30 มี.ค. เวลา 15:21 • การศึกษา
ณ อุทยาน

ประวัติวันสงกรานต์ มีความเป็นมาอย่างไร

วันสงกรานต์ 2567 ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันหยุดราชการ อีกทั้งยังนับว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย โดยมีตำนานเรื่องเล่าความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับวันดังกล่าว บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักประวัติวันสงกรานต์แบบย่อๆ สรุปเข้าใจง่าย ติดตามกันได้เลย
"วันสงกรานต์" คืออะไร เปิดที่มาและความสำคัญที่ควรรู้
วันสงกรานต์ (ภาษาอังกฤษ : Songkran) คือ ประเพณีเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทย ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมาจากเทศกาลโฮลีของประเทศอินเดีย โดยจะมีธรรมเนียมเล่นสาดน้ำโดยไม่ถือโทษโกรธกัน เพราะเชื่อว่าเป็นการปัดเป่าสิ่งไม่ดี อีกทั้งยังช่วยคลายร้อนในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศร้อนจัด
ส่วนคำว่า "สงกรานต์" เป็นภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า "การเคลื่อนย้าย" ที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนย้ายของจักรราศี ซึ่งทำให้คนไทยยึดถือช่วงเวลาดังกล่าวเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนให้ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ตามแบบสากล และเริ่มใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา
ตำนานเรื่องประวัติวันสงกรานต์ตามความเชื่อของคนไทย ส่วนใหญ่จะอ้างอิงตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ โดยเล่าเรื่องราวของเศรษฐีคนหนึ่งที่ต้องการมีบุตร จึงทำพิธีขอบุตรกับพระอาทิตย์ และพระจันทร์ แต่ก็ไม่เคยสมหวัง
จนกระทั่งได้หุงข้าวสาร 7 สี นำไปบูชารุกขพระไทร พร้อมประโคมดนตรีถวาย และตั้งใจอธิษฐานขอบุตร รุกขพระไทรจึงไปขอบุตรกับพระอินทร์ให้ ทำให้ต่อมาภรรยาของเศรษฐีก็ตั้งท้องบุตรชายนามว่า "ธรรมบาลกุมาร" ซึ่งเป็นชายหนุ่มที่มีสติปัญญาหลักแหลม
วันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ต้องการประลองปัญญากับ ธรรมบาลกุมาร จึงทรงถามคำถาม 3 ข้อ โดยให้เวลา 7 วันในการคิดหาคำตอบ หากแพ้จะต้องตัดศีรษะบูชาอีกฝ่าย ซึ่งคำถามมีดังนี้
*ตอนเช้าราศีคนอยู่แห่งใด
*ตอนเที่ยงราศีของคนอยู่แห่งใด
*ตอนค่ำราศีของคนอยู่แห่งใด
ธรรมบาลกุมาร จึงเดินทางเข้าป่าเพื่อคิดหาคำตอบ แล้วได้ยินคู่นกอินทรีพูดถึงเรื่องที่ท้าวกบิลพรหมประลองปัญญาโดยมีชีวิตของเขาเป็นเดิมพัน เนื่องจากเขาสามารถฟังภาษานกได้ จึงได้ยินนกคู่นั้นตอบคำถาม ดังนี้
ตอนเช้าราศีของมนุษย์อยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า
ตอนเที่ยงราศีคนอยู่ที่อก มนุษย์จึงต้องใช้เครื่องหอมประพรมที่อก
ตอนค่ำราศีคนอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน
เมื่อได้ยินแล้ว ธรรมบาลกุมาร จึงกลับไปตอบคำถามแก่ท้าวกบิลพรหมจนเป็นฝ่ายชนะ ทำให้ท้าวกบิลพรหมต้องตัดศีรษะ ซึ่งหากศีรษะนี้ต้องถึงพื้นโลก จะเกิดเพลิงไหม้ขนาดใหญ่
โฆษณา