27 มี.ค. เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Eli Lilly ธุรกิจยามาแรงจนสั่นคลอนหุ้น 7 นางฟ้า

ณ เวลานี้ สายตานักลงทุนต่างจับจ้องไปที่ ‘Eli Lilly’ บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเภสัชกรรม ที่อาจกลายมาเป็นนางฟ้าน้องใหม่ ในหุ้นกลุ่ม ‘Magnificent Seven’
บัลลังก์ของธุรกิจเทคฯ ระดับเทพ ที่ถูกขนานนามให้เป็นหุ้น 7 นางฟ้า อันประกอบด้วย Apple, Amazon, Alphabet, Meta, Microsoft, Nvidia และ Tesla อาจจะถูกสั่นคลอน เมื่อผลประกอบการล่าสุดไม่เป็นที่ประทับใจนัก อย่างเช่น Tesla ซึ่งนักลงทุนมองว่าทั้งแนวโน้มการดำเนินงานและราคาหุ้น อาจไม่สดใสเหมือนที่ผ่านมา
เมื่อนักลงทุนเริ่มตั้งคำถามว่า หากนางฟ้าอย่าง Tesla ไม่งดงามดังเดิม แล้วจะตกสวรรค์หรือไม่? ถ้าเป็นเช่นนั้น จะมีนางฟ้าตัวใดถือกำเนิดมาทดแทนหรือเปล่า? ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ก็ประเมินกันว่า ‘มง’ น่าจะ ‘ลง’ ที่ Eli Lilly บริษัทยารายใหญ่ของสหรัฐฯ ที่อาจเป็นผู้โค่นบัลลังก์ Tesla ลงได้
ชื่อ Eli Lilly อาจไม่คุ้นหูนัก เมื่อเทียบกับ Big Name รายอื่น ๆ ในวงการ วันนี้ BBLAM จะพามาทำความรู้จักบริษัทยายักษ์ใหญ่ระดับโลกรายนี้กัน เริ่มต้นกันที่อายุของ Eli Lilly ที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 140 ปี ที่สำคัญนั่งแท่นบริษัทยาเบอร์ 1 ของสหรัฐฯ มาอย่างยาวนาน
ประวัติศาสตร์ของ Eli Lilly เริ่มในปี 2419 โดยชายที่ชื่อ อีไล ลิลลี ผู้ก่อตั้งที่เป็นทั้งทหารชาวอเมริกัน เภสัชกร นักเคมี และนักธุรกิจ โดย Eli Lilly เป็นบริษัทยาเชิงพาณิชย์รายแรกของโลกที่ผลิตอินซูลิน ใช้รักษาโรคเบาหวาน ภายใต้แบรนด์ Iletin รวมถึงยารักษาโรคอื่น ๆ อีกมากมาย
ในตอนนี้ ชื่อของ Eli Lilly กำลังถูกจับตามองมากขึ้น เมื่อราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่อง จนบริษัทมีมูลค่าติด Top 10 ของโลก จากผลประกอบการที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดย Eli Lilly มีความเชี่ยวชาญด้านยารักษาโรคเรื้อรังเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามสังคมสูงวัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก
และ Eli Lilly ก็เป็นหนึ่งในหุ้นที่ BBLAM ลงทุนผ่านกองทุน BCARE โดยมี Wellington Management เป็นผู้จัดการกองทุนหลัก ซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุนได้อย่างโดดเด่น ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับตัวกว่า 100% หลังประสบความสำเร็จในการคิดค้นยารักษาเบาหวานชนิดที่ 2 และช่วยลดน้ำหนักในชื่อ ‘Mounjaro’ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เรียบร้อยแล้ว
Eli Lilly ยังให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในการพัฒนาธุรกิจยา เช่น ความร่วมมือกับ Isommorphic Labs บริษัทวิจัยยาภายใต้ Alphabet ในการใช้ AI พัฒนายาที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก หรือการใช้ AI ในการระบุเป้าหมายของยารักษาโรคอัลไซเมอร์ สอดคล้องกับการใช้ Generative AI ที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรม Healthcare
นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานของกองทุนยังได้อานิสงส์จากหุ้น Sarepta Therapeutics บริษัทวิจัยทางการแพทย์และการพัฒนายา รวมทั้งหุ้น Merus บริษัทวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและภูมิคุ้มกันมะเร็งที่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งเช่นกัน ตามการฟื้นตัวของกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ
ผู้จัดการกองทุนจึงมองว่าหุ้นกลุ่ม Healthcare ยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในระยะยาว จากความต้องการบริการด้านสุขภาพ ยารักษาโรค และนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้สูงวัยทั่วโลก ซึ่งผู้จัดการกองทุนให้น้ำหนักลงทุนในหุ้นกลุ่ม BioPhama Large Cap หรือธุรกิจยาที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่โดดเด่น มีความสามารถในการทำกำไรสูง และมีกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง
นอกจากนี้ ผู้จัดการกองทุนมองว่าธุรกิจ Healthcare มีโอกาสควบรวมกิจการกันมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเทคโนโลยี เนื่องจากบริษัทขนาดเล็กไม่สามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ด้วยต้นเอง จึงต้องอาศัยบริษัทขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น Pfizer ที่ได้ประกาศซื้อกิจการ Seagen บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพชั้นนำด้านมะเร็ง ด้วยมูลค่าประมาณ 43,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขณะที่ธุรกิจในกลุ่ม Healthcare นับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะ Generative AI เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รองรับความต้องการของสังคมสูงวัยในระยะข้างหน้า
คว้าโอกาสการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Healthcare ไปกับกองทุน BCARE ของ BBLAM หรือกองทุนประหยัดภาษี BCARERMF และ BCARESSF รายละเอียดกองทุน คลิก https://www.bblam.co.th/search?query=BCARE
สะดวก ลงทุนได้ง่ายๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ หรือ BF Fund Trading จาก BBLAM
คำเตือน : การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน
กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
#BBLAM #เศรษฐกิจ #การลงทุน #กองทุน #กองทุนรวม
โฆษณา