4 เม.ย. เวลา 00:12 • การเมือง

ตุรกีอาจกลับมาเป็นรัฐฆราวาสนิยม

โดย
นิติการุณย์
มิ่งรุจิราลัย
2
31 มีนาคม 2024 มีการเลือกตั้งท้องถิ่นตุรกี ผู้สมัครจากพรรคยุติธรรมและการพัฒนาตุรกี (AKP) ของประธานาธิบดีเรเจป ตอยยิป เออร์โดกัน แพ้พรรครีพับลิกันพีเพิล (CHP) หลายเมือง
2
ตุรกีมี 81 จังหวัด CHP เอาชนะ AKP ใน 36 จังหวัดสำคัญ เช่น อังการา (เมืองหลวง) อิสตันบูล อิซมีร์ ฯลฯ
หลังจากทราบชัยชนะ ผู้คนก็ออกมาตามถนนหนทาง ตะโกนโห่ร้องว่า “ตุรกีจะเป็นรัฐที่ไม่อิงศาสนาและจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป”
1
ตุรกีมีประวัติศาสตร์ยิ่งใหญ่ยาวนานตั้งแต่ ค.ศ.1071 ที่กองทัพเซลจุคชนะกองทัพไบเซนไทน์ ค.ศ.1396 กองทัพออตโตมันของอิสลามมีชัยชนะเหนือกองทัพครูเสดของคริสต์ในการสู้รบที่เมืองนิโคโปล
1
หลังจากนั้น กองทัพออตโตมันมีชัยชนะเหนือกองทัพคริสเตียนมาตลอด
2
ระหว่าง ค.ศ.1914-1918 ออตโตมันเข้าร่วมกับเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1 และแพ้ มีการยกเลิกระบอบสุลต่าน กระทั่ง 29 ตุลาคม 1923 มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกี โดยมีมุสตาฟา เคมาล (อะตาเติร์ก) เป็นประธานาธิบดีคนแรก
อะตาเติร์กซึ่งบิดาของชาติมองว่าศาสนาเป็นภาระและอุปสรรค ทั้งเรื่องไม่รู้หนังสือ การอนุรักษนิยมแบบไร้สติ การใช้จ่ายสตางค์ไปกับการทำบุญหรือซื้อของขวัญไปทำความเคารพกุโบร์ (สุสาน)
2
รัฐบาลอะตาเติร์กห้ามการกระทำสุรุ่ยสุร่าย สั่งปิดสมาคมภราดรภาพ (ทาริคัต) ที่ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา ให้มีการแปลพระคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาตุรกี
เดิมการเรียกละหมาดต้องใช้ภาษาอาหรับ ในยุคสาธารณรัฐให้เรียกละหมาดเป็นภาษาตุรกี
2
คนตุรกีแบ่งออกเป็น 2 พวก พวกหนึ่งเอาศาสนามาปนการเมืองการปกครอง อีกพวกหนึ่ง (ซึ่งสนับสนุนอะตาเติร์ก) ไม่เอาศาสนามายุ่งกับการเมืองการปกครองอย่างเด็ดขาด
ในยุคสาธารณรัฐรัฐบาลไม่ค่อยให้เปิดเพลงอาหรับ มีแต่เพลงคลาสสิกของโลกตะวันตก มีการเล่นฟุตบอล นักร้องโอเปร่าชาวตุรกีโด่งดังไปทั่วยุโรป
อะตาเติร์กปฏิรูปสาธารณรัฐตุรกี 6 ประการ (ศร 6 ดอกแห่งความก้าวหน้า) คือ
สาธารณรัฐนิยม (ไม่เอาระบบสุลต่าน) ชาตินิยม (มุ่งพัฒนาชนชาติเติร์ก คืนดินแดนคนชาติอื่น เช่น ดินแดนอาหรับก็ให้ชนชาติอาหรับ) มวลชนนิยม รัฐนิยม ปฏิรูปนิยม
และโลกวิสัยนิยม (แยกศาสนาจากการเมือง ไม่ให้ยุ่งกับสถาบันศาสนาอิสลาม อะไรที่เป็นตำแหน่งเกี่ยวพันกับอิสลามและสุลต่านให้ยุบหรือยกเลิก เช่น ตำแหน่งกาหลิบหรือคอลิฟะห์ ไม่ใช้กฎหมายศาสนา หันมาใช้กฎหมายแบบตะวันตก)
1
อะตาเติร์กอสัญกรรมเมื่อ ค.ศ.1938 ขณะอายุ 57 ปี ชาวเติร์กได้สร้างอนุสรณ์สถานอะตาเติร์กที่กรุงอังการา มีการตั้งรูปปั้นของอะตาเติร์กทั้งในและนอกอาคารทั่วประเทศ
คนตุรกีแยกศาสนาออกจากการเมืองได้อย่างเด็ดขาด สส.หญิงคลุมฮิญาบเข้าสภา สส.ชาย ไม่ยอมให้เข้าสภาและรุมทำร้าย พยาบาล ทหาร ตำรวจหญิงห้ามคลุม ฮิญาบอย่างเด็ดขาด
1
ต่อมาเกิดพรรคการเมืองเคร่งศาสนาอิสลามที่นำโดยตอยยิป เออร์โดกัน นายคนนี้ใช้ศาสนาหาเสียงจนได้เป็นนายกเทศมนตรีนครอิสตันบูล ระหว่าง ค.ศ.1994-1998 ก่อนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดี
1
ค.ศ.2010 เกิดความขัดแย้งระหว่างพวกโลกวิสัย (ไม่เอาศาสนามายุ่งการเมือง) กับกลุ่มการเมืองใหม่ (เคร่งศาสนา) พวกผู้พิพากษา นายพลทหารตำรวจที่เชื่อแนวทางของอะตาเติร์กถูกจับกุมและยัดเข้าคุก ประเทศค่อยๆกลับมาสู่ความเคร่งศาสนา
1
การอาศัยศาสนาหาคะแนนทำให้อำนาจของเออร์โดกันไม่ยั่งยืน เพราะไม่ได้มาจากการพัฒนาของจริง แต่มาจากการอ้างบทบัญญัติต่างๆ ประชาชนเริ่มเบื่อและปฏิเสธการนำศาสนามาหาประโยชน์ทางการเมือง
3
เมื่อการเลือกตั้งท้องถิ่นผ่านไป จึงมีฝูงชนออกมาเดินตามถนนหนทาง ที่บอกว่า “ตุรกีจะเป็นรัฐที่ไม่อิงศาสนาและจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป” นอกจากนั้นยังมีเสียงตะโกน “ตอยยิปลาออก”
2
ตุรกีเป็นตัวอย่างของอภิพญามหาอาณาจักรที่เคยยิ่งใหญ่ ต่อมา มีการเนรเทศราชวงศ์ออตโตมัน เมื่อมีไอ้ปื๊ดไปดึงเอาศาสนามาเกี่ยวข้อง ก็ทำได้แค่ชั่วครั้งชั่วคราว
คิดว่าหลังจากยุคเออร์โดกัน ตุรกีอาจจะกลับมาเป็นรัฐฆราวาสนิยมเข้มแข็งเหมือนสมัยอะตาเติร์ก.
โฆษณา