14 เม.ย. เวลา 03:22 • ความคิดเห็น

"Design Thinking วิชาที่อาจจับต้องไม่ค่อยได้ตอนไปทำจริงสำหรับ Corporate"

เดี๋ยวเขียนหัวข้อจะดราม่าว่าไปว่าวิชาการเขา ความจริงอยากขยายความนิด เกี่ยวกับวิชา "Design Thinking" เป็นวิชาที่คนไทยเราก็ฮิตๆ มา 4-5 ปีหลัง...แต่ส่วนใหญ่ปัญหาคือ
(1) หลักการมันดี แต่การประยุกต์ไปใช้ได้ในแต่ละฟังก์ชั่นงานค่อนข้างยาก และไม่สามารถทำให้ได้ผลในทำ workshop 2-3 วันเท่านั้น
(2) ไม่ใช่ใครก็มาสอนได้...มันอาจจะเป็นวิชาที่ดูสอนแล้ว Cool มั้งคนเลยฮิตมาสอนกันเยอะ แต่ปัญหาคือ คนสอนนี่ละ ที่อาจไม่สามารถกระจาย/เข้าใจในทุกฟังก์ชั่นต่างๆ ได้ (ถ้าบอกคนนึงอบรมให้บริษัทนึงทุกฟังก์ชั่นได้อันนี้ก็โม้ไปหน่อยใครจะเข้าใจทุกฟังก์ชั่นหรือเชี่ยวชาญทุกอย่างได้มันไม่มีหรอก??) เพราะมันต้องอาศัยองค์ความรู้ ทั้งธุรกิจ, กระบวนการ และฟังก์ชั่นงานนั้นเชิงลึกด้วย
(3) ในหลายฟังก์ชั่นงานถ้ามันตรงไปตรงมาอยู่แล้ว เช่น ระยะเวลาในการทดลองสูตรยาสักสูตร, สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของสัตว์ (อากาศ, ประเภทอาหาร), หรือ SLA องค์กรที่ต้องจัดการตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น จะมาคิดนอกกรอบมันก็เสียเวลาเปล่า ไม่ใช่ทุกฟังก์ชั่นงานที่จำเป็นกับเรื่องนี้ (แต่ถ้าเรียนเพื่อพัฒนาความคิดก็พอได้ แต่ใช้ได้ไหมในงานตัวเองอีกเรื่องนะ)
(4) "มีธงในใจ หรือเป็นโครงการเชิงกลยุทธ์พิเศษขององค์กร" (Top-Down) ถ้าบางโครงการ ผู้บริหารมีเป้าหมายในใจ แต่ไม่สามารถบอกคนหน้างานได้หมด Design-thinking มันจะไม่ได้ผล คนจะทำก็จะรู้สึกไร้ประโยชน์ (หรือ แม้กระทั้งองค์กรที่ยังเป็นลักษณะบัญชาการ hericachy มากมาย หัวหน้า 1-2-3)
(5) ถ้าคนมีหน้าที่ตัดสินการให้เงิน, เวลา, ทรัพยากรไม่ได้คิดตรงกัน จากปัญหา assymetry information (ความไม่เท่าเทียมของกานเข้าถึงข้อมูลในองค์กร) ซึ่งแน่นอนองค์กรที่มีคนเยอะขึ้นๆ มีปัญหาพวกนี้อยู่แล้ว บางทีพวกทฤษฏีนี้ต้องทำจาก Top เพราะไปทำจากข้างล่างบางทีอาจไม่เห็นผล หรือเห็นผลก็โครงการเล็กๆ โครงการทดลองแล้วก็จบไป
(6) "รีบ" เพราะต้องส่ง KPI หรือ KPI หรือมีคนมาติดตามแล้ว ไม่ได้เกิดการพัฒนาไอเดียต่างๆ อย่างธรรมชาติ (รูปแบบองค์กรเหล่านี้ยังเป็นการตั้งเป้าหมายระดับปี/ครึ่งปี ต้องทำให้ได้) แบบนี้เรียนไปก็อาจจะไม่สามารถใช้งานได้
(7) แนวคิดแบบ Corporate vs Start up : Design-thinking เกิดจากพวก Start-up ต้องการเปลี่ยน legacy organization (องค์กรที่มีสายบังคับบัญชา) หรือ Corporate มันต่างกัน คือ พวก Start up จุดเริ่มมันง่ายมาก เพราะไม่ได้ลงสินทรัพย์ถาวรไว้คือองค์กรตั้งใหม่
แต่ Corporate มีค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่ายจำนวนมากที่แฝงใน CAPEX ของบริษัทย้อนหลังมา มันไม่ได้ง่ายจะเปลี่ยนหรือพลิกแนวคิดพวกนี้ทันที ดังนั้นจุดเริ่มต้นหาไอเดียนวัตกรรม ระหว่างคนที่ไม่มีทรัพย์สินเดิมผูกมัด มีอิสระจะเริ่มต้นอะไรก็ได้ กับ คนที่มีข้อจำกัดผูกมัดมากมายและต้องสร้างของใหม่ไปพร้อม ๆ กัน ย่อมต้องการเครื่องมือที่แตกต่างกัน Design Thinking แบบวัยรุ่น คิดไวทำไว กับ องค์กรที่มีประวัติยาวนานเน้นงานมั่นคง อาจจะต้องบริหารจัดการคนละอย่างกันเลย
(8) ถ้าเรามี "คน" "เครื่องจักร/ระบบงาน" "ระบบเดิม" ที่ยังไม่สามารถรื้อได้ แม้จะรู้นะมันมี pains หรือปัญหาเต็มไปหมด มันก็ยากอีก เพราะกระบวนการ Ideate หลายอย่างมักต้องทิ้งหรือเปลี่ยนแปลงของเดิม
เหตุผลที่ทิ้งไม่ได้ เพราะมันอาจต้องใช้งบประมาณมหาศาล เช่น มาแทน ERP ระบบเก่าที่ใช้งานมายาวนานหลายสิบปี อันนี้เรื่องใหญ่มากนะ แค่คิดว่าจะทำได้มันคิดง่าย การ Execution มีรายละเอียดมากมาย ดังนั้น คิดแบบ Design-thinking ที่บอกให้ละทิ้ง/ทำใหม่/หรือซื้อใหม่ไม่ง่ายแน่ ถ้าคุณใส่ factor ธุรกิจที่ต้องดำเนินอยู่ หรืองบประมาณและเวลาที่ต้องทำ
(9) ธุรกิจที่แข่งขันรุนแรง หรือเงินจำกัดมากๆ คำว่า "อนุญาตุให้ลองผิดลองถูกได้" ในชีวิตจริงมันมีไม่เยอะหรอก อย่างมากพลาดสักครั้งก็เรื่องใหญ่แล้ว หรือไม่โจทย์ก็จะแนวว่า ทำยังไงให้ไม่พลาด จะเป็นแบบนี้ ดังนั้น ถ้าเริ่มด้วยแนวคิดแบบนี้ ตั้งแต่ Ideate แล้วละคิดกันไม่ออกหรอก...เพราะสุดท้ายปลายทางชีวิต "ลองผิดลองถูกไม่ได้เยอะจริงหรอก"
(10) บางครั้ง "ทำในกรอบกันให้ดีก่อนครับ" ทำในกรอบยังไม่ดีไม่เข้าใจ แต่อยากเลือกทำของใหม่วิธีการใหม่ หรือคิดนอกกรอบ มันก็อาจจะไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะ
เรื่อง "วิธีคิดสำคัญกว่าวิธีการ" เสมอ
"สรุปก็คือ วิชา Design Thinking จะให้ความสำคัญในมุมผู้ใช้งานเป็นหลัก บนพื้นฐานของแต่ละธุรกิจ, แต่ละโครงสร้างอำนาจ/กระบวนการในบริษัท เกี่ยวข้องกับการ balance ในองค์กรว่าให้ความสำคัญเมื่อเทียบกับเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร?"
ผลส่วนใหญ่คือ องค์กรต่างๆ ส่งคนไปเรียนกันเยอะแยะ (อาจารย์ในศาสตร์นี้ก็สถาปนาตัวเองบอกเป็น Design-thinking กันเต็มไปหมด ทั้งๆ ที่ไม่ใช่วิชาที่จะสอนกันง่ายๆ)...แต่ไม่รู้เอาไปใช้ยังไงได้ต่อ... หลังๆ คนเลยค่อนข้างลดการสอนวิชานี้ในระดับคนทำงาน เห็นไปงอกแถวๆ "สถาบันการศึกษามากกว่า" ซึ่งข้อดีก็คือมีเวลาลงลึกได้มากขึ้น แต่ข้อเสียอย่างที่บอก อาจารย์ไม่ได้เก่งทุกธุรกิจ หรือทุกกระบวนการใน corporate เช่นกัน...
สุดท้ายวิชา Design-Thinking หรือ Project Management หรือ Agile ... คำพวกนี้ จะเท่ากับ "Skills" ไม่ใช่ "วิชาที่สอนแล้วไปเรียน" เพราะคนสอนก็อาจไม่เข้าใจทั้งธุรกิจ, บริบทองค์กร หรือ การตั้งเป้าหมายที่ซ่อนอยู่ ส่วนผู้เรียน ถ้ามัวแต่บอกต้องเรียนมันคงตามยุคไม่ทัน และชื่อวิชาหรูๆ พวกนี้สุดท้ายเรียนไป สภาพแวดล้อมไม่เหมาะกับการทำงานมันก็ไม่ได้ทำอยู่ดี
โลกการสร้างความรู้ในยุคนี้ จึงไม่ใช่การเรียนอบรม/workshop, จ้างคนมาสอน/ติดตาม นั่นคือปลายทางทั้งสิ้น...ต้นทางคือองค์กรต้องรู้จักตัวเองก่อน เป้าหมายคืออะไร และคน/กระบวนการ/โครงสร้างการจัดการออกแบบยังไง? ไม่งั้นติดตั้งอะไรไปก็ล้มเหลว เพราะมันไม่ตรงโจทย์ และคนมาทำให้ก็คิดโจทย์อีกอย่างเสมอ
#สุขสันต์วันสงกรานต์2567
#วันละเรื่องสองเรื่อง
 
Blog Archive : yongyuth.medium.com
โฆษณา