์ม นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีที่เราจ่ายเงินได้ มาตรา 40(2)-(6) ไปต่างประเทศ
มาดูตัวอย่างแบบนี้ เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น
*ค่าโฆษณา Google/Facebook ไม่ต้องนำส่ง ภ.ง.ด.54 เพราะเป็นเงินได้ประเภท 40(8)
*ค่าใช้บริการภาพจาก Shutter Stock ต้องนำส่ง ภ.ง.ด.54 เพราะเป็นเงินได้ประเภท 40(3)
ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ คือ ผู้จ่ายเงิน(บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล) มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย และนำส่งสรรพากร
📌การไม่ยื่น ภ.พ.36 ภายในเวลาที่กำหนด
กรณีจ่ายชำระค่าบริการหรือสินค้า ไปต่างประเทศ ต้องนำส่งภาษีภายใน 7 วัน(ภายใน 15 วันกรณียื่นแบบออนไลน์) นับตั้งแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
หากไม่นำส่งตามกำหนดเวลา ต้องชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน และเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่า ของภาษีแล้วแต่กรณี
.
📌การไม่ยื่น ภ.ง.ด.54 ภายในเวลาที่กำหนด
กรณีการหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.54 ต้องนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายภายใน 7 วัน(ภายใน 15 วันกรณียื่นแบบออนไลน์) นับตั้งแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
หากไม่นำส่งตามกำหนดเวลา ต้องชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
⭐ สรุป จ่ายเงินไปต่างประเทศหัก ณ ที่จ่ายไหม ยื่น VAT หรือเปล่า ⭐
การจ่ายเงินไปต่างประเทศหัก ณ ที่จ่าย หรือยื่น VAT ไหม สาระสำคัญต้องดูที่ จ่ายเงินได้ประเภทอะไร (เข้าเงื่อนไข ภ.พ.36 หรือ ภ.ง.ด.54 ไหม) และจ่ายให้ใคร (ไม่ได้อยู่ไทยใช่ไหม)
และให้แยกพิจารณา เพราะบางค่าใช้จ่าย ยื่น ภ.พ.36 อย่างเดียว เช่น โฆษณา Facebook / Google
แต่บางค่าใช้จ่ายต้องยื่นทั้ง ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 เช่น Zoom, Shutter Stock
หากพิจารณา 2 เรื่องนี้แล้ว น่าจะทำให้เพื่อนๆ พอเข้าใจหลักการ และยื่นภาษีทั้งสองแบบได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้นค่ะ
และสำหรับใครที่อยากเข้าใจเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายมากขึ้นกว่าเดิม เพิ่มเติมเก็บ CPD ได้ด้วย แนะนำลงเรียนคอร์สนี้ได้เลยค่า: ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคำนวณและบันทึกบัญชีอย่างไร ?
https://www.cpdacademy.co/course/how-to-calculate-witholding-tax-and-accounting
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย