23 เม.ย. เวลา 12:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ

วิกฤติจีนกับญี่ปุ่น แตกต่าง??

วิกฤตเศรษฐกิจจีน เทียบกับญี่ปุ่นยุค 80s แตกต่างอย่างไร?
เขียนโดย BottomLiner
=====
ขออนุญาต Tie in นิดหนึ่งนะครับ
ใกล้หมดเขตแล้ว สำหรับราคา Early Bird
คอร์สขุดหุ้นจากหลุมตลาดจีน
ที่จะพาร่วมลุยหาโอกาสลงทุนในวิกฤตจีน
ดูรายละเอียดเต็ม ๆ ได้ที่ >> https://forms.gle/42K59tnuHVC7P7QW7
=====
ภาวะเศรษฐกิจของประเทศจีนกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการในปี 2023 รวมถึงการเติบโตที่ชะลอลง หนี้สินที่เพิ่มขึ้น วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ บางคนได้เปรียบเทียบสถานการณ์นี้กับวิกฤตเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 80s
ในโพสนี้เราจะเปรียบเทียบสถานการณ์ปัจจุบันของจีนกับญี่ปุ่นในยุค 80s โดยจะไล่ไปตามหัวข้อ เพื่อเรียนรู้จากอดีต
#การเติบโตที่ชะลอลง
เศรษฐกิจของทั้งจีนและญี่ปุ่นในยุคนั้นต่างเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นเวลากว่า 30 ปี โดยที่ ญี่ปุ่นในยุคนั้นได้อานิสงส์การเติบโตจากการฟื้นตัวหลังสงครามโลกและได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ในช่วงปลายยุค 60s ญี่ปุ่นเองก็ได้อานิสงค์จากเงินเยนที่อ่อนตัวส่งออกสินค้าต่างๆไปยังทั่วโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโต
ขณะที่จีนเองก็เติบโตจากการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจยุคเติ้งเสี่ยวผิง ช่วงปี 1979 ที่เน้นประกาศเปิด “เขตพิเศษเพื่อการส่งออก”(เซินเจิ้น) ซึ่งทั้งสองกรณีนั้นเติบโตได้จากเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามาสร้างฐานการผลิตในเนื่องจากค่าแรงที่ถูก และเศรษฐกิจทั้งสองต่างพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักในการเติบโต
ซึ่งคู่ค้าอันดับหนึ่งที่ทั้งสองประเทศเกินดุลก็คือสหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐก็ได้มีความพยายามจัดการเรื่องนี้ สำหรับญี่ปุ่น สหรัฐได้จัดทำ Plaza accord ในปี 1985 เพื่อให้ค่าเงินสหรัฐอ่อนลง เพื่อลดการนำเข้าจากญี่ปุ่น ในส่วนของจีนก็มีเรื่องสงครามการค้ากับสหรัฐในปี 2018 ทำให้การเติบโตของสองประเทศชะลอตัวลง
#หนี้สินที่เพิ่มขึ้น
.
อีกส่วนที่สำคัญในการเติบโตของเศรษฐกิจคือหนี้สิน โดยทั้งสองประเทศมีระดับหนี้สินที่สูงและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ญี่ปุ่นมีหนี้สินมหาศาลจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในช่วงทศวรรษ 80s ธนาคารให้สินเชื่อจำนวนมากแก่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และนักลงทุน ซึ่งใช้เงินเพื่อซื้อและเก็งกำไรที่ดินและอสังหาริมทรัพย์
ขณะที่ฝั่งจีนที่เศรษฐกิจเติบโตในอัตราเฉลี่ย 10% ต่อปีเป็นเวลากว่าสามทศวรรษ นำไปสู่ความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นจากภาคธุรกิจและผู้บริโภค และรัฐบาลจีนลงทุนอย่างหนักในโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอื่นๆ ซึ่งช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจก็มีส่วนทำให้หนี้สินเพิ่มขึ้น
แม้ทั้งสองจะดูคล้ายกันแต่ฝั่งของจีนนั้นดูรุนแรงกว่ามากเนื่องจากจีนมีปัญหาเรื่อง Shadow banking และ เงินกู้รัฐบาลท้องถิ่น แถมตัวเลข GDP ของจีนนั้นเป็นเพียงแค่การประมาณตัวเลขจริงอาจจะต่ำกว่านี้อีกมาก ทำให้หนี้สินโดยรวมต่อ GDP ของจีนอาจจะสูงกว่า ญี่ปุ่นในยุค 80s อยู่มาก
#วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ (และตลาดหุ้น)
ผลของ Plaza accord ส่งผลให้คนญี่ปุ่นเองรวยขึ้นมากเนื่องจากค่าเงินที่แข็งขึ้น บริษัทต่างๆก็เพิ่มเงินลงทุน ทำให้การบริโภคของญี่ปุ่นเติบโตส่งให้ผลให้ในช่วง 1985-1991 เศรษญี่ปุ่นโตถึงปีละ 5% การที่คนร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็วนำไปสู่การเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆ ในยุคนั้นแทบทุกคนเล่นหุ้น คนทั่วไปก็ซื้อบ้านหรือคอนโดเพื่อเก็งกำไร ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ต่างๆพุ่งขึ้นแบบไม่มีหยุด คล้ายกับในยุคต้มยำกุ้งของบ้านเรา โดยรัฐบาลญี่ปุ่นเองก็ได้พยายามจะชะลอเศรษฐกิจในช่วงปี 1989 แต่ทำได้ช้าไป
ช่วงต้นปี 1990 ดัชนี Nikkei ก็ได้ปรับตัวลดลงกว่า 50% ราคาที่ดินต่างๆก็ปรับตัวลดลงอย่างมาก บริษัทต่างๆก็ลดการลงทุน และคนทั่วไปก็หยุดใช้เงิน ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงเป็น Death spiral กล่าวคือ
2
บริษัทต่างๆลดการลงทุนและการจ้างงาน > เงินเดือนลดลง > ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลง > บริษัทต่างๆลดการลงทุนและการจ้างงาน > …
ขณะที่ฝั่งจีนเอง ฟองสบู่ตลาดหุ้นก็เกิดขึ้นและแตกไปสองรอบในปี 2008 และ 2015 ในช่วงปัจจุบันแม้ตลาดหุ้นจีนเองไม่ได้แพงแต่ราคาเองก็ยังถูกลงอย่างต่อเนื่อง ตามปัญหาเศรษฐกิจ
ในส่วนของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีปัญหาฟองสบู่มานานกว่าสิบปี และรัฐบาลเองก็เข้ามาควบคุมได้ช้าเกินไปจนกลายเป็นฟองสบู่ลูกใหญ่ พอเจอกับการระบาดของ Covid 19 ประกอบกับ นโยบาย Three red lines เป็นตัวกระตุ้นทำให้ฟองสบู่อสังหาแตก ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนเกิดการชะลอตัวลง
แม้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนจะใหญ่กว่าญี่ปุ่นมาก แต่ยังมีการเก็งกำไรที่น้อยกว่าญี่ปุ่นในยุคนั้น และมีการ Leverage ที่ต่ำกว่าหากเทียบกับญี่ปุ่นในยุค 80s หรือ สหรัฐในช่วงปี 2008 โดยการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของจีนนั้นกว่า 80% ของผู้ซื้อได้ซื้อด้วยเงินสด(จากสำนักข่าวจีน) และหากจะผ่อนต้องวางเงินดาวน์ไว้สูงมาก ทำให้โอกาสที่ฝั่งผู้ซื้อจะทิ้งการผ่อนไปมีน้อยกว่า หากรัฐบาลสามารถเพิ่มสภาพคล่องให้ Developer สามารถสร้างให้เสร็จได้ก็จะสามารถส่งมอบให้ผู้ซื้อได้
แต่ปัญหาที่สำคัญคือในตอนนี้ทุกคนรู้ว่าอสังหาราคาลดลงเรื่อยๆ เลยไม่มีใครอยากซื้อ ณ ปัจจุบัน ยอดขายอสังหาริมทรัพย์จีนลดลงถึง 50% เมื่อเทียบกับปี 2020 แถมราคายังลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคนจีนใช้อสังหาเป็นแหล่งเก็บความมั่งคั่ง โดยกว่า 70% ของความมั่งคั่งของคนจีนอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมนุษย์มีนิสัยว่าจะใช้เงินมากขึ้นหากมองว่าอนาคตตนเองจะมีเงินมากขึ้น ทางกลับกันหากมองว่าอนาคตตัวเองจะมีเงินน้อยลงจะใช้เงินน้อยลง หากรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ จะส่งผลให้การบริโภคภายในจีนเกิดปัญหาต่อได้
#การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ในแง่ของ Demographic และตลาดแรงงาน ทั้งสองประเทศมีความคล้ายกันเป็นอย่างมาก โดยทั้งคู่ก็เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีการเกิดที่ต่ำ โดยจีนเองก็มีปัญหาหลักมาจากนโยบายลูกคนเดียวที่ก่อนหน้าส่งผลให้อัตราการเกิดน้อยลง แม้จะมีการแก้นโยบายลูกคนที่สอง และลูกคนที่สาม เมื่อปี 2016 และ 2021 ตามลำดับ ก็ไม่ได้ส่งผลต่อจำนวนการเกิดอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมที่ทำให้ประชากรไม่อยากมีลูก
หากวัดกันจริงๆแล้วปัญหานี้ในจีนนั้นดูจะหนักกว่าญี่ปุ่นพอสมควร เพราะประชากรจีนในปัจจุบันแก่กว่าญี่ปุ่นในยุค 90s และเริ่มหดตัวในปี 2022 ขณะที่ญี่ปุ่นเองก็ตอนเกิดวิกฤต 80s แต่กว่าประชากรจะเริ่มหดตัวก็ปี 2011 แถมหากจะหวังไปเติบโตที่ต่างประเทศ จีนก็ทำได้ยากกว่าญี่ปุ่นเพราะฐานประชากรที่ญี่ปุ่นถึง 10 เท่า ทำให้ต้องหาตลาดที่ใหญ่กว่ามากในการไปเติบโต
#เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น
หลังจากฟองสบู่แตกญี่ปุ่นก็พยายามจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจมาตลอดโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ โดยทางญี่ปุ่นก็ใช้งบประมาณขาดดุลมาตลอด แล้วขาดดุลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และกดดอกเบี้ยให้ต่ำลงจนติดลบจนถึงปี 2013 แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่พอ ซึ่งวิธีนี้ส่งผลหนี้เพิ่มเร็วกว่า GDP จนกระทั่งปี 2013 ญี่ปุ่นได้เรียนรู้วิธี QE จากที่อเมริกาโดยเพิ่มเงินเข้าในระบบเพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจกลับมาโตได้ประมาณนึง ทำให้อัตราส่วนหนี้ต่อ GDP ลดลง
จีนเองที่ปัจจุบันกำลังเผชิญวิกฤตแบบเดียวกันกับญี่ปุ่นในยุค 80s ซึ่งจีนเองก็มีบทเรียนอยู่แล้ว แถมรัฐบาลจีนเองก็มีความเป็นเอกภาพกว่าญี่ปุ่นมาก ทั้งกระทรวงการคลัง ธนาคารกลาง และ ธนาคารต่างๆล้วนอยู่ใต้รัฐบาล แถมหนี้ส่วนมากก็เป็นหนี้ในประเทศ หากรัฐบาลจีนเดินถูกทางวิกฤตนี้อาจไม่ทำให้เกิดทศวรรษที่สูญหายแบบญี่ปุ่น
BottomLiner - บทสรุปการลงทุน
โฆษณา