6 เม.ย. เวลา 00:00 • หนังสือ

บทความ Blockdit ตอน ลีกวนยูสร้างชาติอย่างไร ตอน 9 ไม่มีการงีบตอนบ่ายในสิงคโปร์

ป้ายหน้าร้าน
หากสิงคโปร์เป็นร้านอาหาร ชื่อร้านที่สลักบนป้ายหน้าร้านคือ สาธารณรัฐ สิงคโปร์ใช้ระบบปกครองแบบอังกฤษ ที่เรียกว่า West-minster system
1
Westminster system ประกอบด้วย
1
1 ประมุขรัฐ
2
2 รัฐสภาจากการเลือกตั้ง 1-2 สภา
3 รัฐบาล มาจากการรวมกันของพรรคการเมืองเสียงข้างมาก
4 นายกรัฐมนตรีจากการเลือกของสภา
5 คณะรัฐมนตรี
6 ระบบศาลอิสระ
ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ นายกฯเป็นผู้บริหาร
ตำแหน่งประธานาธิบดีของสิงคโปร์มาจากการเลือกตั้งทุกหกปีแต่อำนาจบริหารประเทศอยู่ที่นายกฯ
1
อย่างไรก็ตามป้ายยี่ห้อร้านไม่มีความหมายพิเศษอะไรกับลีกวนยู เพราะเป้าหมายสำคัญของเขาคือทำอย่างไรให้ประเทศใหม่ไปรอด
2
ไม่มีใครเชื่อว่าจะทำได้
แต่พวกเขาไม่มีทางเลือก ต้องสร้างประเทศสิงคโปร์ขึ้นมาให้สำเร็จ
ลีกวนยูเล่าว่า การที่ชาวสิงคโปร์ถูกดูหมิ่น ถูกรังแกมาตั้งแต่ก่อนตั้งประเทศ ต้องสู้อย่างเดียวดาย ทำให้พวกเขากล้ารับความลำบากความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ทำให้พวกเขายิ่งแน่วแน่ว่าจะสร้างชาติใหม่ที่หลายชาติพันธุ์อยู่ร่วมกันได้
1
ลีกวนยูบันทึกว่า ปี 1965 เป็นปียากลำบากมาก เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ไม่รู้จะไปรอดหรือไม่ จนถึงปี 1971 ผู้นำประเทศค่อยหายใจโล่งขึ้นเมื่อพบว่าพวกเขาสร้างงานได้พอกับประชากร ปี 1973 โลกเกิดวิกฤติน้ำมันขาดแคลน ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น สินค้าขึ้นราคาทั้งโลก แต่พวกเขาก็ผ่านพ้นวิกฤตินั้นไปได้
ผ่านการทำงาน ทำงาน ทำงาน วางแผน มองการณ์ไกล แล้วสิงคโปร์ก็เกิด
แปดปีหลังเป็นประเทศ ทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อย และปราศจากทรัพยากรธรรมชาติ สิงคโปร์ลบทุกคำสบประมาท ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย
5
ความเติบโตมาจากการค้ากับต่างประเทศ พวกเขาทำให้สิงคโปร์เป็นเมืองท่าปลอดภาษี สร้างโรงงานอุตสาหกรรม ต่อมาตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบิน การเดินเรือ การขนถ่ายสินค้า และศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค
สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวในเอเชียที่ได้เกรด AAA sovereign credit rating จากหลายสำนักทั่วโลก เช่น Moody’s, Fitch Ratings และ Standard & Poor’s เป็นดัชนีวัดความสามารถของประเทศที่จะจ่ายหนี้ ความมั่นคง ฯลฯ
1
มาตรวัดในด้านอื่นๆ ล้วนได้คะแนนสูง เช่น การศึกษา คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย ที่พักอาศัย โครงสร้างพื้นฐาน
ทั้งหมดนี้มิได้เกิดขึ้นเพราะความบังเอิญ มันมาจากวิสัยทัศน์และการวางแผนล้วนๆ
สิงคโปร์ในอดีต
สิงคโปร์วันนี้
สร้างกองทัพ
ในช่วงปีแรกๆ มีความขัดแย้งระหว่างมาเลย์กับจีน ทั้งในมาเลเซียและสิงคโปร์บ่อยๆ ทำให้พวกเขาต้องรีบแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงทางการทหารของประเทศ
พวกเขายังไม่ได้คิดถึงขึ้นตั้งกองทัพเอง แต่หวังพึ่งอังกฤษ ลีกวนยูบินไปคุยกับผู้นําอังกฤษ คนสำคัญในรัฐบาลและฝ่ายค้าน เพื่อหยั่งท่าทีเรื่องกองทัพอังกฤษในสิงคโปร์
1
ตอนนั้นสิงคโปร์มีทหารราบสองกรม เป็นชาวอังกฤษ ทหารราบสองกรมเล็กเกินไปที่จะปกป้องประเทศ
2
ในปี 1966 ลีกวนยูกับรัฐมนตรีโกเคงซวีไปอังกฤษ เข้าพบรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของอังกฤษ เดนิส ฮีลีย์ (Denis Healey)บอกว่าขอซื้อฝูงบิน Hawker Hunter
เดนิสหัวเราะ บอกว่า “พวกคุณจะเอาไปทําไม เราอังกฤษจะปกป้องพวกคุณเอง”
ลีกวนยูรู้สึกสบายใจขึ้นบ้าง พวกเขายังไม่พร้อมให้อังกฤษจากไป แต่ลีกวนยูรู้ว่าวันหนึ่งอังกฤษจะไปแน่
เขาคุยกับนายกฯอังกฤษ ฮาโรลด์ วิลสัน (Harold Wilson นายกฯอังกฤษช่วง 1964-1970 และ 1974-1976) วิลสันถามลีกวนยูว่า “ฐานทัพอังกฤษมีผลต่อเศรษฐกิจสิงคโปร์แค่ไหน?”
1
ลีกวนยูตอบว่า “20 เปอร์เซ็นต์ของ GDP”
ความจริงคือหากอังกฤษยกกำลังออกไปหมด สิงคโปร์จะเจอปัญหาหลายอย่าง ทั้งในเรื่องการป้องกันประเทศและเศรษฐกิจ
แต่ที่สำคัญคือความรู้สึกไม่ปลอดภัยของประชาชน
ลีกวนยูอยากให้อังกฤษอยู่ต่ออีกสักสิบปี กำลังดี
สหรัฐฯก็อยากให้อังกฤษอยู่ที่สิงคโปร์ต่อไป แต่ไม่ได้กดดัน
วิลสันบอกว่าอังกฤษยังไม่รีบถอนทหาร แต่ก็อีกไม่นาน เพราะอังกฤษเคยแสดงจุดยืนว่า ต้องการถอนทหารออกจากตะวันออกไกลทั้งหมด
ลีกวนยูบินไปอังกฤษหลายเที่ยว คุยโน้มน้าวใจรัฐบาล ฝ่ายค้านทุกคนที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาอยู่ต่อ
1
เขายังได้รับเชิญไปปาฐกถาที่พรรคแรงงาน อังกฤษ ในตุลาคม 1967 เหตุผลที่ไปพูดคือให้โน้มน้าวใจสมาชิกพรรคให้เห็นความสำคัญของการรักษาฐานทัพอังกฤษที่สิงคโปร์ต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ลีกวนยูพูดถึงความสัมพันธ์ของอังกฤษกับสิงคโปร์ที่กินเวลานาน 150 ปี
ลีกวนยูบอกว่าภูมิรัฐศาสตร์ในเอเชียอาคเนย์ก็เปลี่ยนไป ตัวผู้เล่นใหม่คือคอมมิวนิสต์ ขณะที่สงครามเวียดนามกำลังดำเนินไป มีคนตายเพราะสงครามเวียดนามมามากมาย เราควรเป็นนกฮูกมองด้วยตาเปิดกว้าง
แต่จุดเปลี่ยนเกมเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 1967 อังกฤษลดค่าเงินปอนด์ ทำให้อังกฤษตัดสินใจ (หรือมีข้ออ้าง) ถอนกำลังทหารกลับหมด คาดว่าปีสุดท้ายที่ทหารอังกฤษอยู่คือปี 1971 อาจเป็นต้นปีหรือท้ายปี ยังไม่รู้
2
สิงคโปร์สูญเสียเงินคงคลังไปกับการลดค่าเงินนี้ถึง 14.3 เปอร์เซ็นต์ พวกเขารู้สึกหดหู่และผิดหวังกับการตัดสินใจของอังกฤษแต่รู้ว่ามันมาถึงจุดที่ต้องสร้างกองทัพเองแล้ว
1
ในเดือนมิถุนายน ปี 1970 พรรคอนุรักษ์นิยมชนะเลือกตั้งนายกฯคนใหม่ เอ็ดเวิร์ด ฮีธ (Edward Heath) บอกว่าอังกฤษจะถอนทหารตามแผนเดิม แต่ยังคงกำลังไว้นิดหน่อย ร่วมกับทหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ที่เหลือสิงคโปร์ต้องป้องกันตัวเอง
ในเดือนมกราคม 1968 สิงคโปร์ซื้อรถถังขนาดเบาจากอิสราเอล เพราะอิสราเอลกําลังยกระดับอาวุธของตน ก็ขายให้ถูกๆ ซื้อมา 72 คัน
สิงคโปร์ทาบทามอังกฤษให้ช่วยสร้างกองทัพ คำตอบคือ “ไม่”
ลีกวนยูบอกให้โกเคงซวีติดต่อทูตอิสราเอลที่กรุงเทพฯ มอร์เดอไค คีดรอน (Mordecai Kidron) ขอความช่วยเหลือ คีดรอนก็บินมาที่สิงคโปร์ พบลีกวนยู คุยกันเรื่องความเป็นไปได้ที่อิสราเอลจะช่วยสร้างกองทัพให้
ลีกวนยูบอกโกเคงซวีให้รอจดหมายตอบจากอียิปต์และอินเดียก่อน เพราะในเวลาใกล้กัน ลีกวนยูถามประธานาธิบดีอียิปต์ กามาลอับเดล นัสเซอร์ (Gamal Abdel Nasser) และนายกฯอินเดียที่เป็นเพื่อนเขา ลาล บาฮาดูร์ ชาสตรี (Lal Bahadur Shastri) ขอให้ช่วยสร้างกองทัพขนาดห้ากองพัน
1
ทั้งนัสเซอร์และชาสตรีปฏิเสธ
7
ลีกวนยูรู้สึกเสียใจที่เพื่อนปฏิเสธ ดังนั้นก็ไปกับอิสราเอล แต่ทำแบบเงียบๆ ไม่ต้องการให้เกิดความรู้สึกกระทบกระทั่งกับมาเลเซียที่เห็นสิงคโปร์กำลังจะสร้างกองทัพ เพราะยังมีกลุ่มมาเลย์ที่ไม่ต้องการให้สิงคโปร์แยกตัว
อิสราเอลส่งเจ้าหน้าที่ของ The Israel Defense Forces (IDF) มาช่วยสร้างกองทัพจากศูนย์ เรียกว่า Singapore Armed Forces (SAF)
ทหารอิสราเอลเป็นผู้ฝึก หลักสูตรทุกอย่างใช้ของอิสราเอลแม้แต่เรื่องการเกณฑ์ทหารและทหารกองหนุน ก็ใช้วิธีของอิสราเอล
1
ถึงปี 1971 สิงคโปร์มีกำลังทหาร 17 กองพัน (16,000 คน) ทหารกองหนุน 14 กองพัน (11,000 คน)
นอกจากนี้ยังได้นิวซีแลนด์มาช่วยฝึกทหารเรือ
พวกเขาออกกฎหมายให้ผู้ชายสิงคโปร์อายุ 18 ปีทุกคนต้องเป็นทหารสองปี เรียกว่า Natinal Service (NS) เป็นภาคบังคับ หลังจากปลดประจำการ ก็อาจถูกเรียกตัวไปฝึกสมรรถนะร่างกายใหม่ ดังนั้นผู้ชายสิงคโปร์จึงเรียนจบมหาวิทยาลัยช้ากว่าผู้หญิงวัยเดียวกันสองปี
1
ประธานาธิบดีอียิปต์ นัสเซอร์ กับลีกวนยู เมษายน 1962
สิงคโปร์ต้องการคนเก่งจำนวนมากในกองทัพ ก็ใช้วิธีคัดเลือกนักเรียนที่เก่ง หัวดีไปเข้ากองทัพ โดยให้ทุนไปเรียนต่อด้านต่างๆ ที่อังกฤษ เพื่อกลับมาทำงานกับ SAF ทุนผูกมัด 8 ปีกับกองทัพ นักเรียนทุนเหล่านี้หลายคนกลับมาทํางานและต่อมาเป็นรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี เช่น ลีเซียนหลง (Lee Hsien Loong 李顯龍) ต่อมาเป็นนายกรัฐมนตรี
1
จอร์จ เยียว (George Yeo 楊榮文) ต่อมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ลิมฮึงเคียง (Lim Hng Kiang 林勛强) ต่อมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม
2
เตียวชีฮีน (Teo Chee Hean 張志賢) ต่อมาเป็นรัฐบุรุษอาวุโส
ภาษาประจำชาติสำคัญอย่างไร
จุดหนึ่งที่หลายคนมองไม่เห็นคือภาษา มุมมองของเขาคือ การเลือกภาษาทางการของชาติเป็นตัวกำหนดอนาคตของประเทศได้
2
ตอนที่สิงคโปร์เป็นประเทศใหม่ๆ กลุ่มสมาคมหอการค้าจีนไปล็อบบี้ลีกวนยูให้เลือกภาษาจีนเป็นภาษาราชการ ลีกวนยูบอกไม่ได้ผลลัพธ์เห็นได้ชัด การเลือกภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการเปิดประเทศได้ดีกว่า มั่นคงกว่า ทำให้สิงคโปร์เติบโตได้มากกว่า
3
การนัดหยุดงาน
1
ตั้งแต่ก่อนกำเนิดประเทศสิงคโปร์ ลีกวนยูใช้ชีวิตการเมืองไม่น้อยในการจัดการกับกลุ่มสหภาพ เพราะส่วนใหญ่อยู่ใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์ สหภาพนัดหยุดงานบ่อยๆ และเกิดจลาจล ตั้งแต่กรกฎาคม 1961-กันยายน 1962 มีการสไตรค์ 153 ครั้ง
1
ถ้าต้องการการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่ม ก็ต้องขจัดคอมมิวนิสต์
เขาใช้โอกาสที่อังกฤษถอนทหารจากสิงคโปร์เปลี่ยนแปลงสังคมเขาชี้ให้คนงานเห็นว่าถ้าไม่เปลี่ยนไม่ปรับตัว ทุกคนจะเดือดร้อนหมด
ลีกวนยูเจรจากับสหภาพ ให้มองภาพกว้าง สร้างมาตรฐานใหม่บางครั้งก็ต้องเจรจากับหัวหน้าสหภาพเป็นการส่วนตัว
1
“จะกินอุดมคติหรือจะกินข้าว?”
1
นอกจากนี้ก็ปรับปรุงกฎเกณฑ์ กฎหมาย กำหนดค่าแรงขั้นต่ำและทำให้การสไตรค์เป็นเรื่องผิดกฎหมาย
1
ปี 1969 เป็นครั้งแรกที่ไม่มีสไตรค์แม้แต่ครั้งเดียว
1
ไม่มีการงีบตอนบ่ายในสิงคโปร์
ในปี 1967 เขาพูดว่า “เราได้สร้างสิงคโปร์จากศูนย์ จาก 150 ชีวิตในหมู่บ้านประมงเล็กๆ เป็นมหานครใหญ่ที่สุดสององศาเหนือเส้นศูนย์สูตร มีอารยธรรมอื่นเพียงแห่งเดียวใกล้เส้นศูนย์สูตรที่สร้างบางสิ่งสมชื่อของมัน นั่นคือคาบสมุทรยูคาทาน อารยธรรมมายา มันไม่มีที่ไหนอีกแล้วที่มนุษย์สามารถข้ามพ้นปัญหาของความง่วงนอนจากสภาพอากาศเส้นศูนย์สูตร คุณสามารถไปตามเส้นศูนย์สูตรหรือสององศาเหนือ
4
พวกเขาทั้งหมดนอนหลังบ่ายสองครึ่ง ถ้ากินอิ่ม พวกเขาทําอย่างนั้น! มิฉะนั้นจะตายเร็ว มีแต่คนสิงคโปร์ที่ไม่ทําอย่างนั้นและพวกเขามีเหตุผลที่ดี ข้อหนึ่ง ต่อมดี ข้อสอง เป้าหมายดี”
2
ลีกวนยูจึงบอกว่าเครื่องปรับอากาศเป็นประดิษฐกรรมที่ดีที่สุดในโลก เพราะทําให้ได้ผลผลิตเพิ่ม สามารถทำงานได้ในสภาพอากาศร้อนของเส้นศูนย์สูตร
4
โฆษณา