9 เม.ย. เวลา 02:18 • การเมือง

กระแสจีนและสหรัฐฯในอาเซียน

โดย
นิติการุณย์
มิ่งรุจิราลัย
สถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษายูซุฟ อิสฮัค ของสาธารณรัฐสิงคโปร์สำรวจความคิดเห็นของผู้คน 1,994 คน ใน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยสำรวจเมื่อ 3 มกราคม-23 กุมภาพันธ์ 2024
ด้วยคำถาม “หากต้องเลือกข้างระหว่างสหรัฐฯกับจีน ท่านจะเลือกร่วมมือกับฝ่ายไหน”
คำตอบของผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 50.5 เลือกจีน และร้อยละ 49.5 เลือกสหรัฐฯ
1
ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 33.7 มาจากภาคเอกชน ร้อยละ 24.5 มาจากภาครัฐ ร้อยละ 23.6 มาจากสถาบันการศึกษา องค์กร คลังสมอง และสถาบันวิจัย ร้อยละ 12.7 มาจากองค์กรพัฒนาเอกชนและสื่อ และร้อยละ 5.6 มาจากองค์กรระดับภูมิภาคหรือระหว่างประเทศ
เป็นการสำรวจผู้คนที่ทำงานในภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ นักวิจัย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อต้องการทราบทัศนคติของคนที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของประเทศและภูมิภาค
1
ผู้ตอบว่าอยากจะร่วมมือกับจีน เป็นชาวมาเลเซียร้อยละ 75.1 ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 73.2 และชาวลาวร้อยละ 70.6 ที่เป็นเช่นนี้เพราะทั้ง 3 ประเทศมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่แข็งแรงกับจีน + ได้ประโยชน์จากโครงการริเริ่มแถบและเส้นทางหรือ BRI ของจีน
ปัจจุบัน อินโดนีเซียใกล้ชิดกับจีนเป็นพิเศษ หลังจากชนะเลือกตั้งได้เป็นว่าที่ประธานาธิบดี ปราโบโว ซูเบียนโต ไปเยือนจีนเมื่อ 1 เมษายน 2024
ค.ศ.2023 จีนไปลงทุนในมาเลเซียเป็นมูลค่ามหาศาล บริษัทของรัฐบาลจีนก็กำลังเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในลาว
ส่วนสหรัฐฯยังคงได้รับความนิยมสูงในฟิลิปปินส์ โดยได้รับความนิยมมากถึงร้อยละ 83.3 ได้รับความนิยมในเวียดนามร้อยละ 79 ที่เป็นเช่นนี้เพราะทั้งฟิลิปปินส์และเวียดนามมีปัญหากับจีนในเรื่องการอ้างสิทธิทับซ้อนในทะเลจีนใต้ จึงหันไปโปรสหรัฐฯ
2
มหาวิทยาลัยกริฟฟิทของออสเตรเลียศึกษาการลงทุนของจีนในเอเชีย-แปซิฟิก ค.ศ.2023 พบว่าการลงทุนของจีนในภูมิภาคไม่ใช่การลงทุนในภาคการเงิน แต่เป็นการลงทุนผ่านการก่อสร้าง
มีข้อตกลงทั้งหมด 94 ฉบับ มูลค่ารวม 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.59 จาก 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯใน ค.ศ.2022
การลงทุนในเอเชีย-แปซิฟิกของจีนมุ่งไปที่ประเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (BRI) สัญญาการก่อสร้างของจีนอยู่ในประเทศแนวร่วม BRI มากกว่าร้อยละ 92 ส่วนประเทศที่ไม่ใช่แนวร่วมลดลงมากถึงร้อยละ 90 (ลงทุนทั้งหมดเพียง 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
3
การลงทุนของจีนใน ค.ศ.2023 ลดลงร้อยละ 100 จาก ค.ศ.2022 คือฟิลิปปินส์ มองโกเลีย พม่า ปาปัวนิวกินี ทาจิกิสถาน และตุรกี เขียนให้เข้าใจง่ายก็คือ ไม่มีการลงทุนหรือมีโครงการก่อสร้างใหม่ของจีนในประเทศเหล่านี้เลย
1
จีนเป็นประเทศที่มีโรงงานเยอะและต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก จีนลงทุนทั้งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ค.ศ.2023 จีนลงทุนในพลังงานสีเขียวในเอเชีย-แปซิฟิกมากถึง 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
30 ปีที่แล้ว ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่นิยมสหรัฐฯและเบ้ปากใส่จีน ให้นักศึกษาอาเซียนเลือกไปเรียนสหรัฐฯกับจีน เกือบทั้งหมดเลือกไปสหรัฐฯ
คนอาเซียนชอบสหรัฐฯมากกว่า ทว่าปัจจุบันไม่ใช่แล้วครับ ถ้าดูจากผลสำรวจต่างๆ จะเห็นว่าทั้งสหรัฐฯและจีนได้รับความเป็นที่นิยมเกือบจะเท่ากันและมีแนวโน้มว่าความนิยมของคนอาเซียนที่มีต่อจีนมีเพิ่มมากขึ้น
2
สหรัฐฯและตะวันตกพยายามทำ 2 อย่างคือ 1.โจมตีจีนให้กระแสตก 2.สร้างความนิยมเพื่อเพิ่มกระแสให้ตัวเอง
1
ถ้าเป็นในสมัยก่อน การปฏิบัติการจิตวิทยาที่โจมตีความชั่วของศัตรูก็อาจจะได้ผล แต่สมัยนี้ทุกประเทศมีโซเชียลมีเดียที่เปิดเผยข้อเท็จจริงได้ตลอดเวลา การปฏิบัติการจิตวิทยาโดยสื่อกระแสหลักเริ่มไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ
1
จีนต้องระมัดระวังเรื่องธุรกิจสัญชาติจีนที่เข้าไปกินรวบทำลายธุรกิจเล็กธุรกิจน้อยในประเทศอาเซียน และทุนของจีนเทา ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจ
2
ถ้ายังมีการทำลายธุรกิจขนาดเล็กโดยคนจีนและทุนสีเทา
กระแสจีนในอาเซียนอาจจะตกในอนาคตก็ได้.
โฆษณา