11 เม.ย. เวลา 02:40 • การเมือง

“ก่อวินาศกรรมในจินตนาการ” ความหวาดระแวงในยุโรปหลัง “เหตุการณ์นอร์ดสตรีม”

หกชาตินาโตในยุโรปเร่งลงนาม “ข้อตกลงด้านความมั่นคงในทะเลเหนือ”
Politico รายงานเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2024 จู่ๆ หกชาติสมาชิกนาโตในยุโรปก็ตัดสินใจร่วมกัน “สร้างเกราะปกป้องทะเลเหนือจากรัสเซีย” และ “เร่งลงนามข้อตกลงด้านความมั่นคงในทะเลเหนือร่วมกัน” ทำไมมันถึงดูเหมือนมีอะไรอยู่ในทะเลเหนือ? - อ้างอิง: [1]
จากมุมมองทางเศรษฐกิจ “ภูมิภาคทะเลเหนือ” นี้ถือเป็นแหล่งทำเงินที่ดีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีบริษัทได้รับตำแหน่งเป็นแกนนำของการเปลี่ยนผ่านสู่ด้านพลังงานสะอาด โดยมีแผนที่จะผลิต “ไฮโดรเจนสีเขียว” ที่นั่น (ไฮโดรเจนสะอาด ที่กระบวนการผลิตปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงอย่างมีนัยสำคัญกว่าไฮโดรเจนสีเทาซึ่งใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิต) มีการสร้างฟาร์มกังหันลมขนาดใหญ่ และด้วยเหตุนี้จึงเป็นแหล่งผลิตพลังงานสะอาดของโลก
4
เครดิตภาพ: Into Europe
ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกจับตามอง ในฐานะหนึ่งในตัวเลือกที่ดีสำหรับอนาคต เป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ช่วยโลกกลับไปสู่การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ได้ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า อดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐอเมริกา เคยเรียกมันว่าเป็น “เชื้อเพลิงแห่งเสรีภาพ”
ในปัจจุบัน ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เองก็มีแผนพัฒนาพลังงานสะอาดโดยให้ความสนใจที่จะพัฒนาให้การใช้งานไฮโดนเจนสีเขียวในราคาเทียบเท่าไฮโดรเจนธรรมดา นอกจากนี้หลาย ๆ ประเทศยังตัดสินใจลงทุนพัฒนาไฮโดรเจนสีเขียวอย่างจริงจัง
อย่างไรก็ตามไฮโดรเจนสีเขียวก็มีข้อเสียอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้านการผลิตและการจัดเก็บที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล มันยังยากต่อการจัดเก็บ การขนส่งการบรรทุก พลังงานยังทำได้แค่เพียง 1 ใน 4 ต่อหน่วยเมื่อเทียบกับก๊าซธรรมชาติ ทำให้โลหะเปราะ และเป็นก๊าซติดไฟง่าย
“ไฮโดรเจนสีเขียว” เป็นไฮโดรเจนที่ปราศจากคาร์บอน เพราะถูกสร้างขึ้นโดยใช้ไฟฟ้าเพื่อแยกโมเลกุลไฮโดรเจนออกจากโมเลกุลออกซิเจนในน้ำ ทำให้ผลพลอยได้หลังจากกระบวนการผลิตที่เกิดจากการเผาไหม้ไฮโดรเจนไม่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์แต่เป็นน้ำ ดังนั้นกุญแจสำคัญของพลังงานงานสะอาดจาก “ไฮโดรเจนสีเขียว” ก็คือ ไฟฟ้าที่ใช้ในกระบวนการผลิตจะต้องมีราคาถูก และมาจากแหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ อาทิ พลังงานลม หรือ พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนที่ไม่มีวันหมด
2
อ้างอิง: [2]
Equinor บริษัทพลังงานรายใหญ่ของนอร์เวย์ และ RWE บริษัทสาธารณูปโภคของเยอรมนี ได้เข้าร่วมโครงการไฮโดรเจนสีเขียว NortH2 ในประเทศเนเธอร์แลนด์ โครงการ NortH2 ตั้งเป้าที่จะผลิตไฮโดรเจนสีเขียวโดยใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนจากลมนอกชายฝั่งนอกชายฝั่งเนเธอร์แลนด์ประมาณ 4 กิกะวัตต์ภายในปี 2030 และ 10+ กิกะวัตต์ภายในปี 2040 ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นธุรกิจไฮโดรเจนสีเขียวครั้งใหญ่ในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ - อ้างอิง: [3]
3
โครงการ NortH2 ในทะเลเหนือ เครดิตภาพ: Energy Industry Review
อย่างไรก็ตามในตอนนี้กลุ่มประเทศชายฝั่งทะเลเหนือยังคงปั๊มผลิต “ไฮโดรคาร์บอน” (ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ) แบบดั้งเดิมที่นี่อย่างหนัก ผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซรายหลักในทะเลเหนือคือ “นอร์เวย์” และ “อังกฤษ” ตามมาด้วย “เยอรมนี” และ “เดนมาร์ก” นอร์เวย์เร่งผลิตมากจนเกินพอใช้ในประเทศ แต่ยังซัพพลายก๊าซธรรมชาติถึงหนึ่งในสี่ของที่ยุโรปใช้อีกด้วย - อ้างอิง: [4]
1
ส่วน “รัสเซีย” มีผลประโยชน์ที่ในทะเลเหนือไม่มาก Gazprom ได้ผลิตก๊าซปริมาณเล็กน้อยที่นี่โดยได้รับส่วนแบ่งจาก Wintershall ของเยอรมนี และตอนนี้สินทรัพย์เหล่านี้ในทะเลเหนือของบริษัทยักษ์ใหญ่ของรัสเซียเตรียมถูกขายออกแล้ว - อ้างอิง: [5]
เหตุผลหลักคือตอนนี้ “รัสเซียไม่สามารถเข้าถึงทะเลเหนือ” เพราะทะเลบอลติกที่เชื่อมทอดไปถึงมัน ตอนนี้กลายเป็น “ทะเลสาบนาโต” ไปแล้ว หลังทั้งฟินแลนด์และสวีเดนได้เข้าเป็นสมาชิกนาโต ดังนั้นแน่นอนเป็นภัยคุกคามต่อรัสเซีย และเหตุใดหกประเทศในภูมิภาคนี้ ได้แก่ อังกฤษ นอร์เวย์ เยอรมนี เดนมาร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ จึงจำเป็นต้องลงนามข้อตกลงด้านความมั่นคงร่วมกันแยกต่างหากสำหรับทะเลเหนือ? (คือจะปิดกั้นรัสเซียทุกทางไม่ให้ทำมาหากิน?)
2
ที่มาภาพ: X @saintjavelin
หากมองในมุมมองด้านความมั่นคง “ข้างใต้ทะเลเหนือ” มันมีสิ่งสำคัญสำหรับยุโรปอยู่ ไม่ว่าท่อส่งน้ำมัน ท่อส่งก๊าซ สายเคเบิลไฟฟ้าและสื่อสาร มันก็ไม่ต่างอะไรกับ “ท่อก๊าซนอร์ดสตรีมใต้ทะเลบอลติก” ที่ถูกใครไม่รู้ระเบิดไป แต่ทว่าที่ทะเลเหนือยังมีการลงทุนเกี่ยวกับ “ฟาร์มกังหันลม” สำหรับใช้ผลิตพลังงานสะอาดอย่างที่กล่าวไปข้างต้น พวกยุโรปคงไม่ยอมเป็นแน่แท้
ประวัติศาสตร์มันเกิดขึ้นมาแล้ว การที่ระเบิดท่อก๊าซนอร์ดสตรีมแน่นอนว่าเพื่อสั่นคลอนโครงสร้างด้านพลังงานของยุโรป ไม่ต้องการให้รัสเซียขายก๊าซเข้าไปในยุโรปหาเงินเข้าประเทศ โดยมีเงามืดหวังเสียบทำธุรกิจขายก๊าซในรูปแบบอื่นให้กับทางยุโรปแทน
ดังนั้นคำถามสำคัญจึงอยู่ที่ว่า “ใครคือคนที่ต้องการบ่อนทำลายความมั่นคงทางพลังงานของยุโรป?” ในส่วนของทะเลบอลติกก็มีการพูดถึงคาดคะเนกันไป แต่ในส่วนของทะเลเหนือนั้นทางรัสเซียตอนนี้แทบไม่มีผลประโยชน์อะไรตรงนั้นอยู่แล้ว ยิ่งโดนนาโตขยายปิดกั้นทางออกทะเลใหญ่ไปแล้วด้วย
บทความต้นเรื่องอ้างอิงได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
11th Apr 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: CityA.M.>
โฆษณา