11 เม.ย. เวลา 10:21 • ศิลปะ & ออกแบบ

ย้อนรอย หอศิลป พีระศรี ผ่านโปรเจ็กต์ชุบชีวิต Revitalizing BIMA และความเป็นไปของการกลับมาเปิดอีกครั้ง

“โครงสร้างอาคารยังแข็งแรงมาก เพราะสร้างในสมัยที่เทคโนโลยีการก่อสร้างดีแล้ว หม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุล จบสถาปนิกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดออกแบบได้โมเดิร์นมาก ด้วยลักษณะที่ดินที่เป็นหน้าแคบและยาวท่านออกแบบให้มีชายคายื่นจากสูงมาต่ำด้วยคอนเซปต์ที่ค่อนข้างประหลาดว่าเหมือน ‘ลิ้นตัวกินมด’ เพื่อตวัดดึงคนเข้ามา
แต่ฟังก์ชันการใช้งานออกแบบเพื่อให้เป็นแกลเลอรีจริงๆ มีประตูบานใหญ่หลายจุดเพื่อรองรับการโหลดงานศิลปะขนาดใหญ่ มี storage ที่ใหญ่มาก และมีเส้นทางข้างอาคารเพื่อขนถ่ายของโดยไม่บดบังทัศนียภาพของอาคาร” ศ. ดร. ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พาไปย้อนรอยประวัติศาสตร์การถือกำเนิดของ หอศิลป พีระศรี (The Bhirasri Institute of Modern Art หรือ BIMA) หอศิลป์สำหรับสาธารณชนแห่งแรกในประเทศไทยที่ถูกทิ้งร้างในใจกลางกรุงเทพฯ มากว่า 35 ปี ซึ่งได้รับการเปิดเฉพาะกิจทำหน้าที่เป็นพื้นที่แสดงงานศิลปะอีกครั้งเพียง 3 วันระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2567 กับนิทรรศการ “Revitalizing BIMA”
ประเด็นที่น่าสนใจไม่ใช่เพียงการย้อนประวัติศาสตร์ศิลปะช่วงที่สำคัญของไทย แต่ยังเป็นการถามหาความเป็นไปได้ในการกลับมาเปิดอีกครั้งของ หอศิลป พีระศรี
“บทเรียนจากหอศิลป พีระศรี หรือ BIMA คือการพึ่งพา art patron (ผู้อุปถัมภ์ศิลปะ) เพียงรายเดียวและเมื่อท่านจากไปทำให้ต้องปิดตัวลง แต่กลุ่มที่บริหารที่นี่เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้เกิดหอศิลปกรุงเทพฯ หรือ BACC อาจกล่าวได้ว่า BACC มีบรรพบุรุษคือ BIMA แต่มีการปรับเปลี่ยนโมเดลไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนคนเดียวแล้ว”
โฆษณา