31 มี.ค. เวลา 14:31 • ท่องเที่ยว

พิพิธภัณฑ์เขื่อนสามผา และเยี่ยมชมเขื่อนของจริง ณ มณฑลหูเป่ย

เขื่อนสามผา หรือเขื่อนซานเสียต้าป้า (จีนตัวย่อ: 长江三峡大坝; อังกฤษ: Three Gorges Dam) เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (พ.ศ. 2550) ของประเทศจีน ลักษณะของเขื่อนเป็นแบบเขื่อนคอนกรีตถ่วงน้ำหนัก (Concrete gravity dam) กั้นขวางแม่น้ำแยงซี ณ เมืองหยีชาง มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน
มีประวัติการก่อสร้างยาวนาน ตั้งแต่สมัย ดร.ซุน ยัตเซ็น ในปี พ.ศ. 2462 และเริ่มศึกษาโครงการฯ เมื่อปี พ.ศ. 2473 .. สภาประชาชน ลงมติให้ก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2535 ในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีหลี่เผิง
เขื่อนเอนกประสงค์ที่จัดว่าใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ มีความยาว 2.3 กิโลเมตร ความสูง 185 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถกักเก็บน้ำได้ 39.3 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือส่วนประตูระบายน้ำ 1 ส่วน ประตูสำหรับเรือผ่าน 2 ส่วน และสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าอีก 2 ส่วน ซึ่งที่ตัวเขื่อนนั้นมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ถึง 32 เครื่อง มีกำลังผลิตไฟฟ้า 1 แสนล้านกิโลวัตต์
โครงการก่อสร้างเขื่อนซานเฉียต้าป้า หรือ Three Gorges multipurpose water control project เกิดขึ้นเนื่องด้วยในอดีต แม่น้ำแยงซีเกียงเกิดท่วมสร้างความเสียหายจนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจีนจึงสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำแยงซีเกียงเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2536 ใช้เงินลงทุนถึง 22,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว
วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างเขื่อนอีกประการหนึ่ง คือ ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก และป้องกันน้ำท่วม ซึ่งในขณะที่สร้างเขื่อนนั้น มีผู้อพยพจากน้ำท่วมบริเวณโดยรอบมีถึงประมาณ 1.35 ล้านคน
เรามุ่งหน้าไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เขื่อนสามผา โดยรถบริการของทางการซึ่งมารอรับนักท่องเที่ยวที่ขึ้นจากเรือ โดยรถแต่ละคันจะมีมัคคุเทศคอยเล่าเรื่องต่างๆให้ฟังเป็นภาษาจีน (วันที่เราไปชม ไม่มีนักท่องเที่ยวฝรั่ง)
ด้านนอกของพิพิธภัณฑ์จัดวางเครื่องมือ ยานพาหนะในการก่อสร้างเขื่อน ความใหญ่โตนั้น น่าประทับใจมาก
รูปลักษณ์ภายนอกของอาคารพิพิธภัณฑ์ ดูทันสมัย
พิพิธภัณฑ์โครงการ Three Gorges ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ธีมพลังงานน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก เปิดเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2022 โดยตั้งอยู่ที่เขื่อน Three Gorges ในเมืองอี้ชาง มณฑลหูเป่ย .. เป็นพิพิธภัณฑ์ 2 ชั้น มีห้องจัดแสดง 3 ห้อง จัดแสดงประวัติและการออกแบบของโครงการ Three Gorges รวมถึงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำของจีนในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา
ห้องโถงใหญ่ของพิพิธภัณฑ์เขื่อนสามผา .. รูปลักษณ์ดูทันสมัย และกว้างขวางกว่าพิพิธภัณฑ์เขื่อนสามผาที่เมือง ฉงชิ่ง
ทางเข้าห้องจัดแสดงถาวรของพิพิธภัณฑ์โครงการ Three Gorges – Three Gorges Hall
ภายในพิพิธภัณฑ์มีผนังโค้ง ซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ของโครงการเขื่อนสามโตรกและต้นกำเนิด นอกจากนี้ยังมีภาพนูนต่ำนูนสูง ประติมากรรมสำริด และ 'ทางเดินเชิงนิเวศ' ที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ส่วนแรกของการจัดแสดง เป็นการบอกเล่าลักษณะทางภูมิศาสตร์ในบริเวณที่ตั้งเขื่อนสามผา .. สภาพหิน และชั้นหินต่างๆ
สภาพแวดล้องทางธรรมชาติ
การสร้างเขื่อนมีผลกระทบต่อสภาพน้ำ และทรัพยากนทางน้ำ .. รวมถึงการยคุกคามประชากรปลาในแม่น้ำแยงซีอีกด้วย เช่น ปลาชนิดต่างๆ รวมถึงปลาโลมาจีน (Finless Porpoise) หรือที่ชาวพื้นเมืองรู้จักในนาม เจียงจู (Jiangzhu) ปลาโลมาป๋ายชื่อ (baiji)
.. รวมถึง ปลาในแม่น้ำแยงซี 3 ชนิด ที่ได้รับการขนามนามว่าเป็น ราชาปลาแห่งแยงซี
ป่าและสัตว์ป่า ..
เขื่อนแห่งนี้ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์และพืชของจีนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ .. พื้นที่ Three Gorges เพียงแห่งเดียวคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของพืชเมล็ดพันธุ์ของจีน—มากกว่า 6,000 สายพันธุ์ และอ่างเก็บน้ำที่สร้างโดยเขื่อนสามผานั้นอาจท่วมแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์เหล่านี้รวมถึงสัตว์อื่นๆ อีกกว่า 400 ชนิด
นอกจากนี้ อ่างเก็บน้ำยังสามารถทำลายสะพานบกออกเป็นเกาะเล็กๆ แยกกลุ่มสัตว์และพืชออกจากกัน ซึ่งอาจจะเป็นผลลบต่อการดำรงเผ่าพันธุ์และระบบนิเวศ รวมถึงการรักษาสมดุลทางวิวัฒนาการตามธรรมชาติ"
สถานที่ทางศาสนาและวัฒนธรรม
การจัดแสดงคอลเลกชันประติมากรรมดินเผาชั้นดี และโบราณวัตถุต่างๆที่ได้รับการขนย้ายมาจากโบราณสถานที่จมอยู่ใต้น้ำหลังการสร้างเขื่อน
แผงรูปปั้นนูนต่ำ แสดงวิถีชีวิตชาวเรือที่ยากลำบากในการต่อสู่กับธรรมชาติของผาหิน และความเชี่ยวกราก โหดร้านของสายน้ำอยงซี ก่อนการสร้างเขื่อน
ภาพถ่ายบ้านเมือง และผู้คนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำแยงซี
ด้วยขนาดที่ใหญ่ยักษ์และปริมาณน้ำเหนือเขื่อน .. ทำให้หมู่บ้านและชุมชนริมแม่น้ำ โดยเฉพาะในมหานครฉงชิ่งและมณฑลหูเป่ยต้องอพยพผู้คนรวมหลายล้านคน นับว่ามหาศาล และสร้างผลกระทบในวงกว้าง รัฐบาลจีนต้องสร้างหมู่บ้านให้ประชาชนที่อพยพขึ้นใหม่ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตกันใหม่หมด
ประวัติการก่อกำเนิด อภิมหาเขื่อนยักษ์ เขื่อนซานเฉียต้าป้า ..
การจัดแสดงยังครอบคลุมประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ที่เคยเป็นบ้านเมือง ที่อยู่อาศัยของผู้คนในพื้นที่ Three Gorges ก่อนการก่อสร้างเขื่อน Three Gorges .. รวมถึงสภาพพื้นที่เมืองฉงชิ่งในอดีต
แสดงส่วนต่างๆ ของเขื่อน ลักษณะการทำงานของเขื่อนอย่างละเอียด รวมถึงการจำลองเขื่อนให้เราได้เห็นแบบภาพรวมด้วยค่ะ
**เนื่องจากที่พิพิธภัณฑ์เขื่อนสามผา ไม่มีเอกสารที่เป็นภาษาที่ผู้เขียนสามารถเข้าใจได้ จึงขอใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นมาถ่ายทอดค่ะ
ประวัติและความขัดแย้งของเขื่อนสามผา
ผู้นำพรรคชาตินิยมจีนได้หารือกันครั้งแรกในช่วงทศวรรษปี 1920 แนวคิดเรื่องเขื่อนสามผาได้รับแรงผลักดันใหม่ในปี 1953 เมื่อผู้นำจีน เหมา เจ๋อตง สั่งการศึกษาความเป็นไปได้ของสถานที่หลายแห่ง
การวางแผนโดยละเอียดสำหรับโครงการนี้เริ่มขึ้นในปี 1955 ผู้เสนอโครงการยืนยันว่าจะควบคุมน้ำท่วมร้ายแรงตามแนวแม่น้ำแยงซี อำนวยความสะดวกในการค้าภายในประเทศ และจัดหาพลังงานที่มีความจำเป็นมากให้กับจีนตอนกลาง
การวิพากษ์วิจารณ์โครงการ Three Gorges เริ่มขึ้นทันทีที่มีการเสนอแผนและดำเนินการก่อสร้างต่อไป ปัญหาสำคัญ ได้แก่ อันตรายจากการพังของเขื่อน การพลัดถิ่นของประชาชนประมาณ 1.3 ล้านคน (นักวิจารณ์ยืนยันว่าตัวเลขจริงอยู่ที่ 1.9 ล้านคน) ที่อาศัยอยู่ในเมือง เมือง และหมู่บ้านริมแม่น้ำมากกว่า 1,500 แห่ง การทำลายทิวทัศน์อันงดงามและของหายากนับไม่ถ้วน แหล่งสถาปัตยกรรมและโบราณคดี
.. นอกจากนี้ยังมีความกลัว (ซึ่งบางส่วนก็แสดงออกมา) ว่าของเสียจากมนุษย์และอุตสาหกรรมจากเมืองต่างๆ จะทำให้อ่างเก็บน้ำเกิดมลพิษ และแม้แต่น้ำปริมาณมหาศาลที่กักเก็บอยู่ในอ่างเก็บน้ำก็อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวและแผ่นดินถล่มได้
วิศวกรชาวจีนและชาวต่างชาติบางคนแย้งว่าเขื่อนจำนวนหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าและราคาถูกกว่ามากและไม่มีปัญหาน้อยกว่าบนแม่น้ำแควแยงซีเกียงสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากเท่ากับเขื่อนสามโตรก และควบคุมน้ำท่วมได้ดีพอๆ กัน พวกเขาดูแลรักษาการก่อสร้างเขื่อนเหล่านั้น จะช่วยให้รัฐบาลสามารถตอบสนองลำดับความสำคัญหลักโดยไม่มีความเสี่ยง
เนื่องจากปัญหาเหล่านี้ การก่อสร้างเขื่อนสามโตรกจึงถูกเลื่อนออกไปเกือบ 40 ปี เนื่องจากรัฐบาลจีนประสบปัญหาในการตัดสินใจที่จะดำเนินการตามแผนสำหรับโครงการนี้
ในปีพ.ศ. 2535 นายกรัฐมนตรีหลี่เผิง ก็สามารถโน้มน้าวสภาประชาชนแห่งชาติให้สัตยาบันการตัดสินใจสร้างเขื่อนได้ในที่สุด แม้ว่าสมาชิกเกือบหนึ่งในสามจะงดออกเสียงหรือลงคะแนนไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่เคยมีมาก่อนของ
การต่อต้านจากร่างกายที่นิ่งเฉยตามปกติ ปธน. เจียง เจ๋อหมินไม่ได้ร่วมเดินทางร่วมกับหลี่ในพิธีเปิดเขื่อนอย่างเป็นทางการในปี 1994 และธนาคารโลกปฏิเสธที่จะให้เงินทุนแก่จีนเพื่อช่วยในโครงการนี้ โดยอ้างถึงข้อกังวลสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม โครงการ Three Gorges ก็เดินหน้าต่อไป ในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการเริ่มงานถนนทางเข้าและไฟฟ้าไปยังสถานที่ คนงานปิดกั้นและเปลี่ยนเส้นทางแม่น้ำในปี 1997 ทำให้การก่อสร้างระยะแรกต้องปิดลง
ในปี พ.ศ. 2546 อ่างเก็บน้ำเริ่มเติมน้ำ ระบบล็อคเรือห้าชั้น—ซึ่งอนุญาตให้เรือที่มีน้ำหนักมากถึง 10,000 ตันแล่นผ่านเขื่อน—ได้ถูกนำมาใช้ในการดำเนินการเบื้องต้น และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องแรกของเขื่อนเชื่อมต่อกับโครงข่าย ซึ่งทำให้การระบายน้ำเสร็จสมบูรณ์
ระยะที่สองของการก่อสร้าง (หลังจากเสร็จสิ้นระยะที่ 2 นี้ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีประมาณ 1,200 แห่งซึ่งครั้งหนึ่งเคยเรียงรายอยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำแยงซีก็หายไปเมื่อน้ำท่วมเพิ่มขึ้น)
การก่อสร้างกำแพงหลักของเขื่อนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2549 ส่วนที่เหลือของเขื่อน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเปิดดำเนินการในช่วงกลางปี 2555 และการยกเรือซึ่งอนุญาตให้เรือที่มีน้ำหนักมากถึง 3,000 ตันสามารถข้ามล็อคเรือห้าชั้นและแล่นผ่านเขื่อนได้รวดเร็วยิ่งขึ้นนั้นแล้วเสร็จในปลายปี 2558 และเริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการในปี 2559
ตำนานของเขื่อนสามผา จะเป็นเรื่องที่ได้รับการเล่าขานอีกยาวนาน .. ปู่ที่ชีวิตในช่วงก่อนและช่วงต้นของการสร้างเขื่อน เล่าอัตถประวัติให้รุ่นหลานๆฟัง เพื่อรับรู้ถึงที่มาของความสะดวกสบาย และความเจริญในปัจจุบัน ที่แลกมาด้วยความเสียสละ ความอดทนของบรรพบุรุษ
โครงการเขื่อนสามผา ได้รับการสนับสนุน และปกป้องจากผู้นำของประเทศจีนทุกยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง .. เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญที่นำพาจีนสู่ความเจริญ
ชมเขื่อนสามผา
หลังจากเดินชมในพิพิธภัณฑ์เขื่อนสามผาเสร็จแล้ว เราแวะมาชมส่วนหนึ่งขอบเขื่อนของจริง ซึ่งตั้บเยู่ไม่ไกลจากพิพิธภัณฑ์
สวนและการตกแต่งภูมิทัศน์ด้านตรงข้ามเขื่อนสวยงาม น่าเดินเล่น .. นักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมจำนวนมากในแต่ละวัน
หินรูปสามเหลี่ยม .. แบบเดียวกับที่ใช้สร้างเขื่อน
โฆษณา