28 มี.ค. เวลา 11:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

3 สูตรบริหารเงิน ไลฟ์สไตล์ไหนก็เลือกได้

เชื่อว่าทุกคนที่เริ่มทำงานจนมีรายได้เป็นของตัวเองแล้ว ต้องเคยเห็นคำแนะนำให้เก็บออมเงิน 10-20% ของรายได้ ถึงแม้จะเป็นคำแนะนำที่ดีและใช้ได้จริงอยู่เสมอ แต่ต่างคนย่อมมีเป้าหมายในชีวิตที่ต่างกัน ดังนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต จึงชวนทุกคนมารู้จักสูตรบริหารเงิน 3 แบบ ที่อาจเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง และได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง
แบบที่ 1 : 50/30/20 สูตรบริหารเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือน
จริง ๆ แล้วสูตรบริหารเงิน 50/30/20 เป็นสูตรพื้นฐานที่สามารถใช้กับการวางแผนการเงินได้ทุกประเภท เช่น การท่องเที่ยว การซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการซื้อรถยนต์ เป็นต้น แต่ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต ขอแนะนำสูตรนี้ให้กับมนุษย์เงินเดือนทุกคน เพราะเป็นวัยที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือค่าใช้จ่ายทางสังคมก็ตาม
สูตรบริหารเงิน 50/30/20 แบ่งรายได้หลังจากหักภาษีออกแล้ว ดังนี้
50% สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็น (Needs)
ได้แก่ ค่าอาหาร ยารักษาโรค และข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป-กลับระหว่างที่อยู่อาศัยและที่ทำงาน ค่าเช่าหรือค่างวดผ่อนชำระที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ (ในกรณีที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางไปทำงาน)
หากลองคำนวณแล้วพบว่าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เกิน 50% ของรายได้ อาจพิจารณาตัดบางรายการออก เช่น ค่าอาหาร จากปกติรับประทานที่ห้างสรรพสินค้าทุกวัน อาจเปลี่ยนเป็นการทำเองในบางมื้อ แล้วยกยอดค่าอาหารที่ห้างสรรพสินค้าบางส่วน ไปอยู่ในค่าใช้จ่ายกลุ่มถัดไป
30% สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต (Wants)
เช่น ค่าใช้จ่ายในการสังสรรค์ ค่าเครื่องสำอาง ค่าเดินทางท่องเที่ยว ค่าสมาชิกแพลตฟอร์มเพื่อความบันเทิงอย่าง YouTube และ Netflix ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ (ในกรณีที่ใช้รถยนต์เฉพาะวันหยุดเป็นหลัก) ค่ากาแฟ ค่าสมาชิกฟิตเนส เป็นต้น
ด้วยความที่สัดส่วนนี้สูงถึง 30% จึงเหมาะกับวัยทำงานที่อาจต้องให้ความสำคัญกับสถานะทางสังคม และอาจต้องใช้จ่ายเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ เช่น อาชีพเซลล์ที่ต้องพบลูกค้าเป็นประจำ จึงจำเป็นต้องมีรถยนต์, อาชีพนักการตลาด ที่ต้องสวมใส่เสื้อผ้าตัดเย็บดี เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือในสายตาลูกค้า เป็นต้น
หากลองคำนวณแล้วพบว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้เกิน 30% ของรายได้ ให้ตัดค่าใช้จ่ายของกิจกรรมที่ชอบน้อยที่สุดออกก่อน เช่น หากออกกำลังกายแค่ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ และส่วนใหญ่มักเป็นการวิ่งบนลู่ อาจตัดค่าสมาชิกฟิตเนสออก แล้วเปลี่ยนเป็นการวิ่งตามสวนสาธารณะใกล้บ้านหรือที่ทำงาน หรือออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่บ้านแทน
20% สำหรับการเก็บออมหรือใช้หนี้ (Savings & debts)
เช่น เงินฝากออมทรัพย์ สลากออมทรัพย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าเบี้ยประกันสะสมทรัพย์ ค่าซื้อหน่วยลงทุน รวมไปถึงหนี้บัตรกดเงินสด หนี้บัตรเครดิต และเงินกู้เพื่อการศึกษาและการรักษาพยาบาลด้วย ค่าใช้จ่ายประเภทนี้ไม่ควรตัดออกเหมือนหมวดอื่น ๆ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินในอนาคตได้
ถ้ายังคิดไม่ออกว่าจะนำเงินในสัดส่วนนี้ไปใช้เก็บออมยังไงดี OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต ขอแนะนำประกันสะสมทรัพย์โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 เบี้ยเริ่มต้นแค่ 30,000 บาท อีกทั้งยังให้เงินคืน 20% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยทุกปี ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1 - 6 อีกด้วย
สนใจขอทำประกันสะสมทรัพย์ โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 https://www.ocean.co.th/our-products/tax-saving/oceanlife-aomsabai105
อย่างไรก็ตาม สูตร 50/30/20 ก็มีความสับสนอยู่บ้าง โดยเฉพาะการแบ่งแยกระหว่าง “ค่าใช้จ่ายจำเป็น” และ “ค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต” เช่น การเป็นเจ้าของรถยนต์ หลายคนมักจัดให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์เป็นค่าใช้จ่ายจำเป็น แต่กลับใช้รถยนต์นาน ๆ ครั้ง เฉพาะเสาร์อาทิตย์หรือเดินทางไปต่างจังหวัดเท่านั้น
ดังนั้น จึงควรกำหนดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตมากกว่า นอกจากนั้น ในกรณีของผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาแล้วเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน และได้เงินเดือนไม่มากนัก อาจมีค่าใช้จ่ายบางประเภทที่สัดส่วนสูงถึง 50% ของรายได้ เช่น ลูกจ้างประจำของหน่วยงานข้าราชการ ได้รับเงินเดือนเพียง 11,500 บาท แต่อาจมีค่าเช่าบ้านและค่าน้ำค่าไฟรวมกันสูงถึง 6,000 บาทต่อเดือน คิดเป็น 52% ของรายได้ทั้งหมด
แบบที่ 2 : 70/20/10 สูตรบริหารเงินสำหรับผู้เริ่มต้น
สูตรนี้เหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นทำงาน และเริ่มวางแผนทางการเงิน เนื่องจากไม่มีการแบ่งแยกระหว่างค่าใช้จ่ายจำเป็นและค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ชัดเจน ค่าใช้จ่ายทั้ง 2 จะถูกควบรวมกันเป็น “ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน” ทำให้ไม่สับสน นอกจากนั้นผู้ที่มีหนี้เกี่ยวกับการศึกษาอย่าง หนี้กยศ. จะสามารถใช้สูตรบริหารเงินนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะแบ่งแยกสัดส่วนของ “หนี้” แยกออกมาจากจากค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อย่างชัดเจน
สูตรบริหารเงิน 70/20/10 แบ่งรายได้หลังจากหักภาษีออกแล้ว ดังนี้
70% สำหรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (Daily expenses)
ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าเช่าหอพัก ที่เป็นค่าใช้จ่ายจำเป็น ไปจนถึงค่าเสื้อผ้า ค่ากินดื่มสังสรรค์ ที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และค่าน้ำมันรถ ที่เป็นค่าใช้จ่ายก่ำกึ่งระหว่างทั้ง 2 ประเภท ก็สามารถนำมารวมกันในหมวดนี้ได้
นอกจากนั้น คนไทยจำนวนไม่น้อย แม้จะเริ่มทำงานแล้ว ก็ยังอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกับพ่อแม่ จึงไม่มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นบางอย่าง หรือถ้ามี ก็ไม่ต้องรับผิดชอบมากนัก เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร ค่าสินค้าอุปโภคบริโภคภายในบ้าน เป็นต้น จึงสามารถใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตได้มากขึ้น
 
20% สำหรับการเก็บออมและการลงทุน (Savings & investments)
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เน้นที่การเก็บออมและการลงทุนเป็นหลัก สำหรับผู้เริ่มต้น ควรเริ่มจากการเก็บออมเพื่อเป็นเงินฉุกเฉินก่อน แล้วจึงจัดสรรเพื่อการลงทุนอื่น ๆ ต่อไป
10% สำหรับใช้หนี้และดูแลครอบครัว (Debts & donations)
นอกจากหนี้ประเภทต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วในสูตร 50/30/20 หากต้องการให้หนี้รถและบ้าน (ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในหมวดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน) รวมถึงหนี้การศึกษาหมดไวขึ้น ก็สามารถนำเงินในส่วนนี้ไป “โปะ” ได้ด้วย นอกจากนั้น ในกรณีของผู้ที่ยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ก็สามารถดูแลหรือแบ่งเบาภาระครอบครัว ด้วยการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายบางส่วนในบ้านได้ด้วยเงินส่วนนี้
สูตรบริหารเงิน 70/20/10 เองก็มีข้อจำกัดในทางตรงกันข้ามกับสูตร 50/30/20 เนื่องจากสูตรนี้ไม่มีการกำหนดแน่นอนระหว่างค่าใช้จ่ายจำเป็น และค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนในการแยกค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ประเภทกับหลาย ๆ คนที่ตัดสินใจแยกบ้านกับพ่อแม่ หรือแต่งงานแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการเงิน
นอกจากนั้น บางคนอาจมีภาระหนี้สินสูง ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วอาจเกินกว่า 10% ของค่าใช้จ่าย แต่เมื่อใช้สูตรบริหารเงินนี้แล้ว อาจไม่ครอบคลุมจำนวนหนี้ทั้งหมด ซึ่งหากชำระไม่ครบ อาจโดนค่าปรับจากธนาคาร หรือในกรณีมีหนี้บัตรเครดิต หากจ่ายขั้นต่ำเป็นระยะเวลานาน ๆ นอกจากจะเคลียร์หนี้เงินต้นไม่ได้แล้ว ดอกเบี้ยยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย
แบบที่ 3 : 40/40/20 สูตรบริหารเงินเพื่อความมั่งคั่ง
สูตรนี้เหมาะกับผู้ที่มีหนี้สินน้อย หรือไม่มีหนี้สินเลย เพราะเป็นสูตรที่เน้นการเก็บออมและการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ในระยะยาว จึงสามารถใช้เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับทุกคนได้
สูตรบริหารเงิน 40/40/20 แบ่งรายได้หลังจากหักภาษีออกแล้ว ดังนี้
 
40% สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็น (Needs)
ค่าใช้จ่ายจำเป็นของสูตร 40/40/20 นั้นไม่ต่างจากสูตร 50/30/20 แต่ด้วยสัดส่วนที่น้อยกว่า ผู้เลือกใช้สูตรนี้จึงต้องวางแผนการใช้จ่ายให้ถี่ถ้วน และอาจต้องประหยัดกว่าผู้เลือกใช้สูตรอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีรายได้สูง เงินจำนวน 40% ของรายได้อาจมากเกินพอสำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นก็ได้
40% สำหรับการเก็บออมและการลงทุน (Savings & investments)
สิ่งที่ทำให้สูตร 40/40/20 มีเอกลักษณ์และต่างจากสูตรอื่น ๆ คือการเก็บออมและลงทุนในสัดส่วนที่สูงถึง 40% ของรายได้ จึงทำให้ครอบคลุมทั้งการเก็บออมเพื่อเป็นเงินฉุกเฉิน การเก็บออมในรูปแบบเงินฝากออมทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำแต่ก็ยังมีดอกเบี้ย การทำประกันสะสมทรัพย์ การลงทุนในกองทุน หุ้น หรือแม้กระทั่งสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ
1
ข้อควรระวังในการใช้สูตร 40/40/20 คือ การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมากจนเกินไป อาจทำให้ขาดทุนจนมูลค่าของสินทรัพย์ที่มีต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้
20% สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต (Wants)
หลาย ๆ คนเลือกที่จะไม่ใช้สูตร 40/40/20 เพราะมองว่าสัดส่วนของค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตนั้นน้อยเกินไป จนอาจทำให้เกิดความเครียด เพราะต้องจำกัดการใช้เงินเพื่อไลฟ์สไตล์ เช่น ไม่สามารถมีไลฟ์สไตล์แบบ Cafe Hopping (การเข้าออกร้านกาแฟที่ตกแต่งสวยงาม หรือเสิร์ฟกาแฟคุณภาพสูงหลาย ๆ ร้านต่อวัน) ได้ ดังนั้น สูตรนี้อาจเหมาะกับผู้ที่ชอบท่องเที่ยวมากกว่าซื้อของเพื่อไลฟ์สไตล์ เพราะสามารถสะสมค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพื่อเป็นเงินทุนก้อนใหญ่สำหรับท่องเที่ยวประจำปีได้
ไม่ว่าสูตรการเงินที่คุณเลือกใช้จะเป็นสูตรไหน ก็สามารถใช้ประกันสะสมทรัพย์เป็นตัวช่วยในสัดส่วนของการเก็บออมได้เสมอ โดยเฉพาะประกันสะสมทรัพย์ OCEAN LIFE ออมสบาย 10/5 ที่นอกจากจะให้เงินคืนแล้ว ยังให้ความคุ้มครองชีวิต ช่วยลดความกังวลหากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นอีกด้วย
“ลดหย่อนได้สูงสุด 1 แสน ไม่ต้องเสี่ยงกับความผันผวนของตลาด ขอทำประกันลดหย่อนภาษี โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 ” https://www.ocean.co.th/our-products/tax-saving/oceanlife-aomsabai105
โฆษณา