4 เม.ย. เวลา 23:30 • ข่าว

ญี่ปุ่น “แบคทีเรียกินเนื้อคน” พุ่ง ฟุคุโอกะพบ 21 ราย แพทย์เตือนระวังภัยร้าย อัตราเสียชีวิตร้อยละ 30

เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส (Streptococcus Toxic Shock Syndrome: STSS) กลุ่มเอ คือ ชื่อทางการของชื่อเรียกกันทั่วไปว่า “แบคทีเรียกินเนื้อคน” หรือ “โรคเนื้อเน่า” นี้ เป็นเชื้อที่มีลักษณะกลมๆ เหมือนลูกชิ้นร้อยต่อกันเป็นสายยาวๆ
Image Credits: NIID, เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส (Streptococcus Toxic Shock Syndrome: STSS) กลุ่มเอ คือชื่อทางการของชื่อเรียกกันทั่วไปว่า “แบคทีเรียกินเนื้อคน” หรือ “โรคเนื้อเน่า” นี้ เป็นเชื้อที่มีลักษณะกลมๆ เหมือนลูกชิ้นร้อยต่อกันเป็นสายยาวๆ
สถาบันวิจัยโรคติดเชื้อแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น (National Institute of Infectious Diseases, Japan)
กำหนดให้เป็นโรคประเภท 5 ตามกฎหมายควบคุมโรคติดเชื้อ ไม่ใช่โรคอุบัติใหม่ แต่มีมาตั้งแต่ 2523 ที่สหรัฐอเมริกา แล้วเริ่มระบาดกันมากในประเทศอังกฤษเมื่อปี 2553 จนตั้งชื่อดังกล่าวขึ้น
ล่าสุดพบว่า จังหวัดฟุคุโอกะมีผู้ติดเชื้อแล้ว 21 ราย
สำหรับปีนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม
พบว่า ทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่นมีผู้ติดเชื้อแล้ว จำนวน 556 ราย ถือว่า มีผู้ติดเชื้อดังกล่าวในปีนี้เพิ่มขึ้นอย่างกระทันหัน มากกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 2.8 เท่า
สถาบันวิจัยโรคติดเชื้อแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น ระบุว่า
เชื้อ “แบคทีเรียกินเนื้อคน” สเตรปโตคอคคัส กลุ่มเอนี้
ในปี 2557 มีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ระดับ 273 ราย ภายในวันที่
9 สิงหาคม 2558 มีผู้ติดเชื่อ 279 ราย
 
แต่ในช่วงระยะเวลา 10 ปีนี้ ได้เพิ่มขึ้นอย่างกระทันหัน
เมื่อปี 2566 ปีที่แล้ว ญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อ ถึง 941 ราย
จำนวนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ที่มีการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2542
เชื้อ “แบคทีเรียกินเนื้อคน” สเตรปโตคอคคัส กลุ่มเอ นี้
การวินิจฉัยอาการในระยะเริ่มแรกยังทำได้ยาก มีภาวะการลุกลามที่รวดเร็ว หากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงทีและถูกต้อง อาจต้องสูญเสียอวัยวะ ความดันลดต่ำถึง
ขั้นช็อกเสียชีวิตได้ในอัตราร้อยละ 30 บางรายถึงขั้นเสียชีวิตในวันเดียว
Image Credits: Dairy of a canon, อาการติดเชื้อที่ผิวหนังจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีม่วงคล้ำและมีตุ่มน้ำลุกลามในเวลาอันรวดเร็ว
บางคนมีไข้ขึ้นเกือบ 40 องศา ความดันลดลง หัวใจหยุดเต้น และหายใจลำบากได้ภายใน 1 วัน แขนขาถูกทำลายกลายเป็นเนื้อร้าย
กรณีที่เลวร้ายอาจต้องตัดอวัยวะนั้นๆ ทิ้ง โดยเฉพาะ
ส่วนใหญ่มักเป็นที่ส่วนขา บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุเสียชีวิตที่ชัดเจน และยังไม่ทราบเส้นทางการติดเชื้อ
โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี หรือ ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวานเรื้อรัง โรคตับแข็ง โรคไต
หรือกลุ่มผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ และสามารถติดต่อจากคนสู่คนจากการสัมผัสใกล้ชิด
ติดต่อกันได้โดยเเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ผิวหนัง
ทางรอยแผล หรือ รอยแตกของผิวหนัง แล้วสร้าง
เอมไซม์ (Enzyme) มาย่อยสลายเนื้อเยื่อในร่างกาย
กระจายไปตามชั้นใต้ผิวหนัง ตั้งแต่ชั้นไขมันใต้ผิวหนังลึกลงไปจนถึงชั้นฟาสเซีย คือ ชั้นพังผืดที่ห่อหุ้ม
ชั้นกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในของร่างกาย
ศาสตราจารย์คลินิกนาโอยุคิ มิยาชิตะ หัวหน้าแผนก
โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โรงพยาบาลในสังกัดของมหาวิทยาลัยการแพทย์คันไซ ได้ให้ข้อมูลกับเคทีวีนิวส์เกี่ยวกับอาการและข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
ลักษณะอาการ:
1. ผิวหนังเริ่มบวม แดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำ
ปวด และกดเจ็บในตำแหน่งที่ติดเชื้อ
2. ไข้ขึ้นสูง หรือ อาการหนาวสั่นรุนแรงทั้งตัว
3. เนื้อร้ายเริ่มลุกลามไปหลายเซ็นติเมตร
ภายในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมง
4. ภาวะติดเชื้อ จนถึงแก่ชีวิต
อาการที่ต้องระวัง:
แขนขาเริ่มมีสีแดงเป็นจั้มๆ กลายเป็นสีม่วง และมีอาการปวดมากเมื่อกดตรงแผล แต่จะไม่รู้สึกปวดเป็นพิเศษในช่วงแรกเริ่มที่มีอาการ จนกว่าจะมีอาการปวด
ไปทั่วร่างกาย
ผู้ที่ควรระมัดระวังมากที่สุด ได้แก่
1. ผู้ที่มีภูมิต้านทานน้อย
2. มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานเรื้อรัง โรคไต
3. มีอายุ 30 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่มีมีรอยแผล
Image Credits: Sogo-igakusha, สีที่แสดงการลุกลามตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
สิ่งที่ควรดำเนินกากรทันทีเวลาที่บาดเจ็บ:
1. ฆ่าเชื้อทันทีที่มีแผล
2. ติดปาสเตอร์ที่รอยแผล
การรักษาโรค:
1. ไปโรงพยาบาลทันทีที่แม้มีอาการที่ระบุเพียงเล็กน้อย
2. ใช้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดที่ต้องใช้ร่วมกัน
หลายชนิดให้ครอบคลุมโรค
3. ผ่าตัดเนื้อร้ายถึงชั้นฟาสเซีย และเอาเนื้อเยื่อบริเวณ
ที่ตายออก
4. ติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะ
แทรกซ้อนอื่นๆ
ชมรมแพทย์เมืองฟุคุโอกะกล่าวในงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 3 เม.ย. ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อ “มีแนวโน้มพบมากขึ้นเล็กน้อย” จึงเรียกร้องให้ประชาชนไปพบแพทย์ทันที
หากมีอาการ เช่น มีไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน หรือ ปวดตามร่างกาย เพื่อป้องกันอาการลุกลาม และภาวะล้มเหลวเฉียบพลัน กล่าวกันว่า โรคดังกล่าว มี “อัตราการเสียชีวิตจะสูง หากไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทันที”
นายแพทย์ชิเกฮิโกะ อิโตะผู้อำนวยการกิตติมศักดิ์ของโรงพยาบาลยาฮาตะ ประจำเมืองคิตะคิวชู กล่าวว่า
“ชนิดที่ขึ้นชื่อว่า “ร้ายแรง” นี้ มากกว่าครึ่งหนึ่งไม่ได้
มาจากทางเดินหายใจส่วนบน แต่มักจะอาศัยบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ หรือ รอยแผลภายนอกเข้าสู่เลือด ชั้นใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ ในบริเวณที่ไม่มีแบคทีเรีย เช่น ในเลือด ชั้นใต้ผิวหนัง หรือกล้ามเนื้อ
แล้วแพร่กระจายจนมี “ภาวะติดเชื้อ” ซึ่งเกิดขึ้น
อย่างรวดเร็ว และหากรับการรักษาล่าช้า อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ถึง 30 ถึง 40% ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่มีเบาหวาน หรือไตวาย เท่านั้น
แม้แต่ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติก็อาจเกิดอาการช็อกได้”
ส่วนจะมีวิธีรักษาได้อย่างไรหรือไม่นั้น ผู้อำนวยการฯ ดังกล่าว กล่าวว่า “ประการแรก ต้องให้ “ยาปฏิชีวนะ” ก่อน
ทางเลือกหนึ่งคือ ต้องให้ยาที่มีประสิทธิผลสูงสุดโดยเร็ว
และต้องกำจัดบริเวณผิวหนังที่เปลี่ยนสีหรืออักเสบออก รวมถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังด้วย”
Image Credits: Dairy of a canon, เริ่มแรกที่มีอาการ แม้จะมีสีปานแดงและเจ็บเพียงเล็กน้อย ควรรีบไปโรงพยาบาลพบแพทย์โดยทันที
ส่วนวิธีป้องกันนั้น ผู้อำนวยการดังกล่าว กล่าวว่า
“ ชนิดร้ายแรงนี้ เป็นโรคที่มาจากแผลภายนอก ที่เกิดจากแผลเล็กๆ น้อยๆ ดังนั้น แม้ว่าจะเป็นเพียงเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม อย่าคิดว่า “เพียงล้างน้ำให้สะอาดเพียงพอแล้ว” จะต้องฆ่าเชื้อให้ดี
หากมีอาการเจ็บปวดรุนแรงต่อเนื่อง
หรือ เกิดอาการบวมน้ำ หรือ ผิวสีเปลี่ยนเป็นสีม่วงๆ
สิ่งสำคัญคือ ต้องรีบไปสถานพยาบาลให้แพทย์วินิจฉัยโดยเร็วที่สุด โดยไม่ใช้วิจารณญาณของตนเอง
เนื่องจากการติดเชื้อ “โควิด-19” ได้ลดระดับลงเป็นประเภท 5 เกือบจะหนึ่งปีแล้ว กิจกรรมของผู้คนต่างๆ ที่เคยถูกระงับจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อ “โควิด-19” เริ่มผ่อนคลาย จึงต้องระมัดระวังโรคติดเชื้อต่างๆ ที่แพร่กระจายมากขึ้นด้วย”
นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน อาจารย์แพทย์ชาวไทยประจำประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤติบำบัดได้กล่าวในช่อง Doctor Tany ทางยูทูป พอมีใจความได้ว่า เชื้อดังกล่าวจะสามารถลงลึกถึงชั้นไขมัน จนเชื้อลามไปถึงชั้นที่ลึกที่สุด ที่มักติดเชื้อในชั้นลึกของร่างกาย จนเกิดการกินเนื้อคน หรือ เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดและแบคทีเรียปล่อยพิษออกมาได้
Image Credits: Dairy of a canon, เมื่อเชื้อลุกลาม หากกดไปที่แผลจะมีอาการปวดอย่างรุนแรง และเป็นตุ่มน้ำพองและออกสีม่วงคล้ำ
อาการเตือน คือ มีอาการปวดบริเวณใดบริเวณหนึ่งมากๆ ให้สงสัยว่า อาจเริ่มเกิดแบคทีเรียกินเนื้อคน
มันจะลามอย่างรวดเร็ว และหากปล่อยไว้ เมื่อกดจะมีอาการปวดมาก
หากปล่อยไว้หลายชั่วโมง จะเริ่มกลายเป็นจั้มๆ สีม่วงๆ
เมื่อกดที่แผลจะมีอาการปวดมาก บางคนอาจมีแก๊สอยู่ข้างในด้วย
โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรัง โรคตับแข็ง โรคไต ที่คุมไม่ได้
ระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติ หรือ ผู้ที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอ
ทำให้คนไข้ความดันต่ำ มีไข้สูง อาการวิงเวียน หน้ามืด
ยิ่งต้องรีบไปโรงพยาบาลพบแพทย์ เนื่องจากเชื้อโตเร็ว
มีอัตราการตายสูงหากไม่รีบรักษา ที่อาจถึงขั้นช็อกเสียชีวิตได้ และมีประมาณ 45% ที่หาสาเหตุไม่พบ
ต้องให้ยาอาทิ ยาฆ่าแบคทีเรีย ต้านพิษ ต้านการสร้างโปรตีน และยารักษาที่ครอบคลุมหลายๆ อย่าง ตาม
การรักษาของแพทย์จนกว่าจะหายและผู้สัมผัสใกล้ชิดต้องรีบกินยาป้องกันด้วย สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่น ไม่มีอะไรต้องกังวล แต่ให้พกยาฆ่าเชื้อติดไว้บ้าง
ส่วนกองติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้เผยแพร่ผลวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2567 ให้ป้องกัน ดังต่อไปนี้
การป้องกัน
1. ล้างมือ
2. สวมหน้ากากอนามัย
3. ดูแลทำความสะอาดบาดแผลและปิดด้วยปาสเตอร์
Image Credits: กรมควบคุมโรค, ส่วนกองติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้เผยแพร่ผลวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2567
คำแนะนำสำหรับผู้เดินทาง:
• ก่อนการเดินทาง
– ตรวจสอบสถานการณ์โรคในพื้นที่ที่จะเดินทางไป
โดยติดตามการระบาดของโรคได้ที่เว็บไซต์ทางการ
ของประเทศญี่ปุ่น https://www.niid.go.jp/
– เตรียมอุปกรณ์ในการป้องกันตนเองให้พร้อม เช่น
หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ อุปกรณ์
ทำความสะอาดบาดแผล เป็นต้น
– แนะนำให้ซื้อประกันสุขภาพล่วงหน้าก่อนการเดินทาง
• ระหว่างการเดินทาง (ระหว่างอยู่ที่ประเทศปลายทาง)
– หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่แออัด
– รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ
และทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร สวมหน้ากาก
อนามัย ปิดปากหรือจมูกเมื่อไอหรือจาม และออก
ระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังเกิดบาดแผล และเมื่อมี
บาดแผลให้ทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
– สังเกตอาการผิดปกติของตนเอง หากมีอาการเบื้องต้น
ได้แก่ เจ็บคอ มีไข้ ให้รีบพบแพทย์ และแยกตัวเองจาก
บุคคลใกล้ชิด
– ผู้เดินทางกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์
ผู้ที่มีโรคประจำตัว และมีบาดแผลหรือแผลผ่าตัด ควร
เพิ่มความระมัดระวังตนเอง
Image Credits: กรมควบคุมโรค, ส่วนกองติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้เผยแพร่ผลวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2567
• หลังกลับจากการเดินทาง
– ขณะนี้ยังไม่มีคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกเรื่อง
การจำกัดการเดินทางในกรณีดังกล่าว ทั้งนี้ยังไม่มี
คำแนะนำการคัดกรองผู้เดินทาง ณ บริเวณช่องทาง
เข้าออกประเทศ หากผู้เดินทางมีข้อสงสัยสามารถ
สอบถามและขอคำแนะนำได้จากเจ้าพนักงานควบคุม
โรคติดต่อประจำด่าน
– กรณีท่านมีอาการผิดปกติเข้าได้กับอาการแรกเริ่มของ
STSS เช่น ไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัวให้รีบพบ
แพทย์และแจ้งประวัติการเดินทางให้แพทย์ทราบ
– สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากรู้สึกไม่สบาย หรือมี
อาการเบื้องต้น ได้แก่ เจ็บคอ มีไข้ ให้รีบพบแพทย์
และแจ้งประวัติการเดินทางให้แพทย์ทราบ
Image Credits: กรมควบคุมโรค, ส่วนกองติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้เผยแพร่ผลวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2567
ข้อมูลสำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข:
เนื่องด้วยอาการ STSS มีอาการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว ดังนั้น หน่วยงานบริการสาธารณสุข
ต้องเฝ้าระวังโรคในผู้เดินทาง หากพบผู้ป่วยเข้าได้กับลักษณะอาการของ STSS
และมีประวัติการเดินทางมาจากพื้นที่ที่พบผู้ป่วย
ควรรีบประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วย เพื่อให้การรักษาอย่างรวดเร็วก่อนเกิดภาวะช็อก ลดความรุนแรง และ
การแพร่กระจายของโรคในประเทศไทย
** เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อสื่อสารอย่างเร็ว ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ โปรดตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
ข้อมูลเพิ่มเติม (ลิงก์ไปยังเว็บอื่น) จากกรมควบคุมโรค
streptococcus-m/2656-cepr/12594-
stss-2023-2024.html
streptococcus-m/group-a-streptococcus-
iasrs/12461-528p01.html
latest.pdf
public/streptococcal-toxic-shock-
syndrome.html#how-you-get-stss
ขอขอบคุณรายละเอียดจากแหล่งข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม:
NID2024040320843
region/tvnc-20843
311d68243f56d8221e06aa64a69e
574050910e83
633photoa.644390729037032/18596
84984174261/?type=3&_rdc=1&_rdr
news=41995&deptcode=brc&news_views=3
news=41995&deptcode=brc&news_views=3
entry-1071.html
- sogo-igaku.
หากเนื้อหาสาระนี้ มีประโยชน์ต่อท่าน
กรุณา กด “ไลค์” กด “แชร์”
เสนอ “คอมเม้นท์”
เพื่อการปรับปรุงและนำเสนอสาระข่าวสาร
ดีๆ ต่อไปด้วยจักขอบคุณยิ่ง
โฆษณา