2 เม.ย. เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

3 กลยุทธ์จัดพอร์ตตราสารหนี้

ตราสารหนี้ เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่ให้สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ แก่ผู้ลงทุน อีกหนึ่งทางเลือกของนักลงทุนที่ไม่ชอบเสี่ยงสูง แต่ได้รับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังช่วยช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนของเราได้เป็นอย่างดี ซึ่งผลตอบแทนจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุของตราสารหนี้ รวมถึงความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้
ในปัจจุบันมีนักลงทุนที่สนใจลงทุนตราสารหนี้เพิ่มมากขึ้น แต่นักลงทุนอาจต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียด และเรื่องหนึ่งที่ต้องเรียนรู้ก่อนตัดสินใจลงทุน คือ “เทคนิคการจัดพอร์ตตราสารหนี้” เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ตัดสินใจในการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความเสี่ยงที่ยอมรับได้
วันนี้ Wealth advisory By CIMB Thai จะมาแชร์ "3 กลยุทธ์จัดพอร์ตตราสารหนี้" เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์และสไตล์การลงทุนของนักลงทุนที่สนใจ
รวมถึงยังทำให้พอร์ตตราสารหนี้ลดความเสี่ยงลงได้ด้วย โดยกลยุทธ์จัดพอร์ตตราสารหนี้ จะมี 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ
  • 1.
    แบบขั้นบันได (Ladder)
  • 2.
    แบบบาร์เบล (Barbell)
  • 3.
    แบบกระสุนปืน (Bullet)
3 กลยุทธ์ข้างต้นเป็นเพียงกลยุทธ์พื้นฐานสำหรับการจัดพอร์ตลงทุนในตราสารหนี้
ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถนำทั้ง 3 กลยุทธ์การลงทุนไปดัดแปลง หรือปรับใช้ให้เหมาะสมตามสภาวะในตลาด และสไตล์การลงทุนของนักลงทุน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน และช่วยสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว
1. จัดพอร์ตแบบขั้นบันได (Ladder)
กระจายการลงทุนในตราสารหนี้หลาย ๆ รุ่นที่มีอายุคงเหลือในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป เพราะความเสี่ยงที่สำคัญของตราสารหนี้ คือ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาเมื่ออัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลง
ข้อดีของการจัดพอร์ตแบบขั้นบันได คือ หากอัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้น นักลงทุนสามารถนําเงินต้นที่ได้จากการหมดอายุของพันธบัตรระยะสั้นในไปลงทุนต่อที่อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่ถ้าหากอัตราผลตอบแทนลดลงก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของนักลงทุนมากนักเพราะนักลงทุนจะได้กําไรจาก ราคาของพันธบัตรที่สูงขึ้นของพันธบัตรที่เหลือ
2. จัดพอร์ตแบบบาร์เบล (Barbell)
กระจายการลงทุนออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งลงทุนในหุ้นกู้ระยะสั้น และอีกส่วนหนึ่งลงทุนในหุ้นกู้ระยะยาว (โดยไม่มีหุ้นกู้อายุระยะกลาง) และได้ความคล่องตัวจากตราสารหนี้ระยะสั้น รวมไปถึงช่วยลดความเสี่ยงจากการที่อัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น โดยเงินที่ได้จากพันธบัตรระยะสั้นที่หมดอายุ สามารถนำไปลงทุนต่อได้ โดยไม่จำเป็นต้องขายพันธบัตรระยะยาวออกไปในราคาที่ขาดทุน
ซึ่งนักลงทุนไม่จำเป็นต้องแบ่งสัดส่วนที่เท่ากัน ขึ้นกับภาวะอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เช่น ถ้าอัตรา ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำสุดนักลงทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นในสัดส่วนที่มากขึ้น แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงนักลงทุนอาจ ลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวในสัดส่วนที่มากขึ้น แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างนิ่ง การแบ่งน้ำหนักลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นและ ระยะยาวอย่างละครึ่ง ๆ ก็น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีทางหนึ่ง
3. จัดพอร์ตแบบกระสุนปืน (Bullet)
ลงทุนในตราสารหนี้เพียงตัวเดียวหรืออาจลงทุนในกลุ่มของตราสารหนี้ที่ครบกำหนดในเวลาเดียวกัน เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการออมเงินโดยมีกำหนดระยะเวลาที่ต้องการใช้เงินในอนาคตที่แน่นอน ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำและคาดว่ามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น นักลงทุนควรลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น แต่หากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงและคาดว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง อาจเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว เป็นต้น
ท่านใดสนใจหรือมีคำถามเรื่องการลงทุนเพิ่มเติมสามารถติดต่อเพื่อขอคำแนะนำการลงทุนได้ที่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา โทร. 02 626 7777 หรืออีกช่องทางในการติดต่อผ่าน LINE Official Account CIMB Thai Wealth & Preferred คลิก https://lin.ee/GTvhTHd
References
โฆษณา