12 เม.ย. เวลา 03:23 • ศิลปะ & ออกแบบ

โพถ้อง

By..ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
พาหนะที่ใช้ขนส่งในเมืองภูเก็ต มีความเปลี่ยนแปลงไปไกลมาก ในยุคทำเหมืองใช้ม้าลากเรียกว่า "แบ้เชี้ย" บางทีก็ใช้วัวควายลาก เรียกว่า "หงูเชี้ย" และต่อมาเป็นรถแบบคนลากเรียกว่า "หล่าวเชี้ย" รถลากทำนองนี้ ใช้เรื่อยมาตั้งแต่มีการทำเหมืองแร่ดีบุก
ต่อมา นายเลื่อน พงษ์โสภณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม คนแรกของประเทศไทย ผู้ก่อตั้งโรงเรียนช่างกลแห่งแรกในประเทศไทย และปรมาจารย์มอเตอร์ไซค์ไต่ถัง ได้ประดิษฐ์รถสามล้อขึ้นเพื่อเป็น "ขนส่งมวลชน" แบบแรกของเมืองภูเก็ต
ในยุคพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ณ ระนอง ) ภูเก็ตมีถนนหนทางดีขึ้นนายเหมืองก็นำเข้ารถยนต์มาจากปีนัง เริ่มแรกเป็นรถยนต์ใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ต่อมาก็พัฒนาเป็นรถบรรทุกขนาดเล็ก ปรับขนาดกลางเรียกว่า "รถลอรี่ (Lorry)
เป็นรถโดยสารส่งผู้คนโดยเฉพาะ กุลีเหมืองใช้ไปสักพักก็ดัดแปลงเพื่อสามารถบรรทุกคนและข้าวของได้มากขึ้นโดยอาศัยฝีมือช่างไม้พื้นบ้าน ตัดตัวถังออกเหลือแต่ช่วงหน้าและโครงช่วงล่าง ต่อตัวถังใหม่โดยใช้ไม้ทั้งหมด มีหลังคาไว้บรรทุกของภายในตัวรถมีเก้าอี้ไม้สองแถวขนานตัวรถเพื่อบรรทุกคนงานเหมือง
รถดัดแปลงนี้เรียกเป็นภาษาฮกเกี้ยนว่า " โพถ้อง" (บ้านแห่งเขียนโพท้อง) แปลว่ารถธรรมดา ทุกวันนี้กลายเป็นรถโดยสารประจำทาง ที่ทาสีสะดุดตาและเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์เมืองภูเก็ตที่ดีความเป็นมาตั้งแต่ปีพ.ศ 2490
อ้างอิง Referenc
ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
&&&&&&&&&&&&&
โฆษณา