17 เม.ย. เวลา 11:47 • หุ้น & เศรษฐกิจ

วันนี้อยากจะมาพูดเรื่อง การ Valuation ให้ฟังแบบง่าย ๆ ในมุมจิตวิทยากันครับ

มือใหม่อ่านได้ มือเก๋าก็พลาดเรื่องนี้บ่อย เลยอยากพูดถึงประเด็นนี้นิดหนึ่ง
ภาพนี้เอามาจากไลฟ์เรื่อง Valuation ที่เคยคุยเต็ม ๆ ในคอร์ส U.S. Stock Starter
ขอเริ่มจากการถามคำถามก่อนเลย (ดูภาพประกอบไปด้วย)
คิดว่าตลาดหุ้นทุกวันนี้ อยู่ในช่วงไหน น้อยสุด/สั้นสุด กันครับ ?
ระหว่างแพงเกินไป (Overvalued) / ถูกเกินไป (Undervalued) /หรือมีราคาเหมาะสม (Intrinsic Value)
ซึ่งหลายคนถ้าไม่ได้ดูภาพนี้ มักจะตอบว่าเป็นช่วง Undervalued น้อยสุด (จากที่เคยถามหลายคน)
เพราะคนจะรู้สึกว่าหุ้นแแพงตลอดเวลายกเว้นช่วงวิกฤต.…แต่จริง ๆ ไม่ใช่ครับ
ในภาพ เส้นสีฟ้าคือราคาหุ้น เส้นสีส้มคือมูลค่าที่แท้จริง
จะเห็นว่า ตลาดหุ้นสามารถอยู่ในช่วงที่ผู้คนบอกว่าหุ้นแพงแสนแพงได้นานแสนนาน
แล้วก็จะอยู่ในช่วงที่ถูกกว่าที่ควรจะเป็นช่วงสั้น ๆ ช่วงหนึ่ง
แต่ตลาดหุ้นนั้นแทบจะไม่ได้อยู่ในราคาที่เหมาะสมเลย (จุดที่เส้นฟ้าและส้มอยู่ในจุดเดียวกัน)
เรื่องนี้เพราะราคาของหุ้นนั้น เป็นเรื่องที่เกิดจากการตกลงกันของทุกคนที่มีส่วนในตลาด
เพื่อหาจุดที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา เป็นเรื่องของจิตวิทยา
สิ่งที่คนส่วนใหญ่มองว่าดี หากราคาลงมา มันก็มีคนยอมซื้อเพิ่ม
ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีหุ้นอยู่ หรือหน้าใหม่ที่เพิ่งซื้อเพราะตกรถ ไม่มีหุ้น
ถ้าไม่ได้มีอะไรมาทำให้คนส่วนใหญ่ที่มองว่าดีนั้น เปลี่ยนความคิด มันก็ไม่ได้ลงเยอะครับ
เรียกว่าเป็นการปรับฐาน
เวลาหุ้นขาลงก็เป็นเหมือนกัน (แต่เป็นในมุมที่ราคาลดลงเรื่อย ๆ และไม่กลับขึ้นไปสักที )
ก็เลยออกมาเป็นอย่างในภาพที่เห็นครับ
แก่นเรื่องของ Valuation นี้ทำให้นึกถึงคำพูดของ Seth Klarman ที่ว่า
“The stock market is the story of cycles and of the human behavior that is responsible for overreactions in both directions.”
หรือแปลไทยได้ความว่า
“ตลาดหุ้นเป็นเรื่องของวัฏจักรพฤติกรรมมนุษย์ที่ชอบตอบสนองในลักษณะที่เกินจริงทั้งมองบวกเกินจริง และมองร้ายเกินจริง
การซื้อหุ้นก็เหมือนการ Vote
ช่วงมีแต่เรื่องดีๆ ใครๆ ก็ Vote ซื้อกัน จนดันราคาไปมากกว่าที่ควรจะเป็น
ช่วงแย่คนก็ตื่นตะหนกโหวตขายกันมากเกินกว่าที่ควรจะเป็น
มันเลยกลายเป็นว่าตลาดหุ้นส่วนใหญ่สลับกันไปมาระหว่าง แพง/ถูกเกินไป
ดังนั้นการ Valuation ให้ตรงเป๊ะตลอดจึงเป็นไปไม่ได้ครับ ไม่ว่าเราจะ Valuation ได้เทพขนาดไหน
ยากมากที่จะขายปุ๊บหุ้นลงปั๊บ ซื้อปุ๊บหุ้นขึ้นปั๊บได้ มันเป็นการช่วยกะช่วงราคาคร่าว ๆ
เช่น ช่วงตรงนี้อาจจะเริ่มแพงแล้ว / ช่วงตรงนี้เริ่มจะถูก / เริ่มเข้าสู่ราคาเหมาะสม
(เมื่อเทียบอัตราเติบโตและความคาดหวัง)
แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าหุ้นจะหยุดขึ้น หรือหยุดลงในราคาดังกล่าว
เราสามารถนึกภาพเรื่องนี้ออกได้ง่ายขึ้น โดยการลองถามคนที่ตามหุ้นตัวเดียวกันสัก 10 คน
เช่น หุ้น AAA นั้น ควรซื้อที่ราคาเท่าไหร่ ก็น่าจะพอเห็นภาพครับ
ก็เป็นไปได้ที่ 10 คนนั้นอาจจะมีคำตอบที่แทบไม่ซ้ำกันเลย
(ถ้าต่างคนต่างคิดการบ้านของตัวเอง)
เพราะการ Valuation ควรเป็นแบบ Dynamic
มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลามากกว่า
ตลาดเปลี่ยนความคิดได้ทุกวัน ความถูก-แพงก็เช่นกัน ณ แค่วันเดียวกัน ตอนเปิดตลาด / ปิดตลาด ถ้ามีปัจจัยอะไรที่มากระทบโดยตรง ก็ส่งผลให้ความคิดคนส่วนใหญ่เปลี่ยนได้แล้วครับ
แล้วเราควรทำอย่างไร เพื่อให้การ Valuationหรือประเมินมูลค่าหุ้นออกมาได้ดีขึ้น ?
1. เราต้องเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่ มีมุมมองต่อทรัพย์สินนั้น ๆ อย่างไร จะมองบวก หรือมองร้ายได้มากกว่านี้อีกสักเท่าไหร่ ? (เรื่องของ Sentiment)
2. ตลาดคาดหวังไว้ขนาดไหน ? ในระยะเวลาเท่าไหร่? (consensus)
3. แล้วมันจะดี หรือแย่กว่า ที่ตลาดคาด ?
ข้อ 1-2 นั้น เราหาข้อมูลได้หมดเลยนะ
ในส่วนของ Sentiment มุมมองคนส่วนใหญ่
เราสามารถเข้าใจมันได้ด้วยการอยู่กับตลาดให้มากพอ
หรือสิงอยู่ในห้องแชทต่าง ๆ
เราจะสังเกตุเห็นอารมณ์คนในตลาดเปลี่ยนแปลงไปมาได้ตลอด และพอจับทางได้
หรือหากจะเอาให้ชัดกว่านั้นก็ต้องมี Data บางอย่างมาช่วย Confirm เพื่อเป็นการยืนยันว่าเราไม่มโนไปเอง
ในส่วนของตลาดคาดหวังเท่าไหร่นั้น เราสามารถดูในส่วนของ consensus ได้
ว่าโบรกมองว่าหุ้นจะเติบโตเท่าไหร่ คิดคำนวนอย่างไร ในระยะเวลาเท่าไหร่ด้วย
แต่ในส่วนที่หาไม่ได้และเราต้องเป็นคนคิดเอง คือส่วนที่บอกว่าหุ้นจะดี หรือแย่กว่าที่ตลาดคาด รวมถึงแย่กว่า หรือดีกว่าขนาดไหนด้วย (เพราะถ้ามันเหมือนที่ตลาดคิด มันก็ไม่ไปไหน) ซึ่งการจะตอบตรงนี้ได้ เราต้องเข้าใจธุรกิจนั้น ๆ รวมถึงปัจจัยภายนอกที่จะมากระทบตัวธุรกิจด้วย
ปิดท้ายบทความด้วย Quote ของ Benjamin Graham ที่ว่า
In the Short-Run, the Market Is a Voting Machine, But in the Long-Run, the Market Is a Weighing Machine
ในระยะสั้น ตลาดก็โหวตขึ้นโหวตลงแบบที่เราเล่าในบทความนั้นแหละ แต่ในระยะยาวตลาดจะเป็นเหมือนเครื่องชั่งน้ำหนัก ชั่งกำไรและความมั่นคงของธุรกิจ
ซึ่งจริง ๆ จะเป็น Voting Machine หรือ Weighing Machine ก็ไม่ผิด เราเข้าใจแบบไหนมากกว่า ถนัดแบบไหนมากกว่าก็ทำกำไรจากแบบนั้นแหละ
ถ้าเราเข้าใจ Valuation ในแบบหุ้นที่เป็น Bubble/รู้ความคาดหวังตลาดในระยะสั้น การเกาะ Voting Machine อย่างถูกต้องก็ทำกำไรได้มหาศาล แต่ถ้าเราเป็นคนเชื่อมั่นในระยะยาว ก็ต้องเชื่อมั่นในการ Valuation ให้เป็น Weighing Machine
แต่ระยะยาวของแต่ละคนขนาดไหน ก็ไปว่ากันอีกทีครับ 5555
BottomLiner - บทสรุปการลงทุน
=================
ปล. มีคนทักมาถามหลังไมค์เยอะมากว่าอยากดูไลฟ์เรื่องนี้เต็ม ๆ ดูได้จากไหน
งั้นแอดขออนุญาตขายของหน่อยนะ
ถ้าอยากดูเรื่องนี้แบบเต็ม ๆ ดูในคอร์ส U.S. Stock Starter ได้เลยนะ
เป็นคอร์สสอนมือใหม่ที่เริ่มลงทุนต่างประเทศ สมัครแล้วได้เรียนแถมฟรี สมาชิก Exclusive ด้วย
ดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://forms.gle/TN5piWATu9ytNzkg7
=====
ซึ่งวันอังคารที 23 เม.ย. จะมีไลฟ์เนื้อหาใหม่ด้วยเรื่อง Alternative Data Applying for Option Bet หรือการใช้ข้อมูลทางเลือกมาลงทุน รวมถึงใช้งานคู่กับ Option ด้วย
1
สำหรับใครสนใจเรื่อง Option มีคอร์สเรียนเหมือนกัน จริง ๆ หมดโปรไปแล้วแต่เดี๋ยวแอดให้พิเศษสำหรับคนอ่านโพสต์นี้ละกัน เพราะเพิ่งเลยมาวันเดียว หยวน ๆ ได้ 😂
อ่านรายละเอียดและสมัครที่ >> https://forms.gle/gviATngWid2SKRs39
โฆษณา