10 เม.ย. เวลา 10:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Semiconductor อุตสาหกรรมดาวรุ่งแห่งเอเชียที่กำลังขับเคลื่อนโลกยุคใหม่

⭐ Semiconductor คืออะไร
‘เซมิคอนดักเตอร์’ เป็นสารกึ่งตัวนำที่ใช้ทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ รวมถึง ‘ชิป’ (Chip) ซึ่งเป็นแผงวงจรขนาดเล็กที่ใช้สำหรับการประมวลผลในอุปกรณ์ เช่น สมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ รถยนต์ไฟฟ้า ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ โครงข่ายสื่อสาร ไปจนถึงอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือ Internet of Things (IoTs)
⭐ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกยุคใหม่
การเติบโตของเทคโนโลยีและกระแสของ AI ในปัจจุบัน ทำให้ความต้องการชิปและเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้อุตสาหกรรมนี้กลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง และมีการคาดการณ์ว่าขนาดของตลาดเซมิคอนดักเตอร์โลกจะขยายตัวจากปี 2022 ที่ 573,440 ล้านดอลลาร์ เป็น 138 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2029
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้ไม่ใช่ธุรกิจที่ใครจะเข้ามาชิงส่วนแบ่งได้ง่าย ๆ เนื่องจากผลิตได้ยาก เพราะยิ่งชิปมีขนาดเล็กลงเท่าไร ก็ยิ่งมีความซับซ้อนในการผลิตมากขึ้นเท่านั้น ในขณะที่เทคโนโลยีสมัยใหม่ล้วนต้องใช้ชิปที่เล็กลงเรื่อย ๆ และมีพลังในการประมวลผลสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ดังนั้น ประเทศที่สามารถผลิต พัฒนา หรือแม้แต่ครอบครองแร่โลหะสำคัญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์อย่างแกลเลียม (Gallium) และเจอร์มาเนียม (Germanium) ย่อมได้เปรียบทางการแข่งขัน ทั้งในด้านการเติบโตระยะยาว และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพราะไม่จำเป็นต้องพึ่งพาประเทศอื่น ๆ นั่นเอง
⭐ ผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
Taiwan Semiconductor Manufacturing (TSMC) คือผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของไต้หวัน และเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในเอเชีย โดยมีจุดเด่นคือความสามารถในการผลิต ‘ชิปขั้นสูง’ (Advanced Chips) หรือชิปที่มีขนาดเล็กกว่า 10 นาโนเมตร ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากสำหรับเทคโนโลยีที่ต้องใช้พลังในการประมวลผลสูง
โดย TSMC เป็นโรงงาน OEM ที่รับจ้างผลิตชิปขนาด 3 นาโนเมตรให้กับ Apple ซึ่งเราสามารถพบชิปของพวกเขาได้ใน iPhone iPad และ MacBook ในขณะที่ NVIDIA ผู้ผลิตชิป GPU รายใหญ่ของโลก และกำลังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา AI ก็ได้ว่าจ้าง TSMC ในการผลิตชิปเช่นกัน
ปัจจุบัน TSMC ครองอันดับ 2 ของบริษัทที่มี Market Cap มากที่สุดในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลก โดยเป็นรองเพียง NVIDIA เท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่ได้ทำให้ TSMC ร้อนใจเท่าไร เพราะเขาก็ขายของให้กันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม TSMC ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ยังคงเดินหน้าวิจัยและพัฒนาชิปขนาด 2 นาโนเมตร ซึ่งถูกคาดหวังให้เป็นชิปขั้นสูงที่มีขนาดเล็กลง แต่ให้พลังในการประมวลผลสูงขึ้น ใช้พลังงานน้อยลง เพื่อตอบรับเมกะเทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย
⭐ อุตสาหกรรมดาวรุ่งแห่งเอเชีย
แม้ว่ายอดขายชิปสำหรับสมาร์ตโฟนของ TSMC ยังอยู่ในภาวะซบเซา แต่ผลประกอบการ Q4/23 ของ TSMC กลับออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ เนื่องจากแรงหนุนของ AI โดยทำรายได้ไปได้ 20,100 ล้านดอลลาร์ เมื่อนำมาประกอบกับแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยี ทำให้ Invesco ผู้จัดกาารกองทุนหลักของ B-ASIA ยังคงมีมุมมองเชิงบวกและให้น้ำหนักในหุ้นของ TSMC
นอกจากนี้ TSMC ยังได้ร่วมมือกับ Sony Semiconductor และ Denso เปิดโรงงานผลิตชิปในญี่ปุ่น 2 แห่ง เพื่อรองรับความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ในอนาคต ขณะที่ ‘เกาหลีใต้’ ที่เพิ่งผ่านการปรับปรุงการกำกับดูแลกิจการมาหมาด ๆ รัฐบาลก็ได้ประกาศแผนการสร้าง Semiconductor Mega Cluster โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Samsung Electronics และ SK hynix เข้าร่วม เพื่อผลักดันเกาหลีใต้ขึ้นเป็นศูนย์การผลิตชิประดับโลก
ปิดท้ายกันที่ ‘จีน’ ซึ่งเป็นผู้ครอบครองแร่โลหะสำคัญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของโลกอย่างแกลเลียมและเจอร์เมเนียม ก็ได้บังคับใช้มาตรการควบคุมการส่งออกแร่โลหะสำคัญเหล่านี้ พร้อมเร่งวิจัยและพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตชิปขั้นสูงเช่นกัน
เรียกได้ว่า ‘เซมิคอนดักเตอร์’ คืออุตสาหกรรมดาวรุ่งแห่งเอเชียจริง ๆ
สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นเอเชีย BBLAM ขอแนะนำ
⭐กองทุนรวมทั่วไป กับกองทุน B-ASIA
⭐กองทุนประหยัดภาษี กับกองทุน B-ASIARMF และ B-ASIASSF
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ BBLAM
👉 โทร. 0 2674 6488 กด 8
👉 เว็บไซต์ www.bblam.co.th
👉 ลงทุนด้วยตนเองง่ายๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ หรือ BF Fund Trading จาก BBLAM
คำเตือน : การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน
กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
#BBLAM #กองทุนบัวหลวง #BFFundTrading #MobileBanking #ธนาคารกรุงเทพ #Semiconductor #ชิป
โฆษณา