Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
1 เม.ย. เวลา 02:30 • ธุรกิจ
บทบาทธนาคารไทย ในเวที ESG โลก จากมุมมอง คุณชาติศิริ โสภณพนิช ในงาน The Economist
คุณชาติศิริ โสภณพนิช ท่านคือ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา BrandCase มีโอกาสไปร่วมงาน The Economist ซึ่งเป็นงานระดับนานาชาติ ที่มีบริษัทจากหลากหลายประเทศทั่วโลก มาเล่าให้ฟังถึงประเด็นที่หลายคนกำลังให้ความสนใจตอนนี้
โดยประเด็นสำคัญตอนนี้ของโลกคือ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน
หรือ ESG ที่ย่อมาจาก Environment Social and Governance
และตอนนี้อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับ ESG มาก ๆ คือ กลุ่มของอุตสาหกรรมทางการเงิน หรือกลุ่มธนาคาร
ซึ่งคุณชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ก็เป็น Speaker คนสำคัญของงานนี้
แล้วธนาคารมีบทบาทอย่างไร ในการขับเคลื่อน ESG
ประเด็นหลัก ๆ มีอะไรบ้าง ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
1. ธนาคารกำลังจูงใจบริษัทขนาดเล็ก ให้มาโฟกัสในเรื่องของ ESG มากขึ้น
ต้องบอกว่าธรรมชาติของบริษัทขนาดใหญ่นั้น มีความพร้อมในด้านเงินลงทุน รวมถึงบุคลากรต่าง ๆ มากกว่าบริษัทขนาดเล็ก
ทำให้โดยทั่วไปแล้ว บริษัทที่ตอนนี้มีแรงในการโฟกัสเรื่อง ESG คือบริษัทใหญ่ ๆ มากกว่า
ส่วนบริษัทเล็กลงมา อาจยังไม่มีความพร้อมหรือทรัพยากรมากนักที่จะทำเรื่องนี้แบบจริงจัง
ซึ่งทางธนาคารก็มีมาตรการในการสนับสนุนหลัก ๆ 3 อย่างคือ
- ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายทางด้านของ ESG กับบริษัทขนาดเล็ก
ซึ่งความจริงแล้วอาจไม่จำเป็นต้องตั้งเป้าที่สูงเหมือนกับบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหมด แต่ก็มีเกณฑ์ที่ลดลงมาเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ตามมาตรฐานสากล
- การจัดหาแหล่งเงินทุนให้กับบริษัทขนาดเล็ก เพื่อพัฒนาการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน
โดยจะมีการเตรียมเงินทุนสำหรับปล่อยกู้ เพื่อพัฒนาโครงการต่าง ๆ เช่น พลังงานทดแทนอย่างโซลาร์เซลล์ การบำบัดของเสีย, การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน
- การพัฒนาเครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า
อย่างที่ผ่านมาภาคธนาคาร มีการพัฒนาตราสารหนี้สีเขียว หรือที่เราได้ยินกันว่า “Green Bond”
คือตราสารหนี้ที่ออกได้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปลงทุนหรือชำระหนี้สินเดิม ในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2. ธนาคารและอีกหลายภาคส่วนกำลังร่วมมือกัน เพื่อลดการพึ่งพาการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และพลังงานชีวภาพอื่น ๆ
เนื่องจากจากประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก รวมถึงในประเทศไทยเองก็มีการพึ่งพาแหล่งพลังงานเหล่านี้จำนวนมาก
ซึ่งก็ทำให้ยังคงมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่สร้างผลเสียต่อสภาพแวดล้อมอยู่
โดยคุณชาติศิริได้บอกว่า ทุกภาคส่วนกำลังร่วมมือกัน เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการเทคโนโลยีและเงินทุน เพื่อพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
โดยประเทศไทยเองก็ตั้งเป้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality)
หรือพูดง่าย ๆ คือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้เท่ากับที่ชดเชยไป
เช่น การปลูกป่า การใช้พลังงานสะอาด ภายในปี 2050 โดยจะเริ่มนำร่องที่จังหวัดสระบุรี ที่ตั้งเป้าจะทำให้ได้เป็นจังหวัดแรก
และสุดท้าย คุณชาติศิริ ได้เสริมว่า ความท้าทายของการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่การลงทุนแบบยั่งยืนนั้น คือการสร้าง Awareness หรือการตระหนักรู้ให้กับธุรกิจต่าง ๆ
ซึ่งทุกภาคส่วนนั้นจะต้องวางแผนการเปลี่ยนผ่านนี้ให้เป็นระบบมากที่สุด
โดยต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจด้วย
ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งที่ธนาคารไทยกำลังให้ความสำคัญ เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนไทย ให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
3 บันทึก
8
3
3
8
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย